คาโชเรโอ โชคชะตาคนงานเหมืองทอง

07 / 09 / 2564 08:55

ในเหมืองทอง ที่สูงสุดในโลก บนเทือกเขาแอนดีส  ประเทศเปรู คนงานเหมืองหลายหมื่นชีวิตยอมทำงานให้เจ้าของเหมืองฟรีๆเพื่อแลกกับเวลา 1-2 วันที่พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้ทำงานในเหมืองและเก็บสิ่งที่พบได้ เป็นระบบที่เรียกว่า คาโชเรโอ ถ้าไม่พบอะไรเลย ก็เท่ากับว่าพวกเขาทำงานให้เหมืองฟรีๆ

ห้ากิโลเมตรเหนือพื้นดิน บนเทือกเขาแอนดีสของเปรู คือที่ตั้งของลารินกอนาดา ชุมชนสูงที่สุดในโลก ที่อยู่กันอย่างแร้นแค้นกันดาร และฝากความหวังไว้กับ ทองคำ ใน เหมืองทองที่สูงที่สุด ที่ซึ่งมีออกซิเจนเบาบาง ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่ชั่วคราวราว 30,000 ถึง 50,000 คน และเต็มไปด้วยขยะ อาชญากรรมและการลวงละเมิดทางเพศ

เหมืองส่วนใหญ่ของที่นี่ดำเนินการภายใต้สัญญาแบบ “ไม่เป็นทางการ” หรือนอกระบบ หมายถึง เหมืองมีสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ได้รับอนุญาตโดยรัฐบาลให้ดำเนินการได้

เจ้าของสัญญาทำเหมืองนอกระบบมักอาศัยอยู่นอกลารินกอนาดาและ ปล่อยกิจการให้อยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้างานที่ ไว้ใจได้ ให้ทำหน้าที่จัดการแรงงาน ข้อตกลงสำหรับแรงงานมักกระทำด้วยวาจา หัวหน้าคนงานจะจ้างคนงานตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับสายแร่ที่พบในขณะนั้น พวกคนงานอาจได้รับอาหารและที่พัก โดยไม่มีผลประโยชน์หรือค่าจ้างตอบแทน แม้คนทำเหมืองจะไม่ยเห็ด้วยกับระบบนี้ แต่ไม่มีใครอยากจะเปลี่ยนแปลงจริงจัง สำหรับเจ้าของสัญญาเช่าแล้ว มันจ่ายถูกกว่า และก็ง่ายกว่าและสำหรับคนงานก็ง่าน ถ้าจะทิ้งงานไป หากชั่งใจว่าได้มากพอแล้ว แต่ส่วนใหญ่เลือกจะ อยู่ต่อ เพราะหวังว่าจะเจอโชคครั้งใหญ่จากวันหรือสองวันต่อเดือนนั้น

ในการทำเหมือวงทองจะใช้การขุดขุดสายแร่ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าระเบิดไดนาไมต์และสว่านอัดอากาศ  โรงถลุงแร่ขนาดเล็กจะบดสินแร่ แล้วเติมปรอทหรือไซยาไนด์เพื่อสกัดเอาทองคำ จากนั้น เครือข่ายนายหน้าจะเข้าไปซื้อขายทองคำเหล่านี้ ซึ่งทองคำส่วนใหญ่จากเปรูจะถูกส่งออกไปยังโรงผลิตทองคำในต่างประเทศ ในจำนวนนี้ หนึ่งในสามถูกส่งไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตทองคำมากถึงร้อยละ 70 ของโลก