ความหมายในเครื่องประดับทองของชาวอินเดีย

28 / 11 / 2561 13:53

อินเดียถือเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็งที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ที่แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อตามศาสนาไม่เปลี่ยนแปลง เช่นพิธีการแต่งงานของขาวอินเดียในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการแต่งกายและการใส่เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ ที่มีความหมายตามความเชื่อแฝง

ปัจจุบันมีคู่บ่าวสาวอินเดียเข้าสู่พิธีแต่งงานมากกว่าปีละ 10 ล้านคู่ ในวันงานทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องแต่งกายงดงามและประดับด้วยเครื่องประดับมีค่าสำหรับพิธีแต่งงาน ซึ่งแต่ละชิ้นไม่ใช่แค่สิ่งที่แสดงถึงความมั่งคั่งของผู้สวมใส่ แต่ยังมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ ความเชื่อ โชคลางของชาวอินเดียด้วย

ตามธรรมเนียมการแต่งงานของอินเดียเจ้าสาวจะสวมใส่เครื่องประดับสำคัญรวม 9 ชิ้น ได้แก่ จี้ห้อยหน้าผาก เครื่องประดับจมูก ต่างหู สร้อยคอ แหวน กำไลข้อมือ เครื่องประดับที่เอว แหวนนิ้วเท้า และ สร้อยข้อเท้า ซึ่งเครื่องประดับที่มีความสำคัญที่สุด 4 ชิ้น ที่จะขาดไม่ได้คือเครื่องประดับจมูก สร้อยคอ กำไลข้อมือ และแหวนนิ้วเท้า

แหวนนิ้วเท้า หรือบีชีย่า (Bichiya)ใช้สวมใส่นิ้วเท้าทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วก้อยทั้งสองข้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงาน หลังจากแต่งงานแล้วจะใส่ไว้เฉพาะที่นิ้วโป้งข้างซ้ายเท่านั้น บางครั้งผู้ชายก็ ใส่ด้วยเพราะเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและสามารถรักษาโรคได้ บีซีย่าเป็นเครื่องประดับชนิดเดียวที่ไม่ได้ทำจากทองคำ เพราะสำหรับคนอินเดียแล้วถือว่าทองเป็นของสูง จะไม่นำมาประดับร่างกายตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ส่วนใหญ่จึงทำจากเงิน

เครื่องประดับจมูก หรือห่วงจมูก (Nose Ring) เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ มักสวมที่จมูกด้านซ้าย เพราะถือว่าจมูกด้านซ้ายเกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง จะทำให้คลอดบุตรง่าย ลดอาการ ปวดประจำเดือน  โดยสตรีชาวอินเดียจะต้องใส่ห่วงจมูกในวันแต่งงานและจากนั้นก็จะใส่ไปตลอดเชื่อว่าจะช่วยให้ลมหายใจบริสุทธิ์และปกป้องสุขภาพของสามีได้ด้วย

สร้อยคอ (Mangalsutra) หรือสร้อยมงคลสูตรประกอบด้วยจี้ทองคำและด้ายสีเหลืองที่ได้จากการย้อมขมิ้น ร้อยด้วยลูกปัดสีดำ ซึ่งแต่ละภูมิภาคของอินเดียอาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป ถือเป็นเครื่อง ประดับที่สำคัญมาก เพราะเจ้าสาวจะต้องสวมใส่ไปตลอดชีวิต โดยเจ้าบ่าวจะเป็นผู้สวมให้แก่เจ้าสาวในวันแต่งงาน เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นภรรยา อีกทั้งเชื่อว่าลูกปัดสีดำมีอำนาจแห่งเทพที่ช่วยพิทักษ์สามี และชีวิตสมรส ถือเป็นเครื่องหมายสูงสุดของความรักและความนับถือ

หรือกำไลข้อมือ หรือชูดี (Chudi) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะการสมรสของสตรีชาวอินเดีย คล้ายกับแหวนแต่งงานของชาวตะวันตก และจะใส่ได้เฉพาะสตรีที่แต่งงานแล้วเท่านั้น มีหลายสี ทำจากวัสดุหลายชนิด ตามธรรมเนียมชาวฮินดู เจ้าสาวจะสวมใส่กำไลแก้วเล็กๆ จำนวนมากในวันแต่งงาน เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสุขและชีวิตแต่งงานที่เต็มเปี่ยมด้วยรัก ส่วนกำไรสีเขียวหรือสีแดงเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความปลอดภัย และความโชคดี หากสามีทำกำไลหักโดยไม่ตั้งใจ อาจเป็นลางบอกเหตุว่าจะเกิดสิ่งไม่คาดฝันกับสามีได้ และถ้าสามีเสียชีวิตสตรีต้องหักกำไลทิ้งเพื่อเป็นการไว้ทุกข์  ชูดีอาจทำจากวัสดุที่มีค่าอย่างทองดคำ หรือวัสดุอื่นๆก็ได้


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่  https://www.aagold-th.com/gold-rate/