มาตรฐานเหมืองแร่ทองคำ

17 / 10 / 2561 09:31

ทองคำที่มีการซื้อขายกันระหว่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองไปยังแหล่งกำเนิดหรือเหมืองแร่ทองคำเหล่านั้นว่าการประกอบกิจการได้มาตรฐานตามที่กำหนด รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน หรือไม่
 
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานจัดทำมาตรฐานหรือข้อแนะนำ เกี่ยวกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในระดับสากลเอาไว้หลายสถาบันได้แก่

    1. มาตรฐานของ London Bullion Market Association (LBMA) ซึ่งดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ
สมาชิกส่วนใหญ่เป็นธนาคารระหว่างประเทศรายใหญ่หรือตัวแทนจำหน่าย เช่น LBMA Responsible Gold Guidance 2 (คำแนะนำผู้ผลิตที่รับผิดขอบต่อสังคม)เป็นต้น

    2. ข้อแนะนำของ Organization for Economic Co-operation andDevelopment (OECD) หรือองค์การ
เพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก เช่น OECD Due Diligence Guidance for Responsible supply Chains of Minerals from Conflict-Affected and High-Risk Areas3 เป็นต้น

    3. มาตรฐานของ World Gold Council หรือสภาทองคำโลก องค์กรพัฒนาตลาดสำหรับอุตสาหกรรม
ทองคำ  เช่น Conflict-Free Gold Standard  เป็นต้น

    4. ข้อแนะนำของ International Council on Mining & Metals (ICMM) หรือ สภาระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่และโลหะ (ICMM) ก่อตั้งขึ้นในปี 2544 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะ เช่น ICMM Good Practice Guidance for Mining and Biodiversity5 และ ICMM Indigenous Peoples and Mining Good Practice Guide6 เป็นต้น

ทั้งนี้ เนื่องจากทองคำเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ดังนั้น ทองคำที่มีการซื้อขายระหว่างประเทศจึงต้องมีการตรวจสอบและรับรองโดยหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือ เช่น Perth Mint Gold Certificates ซึ่งได้รับ
การรับรองโดยรัฐบาล Western Australia, LBMA Good Delivery Lists ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับการรับรองจำนวนทั้งสิ้น 70 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์และอินโดนีเซียด้วย
ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องประดับนั้นต้องผ่านการรับรองของ  Responsible Jewellery Council Chain-of-Custody certification ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกตั้งขึ้นในปี 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและรับรองแหล่งกำเนิดที่มีความรับผิดชอบสาหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับเป็นการเฉพาะ


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/