ส่งออก“ทองคำ”ไทยขยายตัว

13 / 08 / 2562 11:50

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รายงานสถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีไทยในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2562 ว่าสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี นี้ คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป ในสัดส่วนร้อยละ 46.89 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 40.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2561

การส่งออกทองคำที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากการส่งออกเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา เนื่องด้วยราคา ทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับราคาเฉลี่ย 1,359.04เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในเดือนมิถุนายน ซึ่งส่งผลให้การส่งออกในเดือนมิถุนายนสูง กว่า 3.17 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม โดยราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นนั้น ได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงิน เหรียญสหรัฐ หลังจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ส่งสัญญาณจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปีนี้แน่นอน และสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน รวมถึงความวิตกกังวลต่อข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเม็กซิโกและจีน ที่อาจจะลุกลามไปทั่วโลกจนส่งผลกระทบ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้เกิดแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุนในตลาด รวมถึงกองทุน SPDR Gold Trust กองทุนรายใหญ่ของโลกที่เข้าซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้นกว่า 16 ตัน

ส่วนสินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คือเครื่องประดับแท้เป็นคิดเป็นด้วยสัดส่วนร้อยละ 23.62 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมหดตัวลงร้อยละ 10.31 โดยการส่งออก
- เครื่องประดับเงิน ลดลงร้อยละ 19.79 เนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ตลาด
ที่ครองส่วนแบ่งรวมกันกว่าครึ่งหนึ่ง ออสเตรเลีย และฮ่องกง ที่อยู่ในอันดับ 4 และ 5 ที่ล้วนหดตัวลงร้อยละ 19.64, ร้อยละ 22.31, ร้อยละ 39.57 และร้อยละ 24.48 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังจีน ซึ่งอยู่ในอันดับ 3 ยังคงเติบโตได้ร้อยละ15.16
- เครื่องประดับทอง ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.49 จากการส่งออกไปยังฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และ
สวิตเซอร์แลนด์ ตลาดในอันดับ 1, 2 และ 4 ได้ลดลงร้อยละ 11.79, ร้อยละ 14.15และร้อยละ 20.04 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร ที่อยู่ในอันดับ3 และ 5 ขยายตัวได้ร้อยละ 1.69 และร้อยละ 40.09ตามลำดับ
- เครื่องประดับแพลทินัม ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังญี่ปุ่น สหราช
อาณาจักร และสิงคโปร์ ตลาดในอันดับ 1, 3 และ 5 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.55,ร้อยละ 27.52 และร้อยละ 47.55 ตามล าดับ สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และฮ่องกง ที่อยู่ในอันดับ 2 และ4 ลดลงร้อยละ 9.27 และร้อยละ 56.19 ตามลำดับ
พลอยสีเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ11.17 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ โดยรวมของไทย  เพชร เป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญในอันดับ 4 ใน สัดส่วนร้อยละ 11.04 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.54  และครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 2.84 และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6.39 จากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างลิกเตนสไตน์ และสิงคโปร์

ส่วนตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยมีมูลค่าสูงสุดในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์สหรัฐเมริกา และอินเดีย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)