สวิตเซอร์แลนด์คุมเข้มนำเข้าทองคำ

13 / 08 / 2562 11:54

สวิตเซอร์แลนด์ออกมาตรการตรวจสอบแหล่งที่มาของทองคำจากนอกประเทศและการนำเข้าทองคำเพื่อให้แน่ใจว่าทองคำที่นำเข้าประเทศนั้น ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการผลิต 

สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในตลาดทองคำระหว่างประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำและตลาดทองคำrecycled  นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำเข้าและส่งออกทองคำมากที่สุดในโลก โดยในปี ค.ศ. 2017 สวิสนำเข้าทองคำปริมาณ 2,404 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า69.6 พันล้านฟรังก์สวิต และส่งออกทองคำปริมาณ 1,684 ตัน มูลค่า 66.6 พันล้านฟรังก์สวิต

รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำข้อตกลงในระดับชาติและนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมทองคำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าทองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการผลิตเข้าสู่ประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทองคำของสวิสถือได้ว่ามีความเข้มงวดมากที่สุดประเทศหนึ่ง เช่น ข้อกฎหมาย Precious Metals Control Act และ Anti-Money Laundering Act

ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการบิดเบือนแหล่งที่มาของทองคำภายในรายงานของสภาแห่งชาติได้มีการแนะนำมาตรการเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความโปร่งใสและระบบการค้าทองคำแก่รัฐบาลกลาง โดยระบุว่า การเปิดเผยแหล่งที่มาของแร่หินมีค่าและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นหนทางเดียวที่จะป้องกันการนำเข้าทองคำจากเหมืองแร่ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าสู่ประเทศได้ นอกจากนี้ สภาแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ยังได้แนะนำให้เพิ่มบทบาทของผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม และขยายความร่วมมือในการผลิตทองคำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ในแต่ละปีมีทองคำบริสุทธิ์ถูกส่งไปสกัดเป็นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กว่า 2 ใน 3 ของจำนวนทองคำทั่งโลก สวิตเซอร์แลนด์จึงเป็นเสมือน “เมืองหลวงของทองคำ” มีบริษัทผลิตทองคำที่มีคุณภาพมากที่สุดในโลกหลายแบรนด์ เช่น “PAMP” ผู้ผลิตทองคำยักษ์ใหญ่  ซึ่งชื่อ “PAMP” หมายถึง “Artistic Precious Metals Products” หรือ “งานศิลปะบนโลหะอันทรงคุณค่า” ซึ่งรังสรรค์ “งานฝีมือ” จากทองทุกชิ้น ด้วยดีไซน์ ลวดลายที่งดงาม ด้วยฝีมือช่างมืออาชีพ ทองคำของ PAMP มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.99% ตามมาตรฐาน LBMA (London Bullion Market Association) หรือ ตลาดทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก