เครื่องประดับทอง ยังคงครองตลาดในเมืองรองของจีน

19 / 10 / 2565 17:33

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การบริโภคเครื่องประดับภายในประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาโควิด 19และทำให้มูลค่าการบริโภคเครื่องประดับลดลงในปี 2020  แม่เมือสถานการณ์เริ่มผ่อนคลายมูลค่าการบริโภคเครื่องประดับก็กลับมาสูงขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคทองคำ  เพชร และหยก ในเมืองรองที่มีอัตรการเติบโตสูงขึ้น

เมืองรองของจีนมีทั้งหมด 30 เมือง แต่ที่มีการพัฒนาสูงสุดมี 9 เมือง คือ เซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน /ฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน /อู๋ซี มณฑลเจียงซู /คุนหมิง มณฑลยูนนาน /ฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง /ฉางชุน มณฑลจี๋หลิน /เวินโจว มณฑลเจ้อเจียง /ฉือเจียจวง มณฑลเหอเป่ย์ และหนานหนิง เป็นเมืองรองที่รัฐบาลเร่งพัฒนาทุกด้าน ส่งผลให้อัตราขยายตัวของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกำลังซื้อสูง มีศักยภาพในการบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้มากขึ้น รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

ทองคำ : คนจีนนิยมบริโภคเครื่องประดับทองมากที่สุด สัดส่วนการบริโภคเครื่องประดับทองของชาวจีนคิดเป็นร้อยละ 85 เมื่อเทียบกับเครื่องประดับชนิดอื่นๆ สำหรับเมืองรองและเมืองที่ต่ำกว่าเมืองรอง ให้ความสำคัญกับการบริโภคเครื่องประดับทองมากขึ้นแต่จะมีรูปแบบแตกต่างกันไป โดยผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูม และ Gen-X นิยมซื้อเครื่องประดับทองคำ 24 K จากร้านค้าทองชั้นนำ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและสะสมความมั่งคั่ง ส่วนกลุ่มมิลเลนเนียล และ Gen-Z นิยมบริโภคเครื่องประดับทองคำ 18 K เนื่องจากราคาไม่แพงและเป็นเครื่องประดับที่ทันสมัย นอกจากนี้คนจีนในเมืองรองยังนิยมซื้อทองคำแท่งไว้เก็งกำไรเหมือนกับในเมืองใหญ่ 

เพชร: เครื่องประดับทองได้รับความนิยมลดลงจากผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล และ Gen-Z และหันมาบริโภคเครื่องประดับเพชรแทน โดยเฉพาะเครื่องประดับเพชรจากแบรนด์ชั้นนำต่างๆเช่น Tiffany & Co. และ Cartier  ผู้บริโภคชาวจีนร้อยละ 80 ซื้อเครื่องประดับเพชรที่มีแบบและลวดลายแบบยุค 80,90 เพราะมีความหรูหรา

หยก : ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลบริโภคหยกร้อยละ 44 ในเมืองรองร้อยละ 39.4 ของผู้บริโภคช่วงอายุ 25 – 35 ปี รับชมการขายหยกผ่านการไลฟ์สตรีม แต่กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ไม่นิยมซื้อหยกผ่านช่องทางออนไลน์เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แต่ให้ความสำคัญกับการซื้อหยกผ่านหน้าร้าน