สมบัติล้ำค่าจากอาณาจักรโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่

17 / 03 / 2563 10:52

เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่มนุษย์รู้จักแร่ธาตุที่ชื่อว่า ทองคำ โดยในสมัยโบราณนั้นทองคำถูกนำมาใช้เป็นเครื่องตกแต่งในพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของความมีอำนาจ และความความรุ่งเรืองของอาณาจักร โดยปรากฏให้เห็นในรูปแบบของเทวรูป สิ่งเคารพบูชา ข้าวของเครื่องใช้ และเครื่องประดับ และนี่คือสมบัติล้ำค่าของมนุยชาติที่ทำจากทองคำและได้ถูกค้นพบในอาณาจักรโบราณต่างๆทั่วโลก

“Muisca Raft” นักโบราณคดีได้ค้นพบแพทองคำ(Muisca Raft) ในถ้ำใกล้ทะเลสาบกัวตาบีตา ทางตอนใต้ของกรุงโบโกตา เมืองหลวงของโคลัมเบีย เมื่อปี 1856 บนแพที่มีรูปสลักเป็นรูปคนซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นกษัตริย์และข้าทาสนับสิบอยู่บนแพทั้งหมดทำจากทองคำ สันนิฐานว่าถูกสร้างขึ้นราวคริสตศักราช 600 – 1,600 พร้อมกับทองคำอีกหลายชิ้น ทำให้ความเชื่อที่ว่าที่นี่เคยเป็นมหานครแห่งทองคำ เอล-โดราโด มีน้ำหนักมากขึ้น

“รูปปั้นเทพีแห่งความรัก”อายุ 2,000 ปีจากอาณาจักรกรีกโบราณ วัตถุโบราณที่ทำจากทองคำ ชิ้นนี้เป็นหนึ่งในจำนวนหลายพันชิ้นที่ถูกค้นพบในหลุมศพของชนเผ่าเร่ร่อนในอัฟกานิสถานเมื่อปี 1978 ซึ่งเชื่อกันว่าน่าถูกขโมยออกมาจากอาณาจักรแบ็กเตรีย(Bactrian อาณาจักรโบราณในเอเชียกลาง มีอำนาจอยู่ในราว 250 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 293)และขยายอำนาจไปสู่อินเดียและจีนจนกระทั่งสิ้นสุดอำนาจลงไปอีก 125 ปีต่อมา (พ.ศ. 418))

“สมบัติจากหลุมศพของนักรบโมเช” นักโบราณคดีได้ปกป้องสุสานแห่งนี้จากพวกโจรล่าสมบัติ ในปี 1987ทำให้พบวัตถุโบราณอายุ 1,500 ปีจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Lord of Sipan” มีทั้งมีดเครื่องประดับ ข้าวของเครื่องใช้และโล่ทองคำ ทั้งนี้โมเชเป็นอารยธรรมโบราณแห่งแรกๆของลาตินอเมริกาหรืออเมริกาใต้ปัจจุบันอยู่ในแถบเทือกเขาแอ็นดีส ประเทศเปรูเป็น และต้นแบบของอารยธรรมอเมริกาใต้โบราณ เช่น นาซคา อินคา เป็นต้น

“จี้ทองคำหุ้มด้วยผ้า”จากศตวรรษที่ 10 ถูกค้นพบเมื่อปี 2014 จากขุมสมบัติกัลโลเวย์  (Galloway เป็นภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของสกอตแลนด์เป็นเมืองทางประติศาสตร์ทิศตะวันตกและทิศใต้ถูกโอบล้อมด้วยทะเล) เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นที่ซ่อนสมบัติของชาวไวกิ้งในสกอตแลนด์

“มงกุฎทองคำ”อายุ 2,000 ปี ของชาวไซเธียนโบราณ ค้นพบครั้งแรกในทศวรรษที่ 1800 โดยจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งต่อมามีการค้นพบเนินสุสานกษัตริย์ของชนชาวไซเธียรอายุกว่า 2800 ปีทางตอนใต้ของไซบีเรียอีกครั้ง คราวนี้พบข้าวของที่ทำจากทองคำอีกกว่า 9000 ชิ้น

“นกทองคำ”ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตกแต่งปลายไม้เท้า คาดว่าถูกสร้างขึ้นในอายธรรม Sinu เมื่อหลายพันปีก่อนที่จะกลายมาเป็นดินแดนของโคลอมเบียในปัจจุบัน

“หน้ากากทองคำ”ของฟาโรห์ตุตันคามุน น้ำหนัก 22 ปอนด์ หนึ่งในวัตถุโบราณที่โดดเด่นและน่าดึงดูดที่สุดเมื่อสุสานของพระองค์ถูกเปิดในปี 1923 และต้องใช้เวลาอีก 2 ปีต่อมากว่าหน้ากากชิ้นนี้จะถูกค้นพบในโลงศพของพระองค์

นี่คือสมบัติล้ำค่าจากอาณาจักรโบราณทั่วโลกที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรื่องและอารยธรรมของมนุษย์ที่มีมาต่อเนื่องหลายพันปี