เหมืองทองแดง Berkeley Pit สวยซ่อนพิษ
05 / 11 / 2564 14:39
ที่เมืองบัตต์ รัฐมอนทานา ( Butte ,Montana) สหรัฐอเมริกา มีเหมืองทองแดงที่ถูกทิ้งร้างชื่อ Berkeley Pit ที่กลายสภาพจากเหมืองทองแดงขนาดใหญ่เป็นแหล่งมลพิษที่อุดมไปด้วย สารหนู แคดเมียม สังกะสี กรดกำมะถัน แม้ภายนอกจะดูสวยงามจนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมได้ก็ตาม
เหมืองทองแดง Berkeley Pit เปิดดำเนินการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยบริษัท Anaconda Copper Mining Company นี้มีความยาวถึง 1 ไมล์ (1,600 ม.) กว้าง0.5 ไมล์ (800 ม.) และความลึกโดยประมาณ 1,780 ฟุต (540 ม.) มีน้ำที่มีความเป็นกรด มากที่ระดับ pH 2.5 ที่ปริมาณมากกว่า 13 ล้านแกลลอ
ภายในปีแรกของการดำเนินการ สามารถขุดเจาะแร่ทองแดงได้ถึง 17,000 ตันต่อวัน และยังสามารถสกัดแร่มีค่าอื่นๆได้อีกไม่ว่าจะเป็น เงิน และ ทองคำ เหมืองทองแดง Berkeley Pit ปิดดำเนินการนาน 27 ปี จึงได้ปิดตัวลง ในปี พ.ศ.2525
หลังปิดตัวเหมืองทองแดง Berkeley Pit ได้กลายเป็นแอ่งยาพิษขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามองที่ผิวน้ำ จะเห็นเป็นสีแดงคล้ายเลือด เมื่อสะท้อนแสงจะดูสวยงามมาก จนมีนักท่องเที่ยวหลายคนยอมสละเงินในกระเป๋าเพื่อเข้ามาสัมผัสความสวยซ่อนพิษของเหมืองทองแดงแห่งนี้
อย่างไรก็ดีเหมือง Berkeley Pit ยังอุดมไปด้วยทองแดง ที่สามารถหลอมรวมและแปรสภาพเป็นโลหะได้ในเวลาอันรวดเร็วเมื่อรวมตัวกับน้ำ โดยสามารถผลิตทองแดงได้ถึง 4 แสนปอนด์ แต่เมื่อเห็นปริมาณสารหนู แคดเมียม สังกะสี และกรดกำมะถันที่ปะปนอยู่ในน้ำ ซึ่งสามารถทำลายระบบย่อยของสิ่งมีชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ก็ทำให้ความคิดที่จะกลับมาทำเหมืองแห่งนี้อีกครั้งก็หมดลงไปทันที มีบันทึกไว้ว่าในปี ค.ศ. 1995 เคยมีฝูงห่านอพยพมาอาศัยอยู่ที่ Berkeley Pit แต่สุดท้ายก็ไม่มีชีวิตรอดแม้แต่ตัวเดียว เพราะทนรับสารพิษที่ซึมเข้าร่างกายไม่ไหว เหลือแต่ซากทิ้งไว้ถึง 342ตัว
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พยายามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการนำแบคทีเรียชนิดใหม่ที่ค้นพบ มาปรับสภาพยาพิษใน Berkeley Pit ให้น้ำเกิดความกระด้าง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสารพิษบางตัวสามารถนำมาปรับเป็นยารักษาและต่อต้านมะเร็งได้ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง