8 เหตุผลที่ทำให้ทองคำถูกใช้เป็นทุนสำรอง

07 / 01 / 2563 09:27

ทองคำถูกใช้เป็นทุนสำรองมานานแล้ว ปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำไว้ประมาณ 32,000 ตัน ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับเมื่อ 60 ปีก่อน ชี้ให้เห็นว่ามีเหตุผลที่ดีในการเก็บทองคำไว้เป็นทุนสำรอง และนี่คือ 8 เหตุผลที่ทำให้ ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงถือครองทองคำไว้ในฐานะเป็นทุนสำรอง
    1. ความหลากหลาย  ทองคำมีคุณสมบัติหลากหลายในระบบเงินตรา ราคาและมูลค่าของทองคำถูกกำหนดด้วยปริมาณและความต้องทองคำในตลาดโลก แตกต่างจากเงินตราสกุลต่างๆหรือหุ้นของรัฐบาลที่มูลค่าขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐและนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางซึ่งมั่นคงสู้ทองคำไม่ได้ ดังนั้นค่าของทองคำจึงแตกต่างจากค่าของเงินตราสกุลต่างๆ  หรืออัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลต่างๆ 
    2. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ด้อยค่า ไม่ว่าเศรษฐกิจจะอยูในสภาวะใด ทองคำสามารถรักษาค่าของตัวเองโดยสามารถเป็นกำลังซื้อในระยะยาวจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาเป็นทุนสำรองของธนาคารกลาง  ในขณะที่ค่าของเงินในรูปธนบัตรจะหมดราคาในระยะยาวและในระยะสั้น ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอๆ
    3. ความมั่นคงที่เป็นรูปธรรม ในอดีตประเทศต่างๆ ได้วางมาตรการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราที่เลวร้ายที่สุดก็คือการตรึงราคาสินทรัพย์ไว้ทั้งหมด ดังนั้นทุนสำรองประเภทหุ้นต่างประเทศจึงเป็นอันตรายต่อมาตรการดังกล่าวข้างต้น แต่สำหรับทองคำมีอันตรายน้อยกว่ามาก(หากเก็บในที่เหมาะสม)เป็นทุนสำรองประเภทมีไว้เมื่อคราวที่ต้องการ ดังนั้นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและสามารถชำระหนี้ได้  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งทองคำมีคุณสมบัติในข้อนี้
    4. ความจำเป็นที่คาดไม่ถึง  มีสิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้ คือ ไม่มีอะไรแน่นอน เราไม่นรู้ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่รู้ว่าวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั่วโลกจะเกิดขึ้นเมื่อใด และจะมีผลกระทบต่อระบบการเงินระหว่างประเทศทั้งระบบมากน้อยแค่ไหน แต่หากมีทองคำเป็นทุนสำรองไว้จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันได้ ทั้งนี้เพราะทองคำสามารถประกันภัยต่างๆ ในกรณีที่อาจมีวิกฤตการณ์ที่สร้างความหายนะ เช่น  สงคราม  สภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรณีที่ประเทศใหญ่ๆ ที่เป็นลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้  สภาวะเศรษฐกิจถดถอย การคว่ำบาตรทางการค้า และ การถูกถูกคว่ำบาตรจากนานาประเทศ
    5. ความเชื่อมั่น  ประชาชนจะมั่นใจเมื่อทราบว่ารัฐบาลมีทองคำเป็นทุนสำรอง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่คงทนถาวร และไม่ไปเกี่ยวข้องกับสภาวะเงินเฟ้อของธนบัตร ทุกประเทศให้ความสำคัญอย่างเด่นชัดในการสนับสนุนทองคำไว้ในระบบเงินตราของประเทศ  คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐบาลของโลก ได้ยอมรับว่าทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์สำรองของกองทุนได้เพิ่มความมั่นคงพื้นฐานต่อบัญชีงบดุล  เช่นเดียวกับทองคำที่มีต่อบัญชีงบดุลของธนาคารกลางต่างๆ
    6. รายได้  ทองคำสามารถแลกเปลี่ยนเพื่อทำกำไรได้ ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำไม่ค่อยมีใครนึกถึงโอกาสที่ดีที่มีทองคำอยู่ในครอบครอง ทั้งๆ ที่ผลประโยชน์ต่างๆ ของทองคำอาจจะชดเชยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
    7. หลักค้ำประกัน การถือครองทองคำเปรียบเสมือนได้รับเบี้ยประกัน เนื่องจากทองคำสามารถนำไปแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ก่อให้เกิดความหายนะ เช่น สงคราม ความผันผวนที่คาดไม่ถึงของสภาวะเงินเฟ้อ กรณีที่ประเทศใหญ่ที่เป็นลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้    สภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการคว่ำบาตรทางการค้า 
    8. สถานการณ์ภายในประเทศ เป็นตัวกำหนดว่าควรเก็บทองคำไว้เป็นทุนสำรองในปริมาณเท่าใด โดยอัตราเฉลี่ยของประเทศต่างๆทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ ๑๐.๕ %  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีทองคำสำรองอยู่ที่ 154 ตัน

ปัจจุบันหลายประเทศมีการสะสมทองคำเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่สกุลเงินของประเทศตัวเอง และ ลดความเสี่ยงในถือเงินดอลล่าร์ จึงหันมาถือทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น