เครื่องยศทองคำลงยาฯ พระราชมรดก พระนางเรือล่ม

05 / 03 / 2562 18:29

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในการแบ่งพระราชมรดกของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือพระนางเรือล่ม หลังเสด็จทิวงคตลงอย่างกะทันหัน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องยศทองคำลงยาราชาวดีหลายรายการที่พระองค์ได้เคยพระราชทานให้ ได้แก่
เครื่องยศพานหมากทองคำลงยาราชาวดี
ผอบทองคำลงยาราชาวดีปริกประดับเพชร
จอกหมากทองคำลงยาราชาวดี
ซองพลูทองคำลงยาราชาวดี
ตลับขี้ผึ้งรูปผลลิ้นจี่ประดับทับทิมมีสายสร้อยห้อยแขวน-ไม้ควักหูจิ้มฟันประดับเพชรบ้างเล็กน้อย
หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี หลังเป็นลายสระบัว มีมงกุฎกษัตรียประดับเพชรพลอยบ้าง
ตลับเครื่องในทองคำลงยาราชาวดี หลังประดับมรกต เพชรสามใบเถา
พานทองคำลงยาราชาวดี สำหรับรองหีบหมาก
ขันครอบทองคำลงยาราชาวดี จอกลอย และพานรอง
ขันล้างหน้าทองคำลงยาราชาวดีพานรอง
กาน้ำร้อยหูหิ้วมีถาดรองทองคำลงยาราชาวดี
กระโถนเล็กทองคำลงยาราชาวดี
โต๊ะเงินสำหรับเครื่องคาวและหวาน
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการแบ่งพระราชทรัพย์มรดกของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯให้แก่บรรดาพระญาติของพระนางเอง โดยพระราชทานเครื่องยศสำหรับผู้หญิงให้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยพระนัดดาที่ได้ทรงเลี้ยงดูกันมา และเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี (พระยศขณะนั้น) 
ส่วนหีบหลังประดับเพชรมาแต่นอกมีตลับสามใบเถานั้น ใบหนึ่งมอบให้แก่ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีผู้เป็นน้อง  ส่วนสิ่งของอื่น ๆ นั้น พระองค์ทรงแบ่งออกพระราชทานให้แก่พระเชษฐา พระขนิษฐา และพระนัดดาของพระนางเจ้าสุนันทาฯ  แต่กล่องจุลจอมเกล้า 1 ใบ และหีบกะไหล่โปร่งทรงให้ส่งคืนพระคลัง   
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่เรียกกันว่า พระนางเรือล่ม ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาเดียวกัน 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยพระธิดาวัยขวบเศษและพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯพระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังบางปะอิน
พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ 5 ยิ่งกว่าพระอัครมเหสีองค์อื่นๆ เพราะนอกจากทรงมีพระสิริโฉมงดงามแล้ว พระสติปัญญายังฉลาดเฉียบแหลม จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "พระอัครมเหสี" รับราชการรับใช้สนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ความเฉลียวฉลาดของพระนางเจ้าสุนนันทาฯยืนยันได้จากบันทึกของนายพลยูลิสซีส เอส. แกรนต์ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่ได้เดินทางเข้ามาในปี พ.ศ. 2422 มีความว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ภรรยาของข้าพเจ้าก็ได้รับการต้อนรับและสนทนาวิสาสะอย่างอบอุ่นเป็นกันเองจากพระราชินี”
มีเอกสารจากต่างประเทศบันทึกไว้ว่า “พระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วฉะฉาน และทรงกล้าเข้าสังคมซึ่งแตกต่างจากบุคลิกลักษณะของฝ่ายในโดยมาก ในสมัยก่อน ทำให้ทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการต้อนรับขับสู้ชาวต่างประเทศเมื่อทรงออกมหาสมาคม ขณะดำรงตำแหน่ง พระนางเธอ หรือ Queen อย่างสมพระเกียรติ “


เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-th.com/gold-rate/