ยุคตื่นทองในบราซิล

31 / 10 / 2561 16:20

นิทรรศการภาพถ่ายระดับโลก Sebastiao Salgado: The World Through His Eyes ที่จัดโดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อต้นปี 2017 ทำให้คนไทยได้ชมผลงานภาพถ่ายของศิลปินระดับโลกที่ชื่อเซบาสเทียว ซาลกาโดจำนวน 120 ภาพ หนึ่งในชุดภาพถ่ายที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ ภาพคนงานในเหมืองแร่ทองคำ Serra Pelada  ที่แสดงถึงความมืดมนในยุคตื่นทองของบราซิลซึ่งไม่สว่างไสวเหมือนสีของทองคำ

เหมืองทองคำเซย์ร่า เปร์ลาด้า(Serra Pelada) อยู่กลางผืนป่า ห่างไกลความเจริญทางตอนเหนือของประเทศบราซิล เริ่มเปิดดำเนินการในปี ค.ศ. 1980 สามเดือนหลังจากค้นพบทองคำ ทหารบราซิลได้เข้ามาดำเนินการเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากคนงาน มีผู้คนทั่วบราซิลกว่า 1 แสนคน มุ่งหน้าไปแสวงโชคในเหมืองที่ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ไม่มีความปลอดภัยและไร้ซึ่งการควบคุม เหมืองนี้ขุดด้วยมือของคนงานโดยนายทุนไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกหรือหามาตรการเพื่อความปลอดภัยใดๆอีกทั้งยังมีการใช้สารปรอทในการสกัดทองคำทำให้บริเวณเหมืองเต็มไปด้วยสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ในเหมืองที่
ที่มีความลึกกว่า 50-60 เมตร (เมื่อเหมืองนี้ปิดตัวลงในปีค.ศ.1986 ความลึกของเหมืองอยู่ในระดับ 100เมตร )ทองคำที่ขุดได้รัฐบาลตกลงรับซื้อทั้งหมดในราคาคิดเป็น 75 % ของราคาโลหะในลอนดอน ในขณะที่คนงานเหมืองได้รับค่าแรงเพียงวันละ  2-3 ดอลลาห์สหรัฐ และเพียง 20 เซนท์จากการแบกกระสอบที่บรรจุสินแร่หนักอึ้งในแต่ละเที่ยว

นอกจากนักขุดทองแล้ว ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกเข้ามาทำการค้าขายในเหมืองทองเซย์ร่า เปร์ลาด้า ทั้งขายอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงประกอบกิจการสถานบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับผู้คนกว่า 100,000-120,000 คน และเมื่อมีคนมาอยู่รวมกันมากๆทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งมีคดีฆาตกรรมที่ปิดไม่ได้กว่า 60-80 เคสต่อเดือนเลยทีเดียว

ภายในระยะเวลา 6 ปีของการทำเหมืองมีการบันทึกอย่างเป็นทางการว่ามีการซื้อขายทองคำไป 45 ตัน แต่คาดการว่าความจริงแล้วมีทองคำที่ถูกขุดไปมากกว่า 360 ตันซึ่งส่วนมากถูกลักลอบออกไปขายในตลาดมืด  เหมือง Serra Pelada นี้เคยถูกเล่าไว้ในส่วนหนึ่งของสารคดี The Salt of the Earth และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ เมื่อปี 2013 ในชื่อเรื่องเดียวกันกับเหมืองคือ Serra Pelada 

เซบาสเทียว ซาลกาโด เป็นช่างภาพวัย 71ปีเกิดในปี ค.ศ.1944 ล้อมรอบไปด้วยป่าดงดิบทางตอนใต้ของประเทศบราซิล จบปริญญาเอก ด้านเศรษฐศาสตร์จากปรเทศฝรั่งเศส เขาได้รับการยกย่องจาก เดอะ การ์เดี้ยนว่า “ ไม่ได้เป็นเพียงช่างภาพที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่เขาอาจจะเป็นช่างภาพยอดเยี่ยมคนสุดท้าย”  ปัจจุบัน ซาลกาโดและภรรยา กลับไปอยู่ที่ประเทศบราซิล ใช้เวลาฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่บ้านเกิดรวมถึงสถานที่อื่นๆ ด้วยการปลูกต้นไม้ โดยเขาปลูกต้นไม้ไปแล้วนับแสนต้น


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/