สกัดโลหะมีค่าจากเครื่องประดับค้างสต็อก ทางรอดจองธุรกิตยุกโควิด-19

30 / 06 / 2563 16:39

ในช่วงวิกฤติการระบาดของCOVID-19 ทำให้ราคาโลหะมีค่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะทองคำแท่งที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย รวมไปถึงโลหะมค่าในอุตสาหกรรมเครื่องประดับอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเงิน แพลทินัม และแพลเลเดียม ในขณะที่ความต้องการเครื่องประดับลดลง ทำให้การสกัดโลหะให้บริสุทธิ์เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ขายเครื่องประดับในปัจจุบัน

สภาทองคำโลก (World Gold Council) รายงานแนวโน้มความต้องการทองคำในไตรมาสที่ 1 ปี 2020  ว่า ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี คือลดลงถึงร้อยละ 39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 ขณะเดียวกันความต้องการเครื่องประดับแพลทินัมก็ลดลงถึงร้อยละ 26 เฉพาะในจีนลดลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 และเครื่องประดับเงินจะลดลงร้อยละ 7

แม้ความต้องการเครื่องประดับลดลงแต่โลหะมีค่ายังมีราคาสูงผู้ขายเครื่องประดับจึงมีโอกาสชดเชยรายได้ที่หายไปด้วยการสกัดโลหะมีค่าจากเครื่องประดับและเศษโลหะที่เหลือจากการผลิต โดยโรงสกัดสกัดโลหะมีค่าเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในออสเตรเลียยังคงทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยพบว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมางานสกัดโลหะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

บริษัท Peter W Beck ในออสเตรเลียที่ได้รับการรับรองจาก London Bullion Market Association (LBMA) และ Shanghai Gold Exchange (SGE) ซึ่งรับสกัดทอง เงิน แพลทินัม และแพลเลเดียม แนะนำให้ผู้ขายเครื่องประดับเริ่มต้นจากการนำสินค้าคงคลังเก่าที่เก็บไว้นานกว่าสี่ถึงห้าปีมาสกัดก่อน ซึ่งจากราคาโลหะมีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน จึงเป็นไปได้ว่ามูลค่าของโลหะมีค่าอย่างเดียวอาจสร้างรายได้กลับมามากกว่าราคา เดิมของสินค้านั้นๆ

ในภาวะวิกฤติปัจจุบัน เมื่อผู้ขายเครื่องประดับเริ่มกลับมาเปิดร้านและผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 กลยุทธ์การสกัดโลหะที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กิจการเครื่องประดับ ตลอดจนช่วยให้กิจการมีโอกาสรอดและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
ยิ่งขึ้นกว่าเดิม
 
ข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)