เหตุใดแม่น้ำอเมซอนจึง(เหมือน)กลายเป็นทองคำ

01 / 06 / 2564 22:05

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ องค์การนาซ่า (NASA) เผยแพร่รายงานของ Earth Observatory ปรากฏภาพถ่ายภาพดาวเทียมที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2020 โดยนักบินอวกาศ เห็นแม่น้ำอเมซอนที่ไหลพาดผ่าน รัฐมาเดรเดดิโอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู มีสีคล้ายทองคำตลอดสาย โดยสัณนิษฐานว่า อาจเป็นหลุมของเหมืองแร่ทองคำที่ถูกคนงานทิ้งไว้

โดยปกติแล้วหลุมจะถูกซ่อนไม่ให้มองเห็นได้ โดยเฉพาะจากบนสถานีอวกาศนานาชาติ แต่ครั้งนี้อาจเป็นเพราะแสงแดดที่สะท้อนลงไปยังพื้นน้ำ ซึ่งภาพที่ถ่ายได้ครั้งนี้เป็นช่วงแม่น้ำ Inambari โดยมีหลุมจำนวนหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่ถูกตัดไม้ทำลายป่าและมีโคลนเน่าเสีย

การขุดทองเป็นไปอย่างเสรี ในรัฐมาเดรเดดิโอส (Madre de Dios) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู มีพรมแดนติดกับบราซิลโบลิเวีย เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ไม่มีการจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามรายงานของนาซ่า ซึ่งการขุดแร่เหล่านี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญ ของการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสภาพแวดล้อม ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ เช่น การใช้สารปรอทเพื่อสกัดทองคำก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
ในปี 2011 อุตสาหกรรมแร่ทองคำในภูมิภาคนี้ ขยายตัวมากขึ้นนับตั้งแต่การเปิดตัว Southern Interoceanic Highway เนื่องจากทำให้พื้นที่นี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น การเชื่อมต่อด้วยถนนเพียงสายเดียวระหว่างบราซิลและเปรู มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวแต่สิ่งที่เป็นหายนะกว่าคือการทำลายสิ่งแวดล้อมและการตัดไม้ทำลายป่า 

รัฐมาเดรเดดิโอส (Madre de Dios)  เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของลุ่มแม่น้ำอเมซอน มีขนาดเท่ากับ เซาท์แคโรไลนา มีนกมาคอว์  ลิง เสือจากัวร์ ผีเสื้อ butterflies thrive อาศัยอยู่ โดยมีเขตอนุรักษ์ Tambopata ซึ่งรอดพ้นจากการขุดแร่ทองคำ รวมทั้งผืนป่าอีกหลายร้อยตารางไมล์ ซึ่งเต็มไปด้วยป่ารกทึบและต้นไม้ที่มีความอันตราย ราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เหล่านี้ถูกแย่งชิงจากคนนับหมื่นทั่วเปรูที่เข้ามายังอุตสาหกรรมดังกล่าว

ในเดือน ม.ค. 2019 การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า การตัดไม้ทำลายป่าจากเหมืองทองคำในเปรูได้ทำลายพื้นที่ป่าไปถึง 22,930 เอเคอร์ หรือเกือบ 60,000 ไร่ ของป่าอเมซอนในเปรู (1 เอเคอร์ เท่ากับ 2.5 ไร่) และ ในปี 2018 จากการสำรวจของโครงการ Andean Amazon หรือที่เรียกว่า MAAP บันทึกข้อมูลย้อนหลังไปถึงปี 1985 ซึ่งจัดทำโดยศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ Amazonian ของ Wake Forest University พบว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การขุดแร่ทองในในผืนป่าอเมซอนที่ประเทศเปรูเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล มากกว่า 34,000 แห่ง