สาหร่ายทะเล ทองคำเขียว

15 / 07 / 2562 11:45

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงานว่า ประเทศชิลี, สเปน และญี่ปุ่น เป็นผู้ผลิตสาหร่ายทะเลระดับแถวหน้าของโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนการผลิตสาหร่ายร้อยละ 60  เฉพาะชิลีประเทศเดียวส่งออกสาหร่ายถึงปีละ 1,800 ตัน จนสาหร่ายทะเลได้รับสมญาว่าเป็น “ทองคำสีเขียว”

ที่ชายหาดเมืองกัวอิน เป็นแหล่งผลิตสาหร่ายทะเลที่สำคัญของประเทศชิลี เพราะมีภูมิประเทศเหมาะสม มีคลื่นต่ำ มีกระแสน้ำเย็นไหลเข้าสู่ชายฝั่งในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกระแสน้ำในชิลีเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึงการเพาะปลูกสาหร่ายทะเลทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกสาหร่ายทะเลบนชายหาดได้

เกษตรกรที่เมืองกัวอินใช้วิธีการเพาะปลูกสาหร่ายแบบเก่า นั่นคือ การปลูกด้วยมือโดยไม่มีเครื่องจักร  เมื่อครบ 15 วัน ก็สามารถเก็บสาหร่ายทะเลได้แล้ว ชิลีผลิตสาหร่ายทะเลหลายรูปแบบตามแนวชายฝั่งระยะทาง 4,500 กิโลเมตร และส่งออกปีละ 6,000 ตัน อย่างไรก็ตาม สถาบันส่งเสริมการประมงแห่งชาติระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว อุตสาหกรรมสาหร่ายทะเลส่งออก คิดเป็นมูลค่า 246 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 8,610 ล้านบาท ทำให้ชิลี กลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสาหร่ายรายใหญ่ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปเอเชีย รวมถึงจีน ญี่ปุ่น และไทย แต่ความต้องการสาหร่ายทะเลหรือทองคำสีเขียวที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันมหาศาลทางระบบนิเวศ ทำให้สาหร่ายทะเลถูกคุกคาม

สาเหตุที่ทำให้สาหร่ายทะเลได้รับความนิยมสูง เพราะสามารถนำไปผลิตสินค้าได้มากมายตั้งแต่ไอศกรีมไปจนถึงอาหารเสริม และเครื่องสำอาง รวมไปถึงสีย้อมผ้า พลาสติก ตลอดจนใช้ทดแทนเจลาติน อีกทั้งสาหร่ายทะเลยังได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนที่กินอาหารมังสวิรัติ, อาหารเจ และผู้คนที่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุผลทางศาสนาและสุขภาพ

ปัจจุบันชิลี กลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสาหร่ายรายใหญ่ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปเอเชีย รวมถึงจีน ญี่ปุ่น และไทย แต่ความต้องการสาหร่ายทะเลหรือทองคำสีเขียวที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันมหาศาลทางระบบนิเวศ ทำให้สาหร่ายทะเลถูกคุกคาม