อู่ทอง เมืองแห่งทองคำ

25 / 10 / 2561 10:07

เมืองโบราณ “อู่ทอง” ไม่ใช่ชื่อที่ตั้งขึ้นลอยๆแต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าที่แห่งนี้เป็น CITY OF GOLD หรือเมืองแห่งทองจริงๆ เมื่อมีการค้นพบทองคำจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วเมือง ทั้งเศียรพระพุทธรูปทองคำเครื่องประดับทองคำต่างๆเช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู กำไลต้นแขน รวมถึงการพบเบ้าหลอมทำต่างหูทองคำอีกด้วย

เครื่องทองโบราณที่พบที่อู่ทองนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการปรับพื้นที่ทำการเกษตรของชาวไร่ชาวนา ทองจำนวนหนึ่งอยู่ในความครอบครองของคนอู่ทอง บางส่วนถูกคนนำไปหลอมทำเครื่องประดับใหม่ ส่วนทองโบราณอีกจำนวนหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ผู้รับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่เมืองโบราณอู่ทองได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ เชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ว่า “ทองคำโบราณ” ที่ “เมืองโบราณอู่ทอง” มีความเป็นมาอย่างไร โดยเชิญ ดร.แอนนา เบนเน็ตต์ นักวิทยาศาสตร์โบราณคดีที่มีผลงานวิชาการด้านการวิเคราะห์โลหะโบราณของสถาบันและพิพิธภัณฑ์ชั้นนำทั่วโลกมาเป็นผู้ศึกษาวิเคราะห์ และถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่มีการศึกษาในลักษณะนี้

ในการสืบค้นต้นตอที่มาของทองคำโบราณ ดร.แอนนาใช้วิธีการวิทยาศาสตร์และเครื่องไมโครสโคป เครื่องไมโครโฟโต้กราฟฟี่ และ เครื่องเอ็กซ์เรย์ ฟลูออเรสเซนต์ ที่นำมาจากบรัซเซลส์ เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยใช้วิธีวิเคราะห์ที่ผิวนอกไม่ใช่เนื้อในเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายให้กับวัตถุโบราณต่างๆ  ซึ่งกล้องไมโครโฟโตกราฟฟี่สามารถขยายวัตถุขนาดเล็กๆให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจนจนสามารถบอกส่วนประกอบ  วิธีทำ และอายุได้อย่างแม่นยำ

ผลจากการศึกษาพบว่า ภูมิภาคนี้โดยเฉพาะประเทศไทย มีความเจริญรุ่งเรืองและความก้าวหน้าในการนำทองคำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีความหลากหลายของชนิดและรูปแบบ ทองที่นำมาทำเป็นทองที่ร่อนได้จากแม่น้ำแล้วนำมาประกอบเป็นทองรูปพรรณ การผลิตเป็นการหลอมเป็นเม็ดทองเล็กๆ แปะติดกันโดยใช้ความร้อนและไม่ใช้น้ำยาเชื่อมประสาน ซึ่งเป็นเทคนิคเก่าแก่ ที่คนอิตาลีใช้กันมานาน สันนิษฐานว่าได้เทคนิคนี้ผ่านมาทางอินเดียหรืออาหรับ นอกจากเครื่องประดับแล้วก็ยังพบพระพุทธรูปทองและจี้ที่มีลักษณะพิเศษคล้ายธรรมจักรในพุทธศาสนา อันอาจเป็นการสนับสนุนสมมุติฐานเดิมที่ว่าดินแดนแห่งนี้คือต้นกำเนิดของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พัฒนาต่อมาจนกลายเป็นทวารดีซึ่งเป็นต้นทางของอารยะธรรมไทยในปัจจุบัน

การค้นพบทองโบราณที่เมืองโบราณอู่ทองยังทำให้พบข้อมูลสำคัญที่สามารถเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ที่หายไปและข้อสงสัยต่างๆได้ว่า เมืองอู่ทองนี้มีพัฒนาการของบ้านเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2-3 ซึ่งสอดคล้องกับแผ่นดินสุวรรณภูมิ มีนักเดินทาง พ่อค้า ผู้คนมากมาย เป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายจากทั่วโลก ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ และโรมัน รวมถึงเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาอีกด้วย


จากการศึกษาพบเป็นทองร่อนจากแม่น้ำแล้วนำมาประกอบเป็นทองรูปพรรณ แล้วยังมีสร้อยทองชิ้นหนึ่งที่เคยสรุปไว้ว่าทำด้วยเบ้าหลอม แต่ผลศึกษาครั้งนี้ไม่ใช่ เป็นการหลอมเป็นเม็ดทองเล็กๆ แปะติดโดยไม่ใช้น้ำยาเชื่อมประสาน ใช้ความร้อน เป็นเทคนิคเก่าแก่ ที่บรรพบุรุษคนอิตาลีใช้ สันนิษฐานว่าจะผ่านมาทางอินเดียหรืออาหรับ ตลอดจนเศียรพระพุทธรูปทอง และส่วนเท้า มีการนำทองจากคนละแหล่งมาผลิต
ทองโบราณอู่ทองเป็นการค้นคว้าวิจัยครั้งแรกๆ ของเอเชียอาคเนย์ ที่ผ่านมามีการศึกษาลักษณะนี้น้อยมาก ข้อมูลการศึกษาที่ได้ไม่ใช่แค่รูปทรง เทคนิคการผลิต หรือเนื้อทอง แต่เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาเครื่องประดับโบราณและเทคโนโลยีโบราณ จะสร้างการรับรู้แดนทองของไทย ช่วยเพิ่มนักท่องเที่ยวและนักโบราณคดีเดินทางมาไทยมากขึ้น
นอกจากศึกษาเครื่องประดับทองคำ เศียรพระพุทธรูปทองคำที่พบในแหล่งขุดแต่งโบราณสถาน ได้สำรวจภาพประติมากรรมนูนสูงประดับตามโบราณสถานเมืองอู่ทอง ดูสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู กำไลต้นแขน รวมถึงการพบเบ้าหลอมทำต่างหูทองคำ ยังไม่รวมโบราณสถานกว่า 60 แห่ง กว่าครึ่งเป็นวัด ศาสนสถาน ทำให้ตนนึกถึงจารึกแผ่นทองแดงอินเดียโบราณกล่าวถึงเมืองหนึ่งในเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ มีสถูปมากมาย มีลูกปัดหินสี สร้อยทอง แล้วยังพบหลักฐานอู่ทองเชื่อมต่อโลกตะวันออกและตะวันตก ทั้งเหรียญที่มีรูปเรือซึ่งใช้ในอินเดีย ในอินเดียมีจารึกไว้ว่า กองเรือ 500 ลำมาหาทองที่ดินแดนสุวรรณภูมิ แล้วยังมีเหรียญโรมัน จี้ทองโรมัน ส่วนบรรพบุรุษคนอู่ทองไม่ได้อพยพมาจากไหน มีคนตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่แรก
อพท.ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมทวารวดีและต้นกำเนิดสุวรรณภูมิ

ประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองโบราณอู่ทองมีคุณค่า ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ
ผลศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้าในการนำทองคำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปี เฉพาะที่อู่ทองมีความหลากหลาย นอกจากพระพุทธรูปทองคำแล้ว ยังพบจี้ที่มีลักษณะพิเศษคล้ายธรรมจักรในพระพุทธศาสนา สนับสนุนสมมติฐานการเป็นดินแดนสุวรรณภูมิของอาณาบริเวณนี้ และพัฒนาต่อเป็นอารยธรรมทวารวดี ถือเป็นต้นทางอารยธรรมไทยทุกวันนี้ ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นฐานความรู้สำคัญพัฒนาเมืองโบราณอู่ทอง


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/