แบร์ริก โกลด์ บริษัทเหมืองทองคำใหญ่ที่สุดในโลก

11 / 06 / 2562 09:20

แบร์ริก โกลด์ บริษัทเหมืองทองคำใหญ่ที่สุดในโลก

บริษัท แบร์ริก โกล์ด ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาก้าวสู่การบริษัทเหมืองทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเข้าซื้อกิจการของบริษัทแรนด์โกลด์ รีซอร์สเซส ด้วยวงเงิน 6.1 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนกันยายน 2561 การซื้อกิจการในครั้งนี้ จะทำให้แบร์ริคหวนกลับไปลงทุนในแอฟริกา หลังจากที่ได้ขายกิจการในภูมิภาคดังกล่าวเมื่อ 8 ปีที่แล้ว

แบร์ริก โกลด์ ยังคงพยายามควบรวมกิจการต่อไปเมื่อยื่นข้อเสนอซื้อกิจการของบริษัทนิวมอนต์ ไมนิ่ง คอร์ป ด้วยวงเงิน 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อตั้งบริษัทเหมืองทองขนาดใหญ่ ซึ่งมีมูลค่ารวม 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปึ 2562 ซึ่งตามข้อเสนอผู้ถือหุ้นของนิวมอนต์จะได้รับหุ้นแบร์ริกจำนวน 2.5694 หุ้นต่อหุ้นนิวมอนต์ทุกๆ 1 หุ้น และหากการควบรวมกิจการประสบความสำเร็จ บริษัทที่ก่อตั้งใหม่จะมีขนาดใหญ่กว่าคู่แข่งของแบร์ริคถึง 4 เท่า และจะช่วยลดค่าใช้จ่ายถึง 7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ผู้ถือหุ้นแบร์ริคจะถือหุ้นในบริษัทใหม่จำนวน 55.9% ส่วนผู้ถือหุ้นนิวมอนต์จะถือหุ้นในบริษัทใหม่ 44.1%

อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่หวังไว้เมื่อฝ่ายบริหารของนิวมอนต์ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวของแบร์ริก โดยระบุว่าแบร์ริกให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นนิวมอนต์ต่ำเกินไป และได้เมินเฉยต่อความเสี่ยงจากข้อตกลงดังกล่าว รวมทั้งประเมินผลบวกจากการควบกิจการมากเกินไป ขณะเดียวกัน นิวมอนต์ได้ยื่นข้อเสนอให้บริษัทแบร์ริกเข้าร่วมลงทุนในรัฐเนวาดา ซึ่งเป็นรัฐที่มีการผลิตทองคำและเงินมากที่สุดในสหรัฐ ขณะที่แบร์ริกเห็นชอบต่อข้อตกลงร่วมลงทุนดังกล่าว โดยได้ถือหุ้น 61.5% ส่วนนิวมอนต์ถือหุ้นในส่วนที่เหลือ 

แบร์ริก โกลด์  เป็นบริษัททองคำรายใหญ่สุดของโลก มีการทำเหมืองอยู่ใน สหรัฐฯ เปรู ชิลี
อาร์เจนตินา  ออสเตรเลีย แคนาดา มาลี ไอเวอรี่โคสท์  คองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน ปาปัวนิวกินี ซาอุดิอาระเบีย แทนซาเนีย และแซมเบีย การผลิตทองคำของ แบร์ริก โกลด์  มากกว่า 75% มาจากภูมิภาคอเมริกา ในปี 2559 ผลิตทองคำได้ 5.52 ล้านออนซ์ และทองแดง 415 ล้านปอนด์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัท มีปริมาณสำรองทองคำที่ 85.9 ล้านออนซ์ 

อย่างไรก็ดี แบร์ริก โกลด์  เคยมีเรื่องอื้อฉาวเรื่องการติดสินบนเหมืองทองในประเทศแทนซาเนีย โดยการจ่ายเงินสด 4 แสนเหรียญสหรัฐให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลเพื่อเดินเรื่องซื้อขายที่ดินบริเวณรอบเหมืองทองนอร์ธมารา จากการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอนัล มีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้รับเงินถึง 140 คน รับเงินคนละตั้งแต่ 19,000-121,000 เหรียญสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการได้รับเงินตอบแทน 250 เหรียญต่อวันจำนวน 45 วัน ขณะที่คนแทนซาเนียมีรายได้ต่อหัวปีละ 570 เหรียญต่อปีเท่านั้น

แต่บริษัทแบร์ริกโกล์ด บอกว่าเป็นการจ่ายที่ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะในพื้นที่ห่างไกล ระบบธนาคารมีข้อจำกัด การจ่ายเงินสดเป็นเพียงหนทางเดียว การจ่ายทุกยอดมีการบันทึก ตรวจสอบ และควบคุมอย่างระมัดระวัง และ สำนักงานกฎหมายแจ้งว่าทำถูกต้องตามกฎหมายของแทนซาเนีย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรทุกประการ

การทำเหมืองแร่ทองคำและการคอรัปชั่นดูจะแยกกันไม่ออกในทุกพื้นที่ทั่วโลก