จอกกาลิกส์ เงินกะไล่ทอง มรดกแห่งความสำพันธ์คริสค์จักรในสยาม

27 / 11 / 2562 15:29

ในพิธิมิสซา หรือการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่สนามศุภชลาศัยและอาสนวิหารอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2562  สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้นำจอกเก่าแก่ใบหนึ่งหรือที่เรียกว่าจอกกาลิกส์ ออกมาให้สมเด็จพระสันตะปะปาฟรานซิสใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งจอกใบนี้มีประวัติความเป็นมามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางจิตใจต่อคริสตศาสนิกจนคาทอลิกในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง

ถ้วยเล็ก ๆ ที่มีก้านยาวเชื่อมต่อระหว่างตัวถ้วยกับฐานรองใบนี้ คือ จอกกาลิกส์ หรือ ถ้วยใส่เหล้าองุ่นเพื่อรำลึกถึงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ ซึ่งจากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าจอกใบนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพระสังฆราชฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัว มิชชันนารีฝรั่งเศสคนสำคัญที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 173 ปี

จอกกาลิกส์ นี้ถูกผลิตขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1846 หรือช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้ที่ชื่อโชเซฟ พิลลิปป์ เดอล์ฌอง ซึ่งเป็นช่างเงินที่มีชื่อเสียงของราชสำนักนโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส มีการแกะสลักลวดลายซึ่งเป็นคริสตศิลป์จำนวนมากปรากฏอยู่ ทำจากเงินแท้ทั้งใบ และใช้กรรมวิธีกะไหล่ทอง  คือกรรมวิธีให้เนื้อทองคำซึมเข้าไปในเนื้อเงินด้วยสารปรอท และใช้ความร้อนไล่ปรอทออกมาเพื่อเคลือบจอกด้วยเนื้อทอง เราจึงเห็นบางส่วนของจอกเป็นสีทอง และบางส่วนยังคงความเป็นสีเงินอยู่ ตามลวดลายศิลปะยุคบาโรกที่ใช้การออกแบบจอกกาลิกส์นี้

จอกกาลิกส์มีความสำคัญในพิธีมิสซาเพราะ เชื่อกันว่าเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการถวายบูชามิสซา เมื่อเทเหล้าองุ่นลงไปขณะที่อยู่ในพิธีกรรม เหล้าองุ่นนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นพระโลหิตของพระเยซูเจ้า ซึ่งทุกพิธีมิสซาจำเป็นต้องมีจอกกาลิกส์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเสมอ   
“พิธีมิสซา”คือ พิธีบูชาขอบพระคุณพระเป็นเจ้า (Eucharistic Celebration) เป็นการแสดงออก ซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสต์ศาสนิกชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปมนุษย์ อาศัยพระกายและพระโลหิตที่พระองค์ทรงยอมสละและพลีชีวิต ดังนั้น การร่วมในพิธีมิสซา จึงหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่คริสต์ศาสนิกชนจะขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ ลงมาไถ่บาปของมนุษย์ทุกคน

ส่วนฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ผู้สร้างจอกกาลิกส์  เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส  ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน อีกด้วย

เนื่องในโอกาส 350 ปีมิสซังสยาม คุณค่าจอกกาลิกส์ใบนี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนของความเชื่อที่บรรดามิชชันนารีได้นำเข้ามาสู่มิสซังสยามในหลายร้อยปีก่อน เป็นมรดกที่มิชชันนารีได้มอบให้กับสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเก็บรักษาที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก