การส่งออกเครื่องประดับไทยไปตลาดอาเซียน

13 / 11 / 2562 15:28

อาเซียนถือเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ เพราะตลาดมีขนาดใหญ่ด้วยมีประชากรมากกว่า 640 ล้านคน มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น มีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมากกว่า 125 ล้านคนต่อปี และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดอาเซียนมีความน่าสนใจโดยเฉพาะการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอยสี เงิน ทองคำ และเครื่องประดับเทียม และเป็นโอกาสของไทยในตลาดอาเซียนด้วยเช่นกัน

สิงคโปร์  ประเทศคู่ค้าหลักของไทยในอาเซียน  ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีและมีกำลังซื้อ ชาวสิงคโปร์มีรายได้สุทธิต่อเดือน 3,169.24 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา  ประชาชนนิยมใส่เครื่องประดับทั้งในชีวิตประจำวัน และในโอกาสสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ชาวสิงคโปร์ยังนิยมลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ รวมทั้งทองคำ ซึ่งมีการนำเข้าจำนวนมาก โดยไทยสามารถส่งออกทองคำไปยังสิงคโปร์ได้เป็นอันดับ 2 ของการส่งออกทองคำทั้งหมดไปยังตลาดโลก รองจากสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยทองคำ ก็เป็นสินค้าอีกรายการที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยในปริมาณสูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน

กัมพูชา  มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 6-7% และมีกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ 20% ของจำนวนประชากรที่มีอยู่ราว 16 ล้านคน  รสนิยมในทองคำและเครื่องประดับทองของชาวกัมพูชา  เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยให้ความสนใจสินค้าที่มีคุณภาพและแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากขึ้น  และมีความต้องการทองคำและเครื่องประดับทองเพื่อการเก็งกาไรและสร้างความมั่งคั่งมากขึ้น  กัมพูชาจึงนำเข้าทองคำจานวนมากจากไทยและมีการส่งเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยทองคำมายังไทยเพื่อทำการหลอมใหม่เป็นจานวนมาก นอกจากนี้ เพชรยังเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่กัมพูชานิยมนำเข้าจากไทยด้วย

อินโดนีเซีย มีประชากรมากกว่า 270 ล้านคน อยู่ในอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกาจึงเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ชาวอินโดนีเซียนิยมบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับทองคำเป็นอย่างมากตามวัฒนธรรมและค่านิยม แต่เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมเครื่องประดับเงินมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปอินโดนีเซียเกือบทั้งหมด คือ ทองคำ รองมา คือ โลหะเงิน และเครื่องประดับเงิน ตามลำดับ

เมียนมา เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะพลอยสีเช่น ทับทิม และไพลิน เหล่านี้เป็นปัจจัยดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ แต่ ยังมีจำกัดเรื่องช่างฝีมือและเทคโนโลยีการผลิต ทำให้มีการส่งพลอยก้อนมาไทยและจีนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ปัจจุบัน มูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างไทยกับเมียนมายังไม่สูงนัก และสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปเมียนมา คือ ทองคำ 

มาเลเซีย เป็นแหล่งผลิตและส่งออกเครื่องประดับทองที่มีศักยภาพแห่งหนึ่งในตลาดโลก แต่แนวโน้มของคนรุ่นใหม่ชอบเครื่องประดับที่มีการดีไซน์ที่ทันสมัย จึงมีการนำเข้าจากไทยซึ่งออกแบบได้ตรงความต้องการ ทำให้ไทยสามารถส่งออกเครื่องประดับทองไปยังมาเลเซียได้เป็นอันดับ 3 รองจากการส่งออกไปสิงคโปร์และกัมพูชา 

สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกจาหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก เนื่องจากทักษะฝีมือแรงงานของไทยมีความชำนาญ ทั้งการเจียระไนอัญมณีและผลิตเครื่องประดับ  โดยอาเซียนก็เป็นอีกตลาดที่สำคัญและมีแนวโน้มการขยายตัวดี โดยเฉพาะ ตลาดทองคำ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยทองคำ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม  อาเซียนจึงเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม