ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

01 / 10 / 2561 16:55

ด้วยคุณสมบัติของทองคำที่เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด มีความยืดหยุ่นและป้องกันการเกิดสนิมได้ จึงมีการนำทองคำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแผงวงจรในอุปกร์ณอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด

วงการอิเล็คทรอนิกส์ และการสื่อสารโทรคมนาคมนำทองคำมาใช้ในหลายด้าน เช่น ทำสวิตซ์โทรศัพท์ที่ใช้เป็นแผงตัด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินได้สะดวก ,การใช้ลวดทองคำขนาดจิ๋วเชื่อมต่อวัสดุกึ่งตัวนำ และทรานซิสเตอร์, การใช้ลวดทังสเตน และโมลิบดีนัมเคลือบทองคำใช้ในอุตสาหกรรมหลอดสูญญากาศ, การเคลือบผิวเสาอากาศด้วยทองคำ เพื่อการสื่อสารระยะไกล, การใช้ตาข่ายทองคำ เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระบบการสื่อสารการบินพาณิชย์, การใช้อลูมิเนียมเคลือบทองในเครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อทำหน้าที่สะท้อนรังสีอินฟราเรด, การใช้โลหะทองคำเจือเงิน และนิกเกิล ประกบผิวทองเหลืองในปลั๊ก และปุ่มสวิตที่ไช้งานหนัก หรือสปริงเลื่อนในลูกบิดเลือกเปลี่ยนช่องทีวี,ใน แผงวงจรต่างๆ ก็มีทองคำเป็นตัวนำไฟฟ้า เพื่อให้ทำงานได้ตลอดอายุงาน เนื่องจากทองคำอยู่ตัว และไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ,ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย

ที่น่าสนใจคืออาคารสำนักงานใหญ่ๆ ของธนาคารกลาง ในนครโตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา ก็ติดแผ่นฟิล์มด้วยทองคำทอง 24K มีน้ำหนักรวมถึง77.7 กิโลกรัม เพื่อลดความร้อน และปรับอุณหภูมิในอาคารให้พอเหมาะ และเพิ่มความสวยของอาคารอีกด้วย

นอกจากนี้ในสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ก็ยังมีทองคำเป็นส่วนประกอบในวงจรอิเลคทรอนิกส์ เว็บไซต์ 911metallurgist เปิดเผยข้อมูลเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าใน iPhone ทุกเครื่อง  มีปริมาณของทองคำที่ใช้เป็นชิ้นส่วนอยู่ภายในเครื่องประมาณ 0.0012 ออนซ์ซึ่งสามารถตีเป็นราคาได้ราว $1.58 หรือราว 52 บาท และยังมีโลหะมีค่าอีกหลายประเภทที่นำมาใช้งานใน iPhone ไม่ว่าจะเป็นเงิน ประมาณ 0.012 ออนซ์ , แพลตินั่ม 0.000012 ออนซ์  และทองแดง  0.56 ออนซ์ เป็นต้น

ถ้านับยอดขาย iphone เมื่อปี 2017  ที่ประมาณ 237 ล้านเครื่อง จะคิดเป็นมูลค่าทองคำใน iphone ได้ถึง 12,000  ล้านบาทเลยทีเดียว

มีตัวเลขที่น่าสนใจจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ถ้ารวบรวมโทรศัพท์มือถือได้ 1 ตัน จะสกัดทองได้ประมาณ 300-350 กรัม เทียบกับการถลุงแร่ 1 ตันจะสกัดทองได้เพียง 5 กรัมเท่านั้น ดังนั้นการรีไซเคิลขยะอิเลคทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟนจึงน่าจะคุ้มกว่าการทำเหมืองทอง และไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาจากการทำเหมืองทองอีกด้วย


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/