ตลาดเครื่องประดับทอง ในออสเตรียเลีย

06 / 11 / 2561 17:11

ออสเตรเลียเป็นตลาดมีกำลังซื้อสูง เพราะประชากรมีโดยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี สูงถึง 55,510 ดอลลารสหรัฐ ซึ่งค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่เป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย

ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย รายงานตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของไทยจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปออสเตรเลียว่าอยู่ที่ ร้อยละ 11.6  เป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาที่ ร้อยละ 12.9 และฮ่องกงที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ร้อยละ 21.7 ที่เหลือก็เป็นนิวซีแลนด์และอินเดีย

อัญมณีและเครื่องประดับที่ออสเตรเลียนําเข้าร้อยละ 70 เป็นอัญมณีและเครื่องประดับแท้ ครึ่งหนึ่งเป็นการนําเข้า เครื่องประดับทอง รองลงมา คือ เพชร และเครื่องประดับเงิน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30 เป็นการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเทียม

เนื่องจากประชากรในออสเตรเลียประกอบด้วยผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติส่งผลให้ความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งแบ่งได้ตามกลุ่มผู้ซื้อ คือกลุ่มตลาดระดับบน ราวร้อยละ 5-10 ของจํานวนผู้ซื้อในออสเตรเลีย  กลุ่มนี้เป็นผู้มีรายดได้สูง นิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ แบรนด์เนมชั้นนำของโลก  เช่น Cartier, Tiffany & Co., รวมถึงแบรนด์เนมชั้นนำของออสเตรเลียอย่าง Parspaley เป็นต้น

กลุ่มที่สองือผู้ซื้อในตลาดระดับกลาง เป็นประชากรสวนใหญ่ของออสเตรเลียราวร้อยละ 80-90  ผู้ซื้อกลุ่มนี้จะคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความคุ้มค่าของอัญมณีและเครื่องประดับเป็นประเด็นสำคัญ รวมทั้งไม่ยึดติดกับสินค้าแบรนด์เนมกลุ่มสุดท้ายคือผู้ซื้อในตลาดระดับล่าง ราวร้อยละ 5-10  เป็นกลุ่มชาวพื้นเมือง และชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่เข้าไปทํางานในออสเตรเลีย เช่นกลุ่มคนเอเชีย ผู้ซื้อกลุ่มนี้นิยมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงาม และสามารถเก็บไว้เป็นสินทรัพย์ได้ ส่งผลให้เครื่องประดับทองที่มีปริมาณเนื้อทองค่อนข้างสูงได้รบความนิยมเช่นเครื่องประดับทอง 22K

เครื่องประดับที่จำหน่ายในออสเตรเลีย ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ แหวน ราวร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด รองลงมาคือ ต่างหู  สร้อยคอ  และสร้อย /กำไลข้อมือ
ทั้งนี้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในออสเตรเลียมีแนวโน้มขยายตัวตัวต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ  มูลค่าการนำเข้าสูงกว่า 1.4 พันล้านดอลลร์สหรัฐต่อปี แม้ออสเตรเลียจะมีวัตถุดิบ อย่าง ทองคำ เพชร และไข่มุกเป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในรูปของวัตถุดิบ ส่งผลให้ออสเตรเลีย ยังมีความต้องการนําเข้าอัญมณีและเครื่องประดับต่อเนื่อง  เพราะการนำเข้าเครื่องประดับสำเร็จรูปมีราคาถูกกว่าการแปรรูปภายในประเทศ เนื่องจากต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่สูงมากนั่นเอง



เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/