วิวัฒนาการทองคำกับการเงินโลก

17 / 03 / 2563 11:06

มีการพบทองคำครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1848 บริเวณไร่ของนาย John Sutter ที่แคลิฟอร์เนียร์ จนทำให้ผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมาขุดทองนับแสนคนจนกลายเป็นยุคตื่นทองในเวลาต่อมา และเมืองเล็กๆอย่างซานฟรานซิสโกก็ได้พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมา และทองคำก็เข้ามามีบทบาทต่อสกุลเงินต่างๆทั่วโลกเริ่มจากสหรัฐ

ปี ค.ศ.1,900 สภาคองเกรส แห่งสหรัฐฯ เห็นชอบการหนุนค่าเงินดอลลาร์ด้วยทองคำ จึงตั้ง
มาตรฐานทองคำ หรือที่เรียกว่า Gold Standard ขึ้นมา โดยกำหนดให้ราคาแลกเปลี่ยนทองคำเป็นค่าคงที่ อยู่ที่ 20.67 ดอลลาร์ต่อทองคำหนัก 1ออนซ์

ช่วงปี 1930s (The Great Depression) เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในประธานาธิบดี
Franklin D. Roosevelt แห่งสหรัฐอเมริกาพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยปรับเปลี่ยนราคาแลกเปลี่ยนทองคำเป็น 25.56 โดยปรับเพิ่มเรื่อยมาเป็น34.95ใน ปี 1,933และ35ดอลลาร์ต่อทองคำหนัก 1ออนซ์ในปีถัดมา พร้อมทั้งห้ามการส่งออกทองคำจากสหรัฐอเมริกา ห้ามประชาชนทั่วไป ถือครองทองคำ ทำให้ความต้องการในทองคำลดลงไปมาก 

ต่อมาในยุค 1,960 เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำต่อเนื่อง เงินดอลลาร์ไร้ค่าจนฝรั่งเศสเลือกถือทองคำเป็นเงินทุนสำรองแทนดอลลาร์ และสหรัฐฯเองก็ไม่มีทองคำเพียงพอที่จะรองรับหนี้ต่างประเทศ  ทำให้สถานะ ความมั่นคงทางการเงินของสหรัฐฯ ตกต่ำลงไปมาก

ปี 1,971ประธานาธิบดี Richard M. Nixon ประกาศเลิกรับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำทำให้ความต้องการทองคำมากขึ้น จนในที่สุดสหรัฐอเมริกาต้องประกาศยกเลิกมาตรฐานทองคำ และปล่อยให้ราคาทองคำลอยตัว ทำให้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นจาก 35 ดอลลาร์ต่อทองคำ1ออนซ์ปรับขึ้นไปถึง120ดอลลาร์ต่อทองคำ1ออนซ์

ปลายยุค 1,970s ถึงต้น 1,980s ที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ สูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นถึง 850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากนั้น จนถึงช่วงต้นปี 2,000  หลังการล่มสลายของตลาด Dot Com (หุ้นHi Technolgy)และเกิดเหตุการณ์ 9/11 งบประมาณจำนวนมากของสหรัฐฯถูกใช้จ่ายไปในเรื่องการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ ทำให้การขาดดุลเพิ่ม จนต้องพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาใช้โดยไม่มีทองคำมารองรับ ค่าเงินดอลลาร์จึงอ่อนลงและขาดความน่าเชื่อถือลงไป

หลังปี 2000 ประเทศจีน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นและรัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนถือครองทองคำได้จึงทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากประมาณ 250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปแตะที่1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในปลายปี 2,007

ปัจจุบันทองคำมีบทบาทมากขึ้นในฐานะเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (Gold Investment) เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และปัญหาเศรษฐกิจ  ทำให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนในทองคำแท่งจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา