น้ำหนักทอง วัดกันอย่างไร
27 / 09 / 2561 12:27
เวลาไปร้านทองเพื่อซื้อทองรูปพรรณหรือทองคำแท่ง เราจะซื้อกันด้วยน้ำหนักเป็นบาท หรือเป็นสลึง ตามหน่วยวัดน้ำหนักทองคำของบ้านเรา แต่บางครั้งเราได้ยินการรายงานข่าวราคาซื้อขายทองคำในตลาดโลกวัดน้ำหนักเป็นออนซ์ หรือ กรัม ทั้งนี้ก็เพราะหน่วยวัดน้ำหนักของทองมีหลายประเภทและมีวิธีแปลงน้ำหนักที่ต่างกันไป
หน่วย กรัม (Gram:g) เป็นหน่วยมาตรฐานหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วโลก ไม่ว่าแต่ละประเทศจะมีหน่วยวัดน้ำหนักเป็นอะไร ก็จะต้องเทียบค่ามาเป็นกรัมเสมอ
ทรอยออนซ์ (Troy Ounce : oz) หรือที่เรียกสั้นๆว่า ออนซ์ เป็นหน่วยน้ำหนักที่ใช้ในการกำหนดราคาซื้อขายกันในตลาดโลก ส่วนใหญ่จะใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
โทลา (Tolar) ใช้กันในอินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ และทางประเทศในแถบตะวันออกกลาง
ตำลึง (Tales)ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
ชิ (Chi)ใช้ในประเทศเวียดนาม
ดอน (Don) ใช้ในประเทศเกาหลีใต้
บาท (Bath) ใช้ในประเทศไทย
ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% ตามมาตรฐานในประเทศไทย ขนาดน้ำหนัก 1 บาทเมื่อเทียบเป็นกรัมจะมีน้ำหนักต่างกันคือ ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม สาเหตุที่ทองคำแท่ง 1บาท มีน้ำหนักมากกว่าทองรูปพรรณ เมื่อเทียบเป็นกรัม ก็เพราะการทำทองรูปพรรณมีการสูญเสียเนื้อทองไปในกระบวนการแปรรูปนั่นเอง
ส่วนทองคำความบริสุทธิ์ 99.99% 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 ทรอยออนซ์ ทองคำ 1
ทรอยออนซ์ มีน้ำหนักเท่ากับ 31.1034 กรัม และเมื่อแปลงน้ำหนักทองคำหน่วยต่างๆกับกรัมจะได้ดังนี้
ทองคำ 1 ตำลึง เท่ากับ 37.429 กรัม
ทองคำ 1 โทลา เท่ากับ 11.6638 กรัม
ทองคำ 1 ชิ เท่ากับ 3.75 กรัม
ทองคำ 1 ดอน เท่ากับ 3.75 กรัม
มีข้อสังเกตสำหรับระบบออนซ์ที่เอาไว้ชั่งน้ำหนักนั้นมีสองแบบ คือออนซ์ (Avoir.)ที่เป็นหน่วยสำหรับชั่งน้ำหนักสิ่งของทั่วไป เช่น อาหารนั้น 1 ออนซ์= 28.3495231 กรัม ส่วนทรอยออนซ์ (Troy,Apoth.) ที่เอาไว้ชั่งโลหะมีค่าต่างๆ เช่น ทอง เงิน 1 (ทรอย)ออนซ์ = 31.104 กรัม จะเห็นว่าอ่านว่า ออนซ์เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันนั่นคือ 0.91146 ออนซ์ (Avoir.) = 1 ออนซ์ (Troy,Apoth.) นั่นเอง
เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-th.com/gold-rate/