บิตคอยน์ vs ทองคำ

05 / 03 / 2564 14:53

"บิตคอยน์" เป็น "สกุลเงินดิจิทัล" ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานี้ มีการคาดการณ์กันว่า "บิตคอยน์" จะกลายเป็น safe haven หรือหลุมหลบภัยแห่งใหม่ของนักลงทุน ตีคู่กับ "ทองคำ" ซึ่งการทะยานขึ้นของบิตคอยน์จาก33,099 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 990,000 บาทเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2564 จนมาแตะระดับ50,603 ดอลลาร์ หรือ 1,516,065.88 บาท (คิดด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 29.96 บาท) เป็นครั้งแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นเครื่องยืนยันความร้อนแรงของบิตบิตคอยน์ได้เป็นอย่างดีว่าต่อไปเงินดิจิตอลสกุลบิตคอยน์จะเข้ามามีบทบาทในโลกการเงินอย่างแน่นอน

การพุ่งทะยานเป็นประวัติการณ์ของบิตคอยน์นี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนกระแสหลักและบริษัทต่างๆ เปิดรับ สกุลเงินคริปโตกันมากขึ้น โดยมูลค่าของบิตคอยน์ที่พุ่งขึ้น 67 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลมาจากการที่ นายอีลอน มัสก์ ซีอีโอบริษัท เทสลา ทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อบิตคอยน์ และเตรียมเปิดทางให้มีการใช้บิตคอยน์ในการชำระเงินด้วย ขณะที่บริษัทในสหรัฐฯและผู้บริหารการเงินรุ่นเก่าหันมาให้ความสนใจสกุลเงินคริปโตมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ราวเดือนตุลาคม 2563 PayPal ยักษ์ใหญ่แห่งวงการชำระเงินออนไลน์ได้อนุญาตให้ใช้บิตคอยน์ในการซื้อขายกับบรรดาธุรกิจต่างๆได้มากกว่า 26 ล้านแห่ง และช่วงต้นปี 2563 บริษัท Fidelity ก็ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (SEC) ในการเปิดกองทุนบิตคอยน์ใหม่ ที่ชื่อว่า Wise Origin Bitcoin Index Fund I ในส่วนนักลงทุนที่ไม่ใช่รายย่อยก็สามารถเข้าถึงบิตคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆได้ 

มีการสำรวจพบว่า กว่า 36%ของผู้ลงทุนสถาบันในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ล้วนเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัล และอีก 60% เชื่อว่า สินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในหลักทรัพย์การลงทุนด้านผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าเทรนด์การซื้อบิตคอยน์นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของตลาด ขณะเดียวกันยังพบว่ามีการเปิดกองทุนแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโตเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

บรรดานักวิเคราะห์มองว่า "บิตคอยน์" มีโอกาสแตะถึง 318,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9.5 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2564 นี้

มีผู้สันทัดกรณีตั้งข้อสังเกตการก้าวกระโดดของบิตคอยน์ว่าคล้ายกับทองคำ คือในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ราคาทองคำอยู่ที่ประมาณ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์  แต่ปัจจุบัน ราคาทองคำทะยานมากกว่า 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 57,000 บาท บางช่วงแตะถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ในประเทศไทยก็แตะถึงราคา 30,000 บาท เหตุผลง่ายๆ ที่ทำให้ "ราคาทะยาน" ขนาดนี้ นั่นก็เพราะว่า "มูลค่าทองคำ" เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงภาวะเงินเฟ้อ (inflation hedge) ได้เช่นกัน "บิตคอยน์" ก็กำลังอยู่ในบทบาทนั้นในทศวรรษนี้