เหมืองแร่ใต้พิภพ ความหวังใหม่ของมนุษย์ด้านสินแร่

09 / 11 / 2564 10:06

นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่กำลังท้าทายกับธรรมชาติ โดยคิดหาวิธีนำแร่ธาตุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดินหลายกิโลเมตรขึ้นมาใช้แทนแร่ธาตุที่ทำกลังจะหมดลงไม่ว่าจะเป็นแร่ทองแดง ลิเทียม สังกะสี เงิน และทองคำ

ศาสตราจอห์น John Blundy แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เสนอทฤษฎีที่เป็นทางเลือกใหม่ในการนำแร่ใต้พิภพมาใช้ โดยระบุว่าแร่ธาตุอโลหะต่าง ๆ ที่เราใช้กันในโลกนั้นล้วนมาจากการประทุของภูเขาไฟในอดีตที่อาจจะเวลาเป็นหมื่นหรือล้านปีก่อน แล้วกระจัดกระจาย และถูกทับถมอยู่ใต้ดิน เพื่อให้เราไปเปิดเหมือง และขุดออกมาใช้

ศาสตราจอห์น John และทีมงาน ได้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นว่าบริเวณที่มีน้ำพุร้อนหรือภูเขาไฟเราจะได้กลิ่นของกำมะถันหรือซัลเฟอร์อยู่เสมอ  ซึ่งก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิด จะมีก๊าซกำมะถันที่มีความเข้มข้นสูงพ่นออกมาก่อน และระหว่างที่ก๊าซดังกล่าววิ่งผ่านปล่องภูเขาไฟด้วยแรงดันสูงนั้น ก็จะทะลุทะลวงผ่านร่องหินร่องดินทั้งเล็กใหญ่ ที่อาจจะมีน้ำเกลือหรือ brine กักตัวอยู่ ในน้ำเกลือดังกล่าวจะมีแร่ธาตุหลายประเภทที่สะสมอยู่ ก๊าซกำมะถันเข้มข้นก็จะทำปฏิกิริยาเคมีกับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ฝังตัวอยู่ในน้ำเกลือแล้วฟอร์มตัวเป็นสินแร่ ซึ่งในกรณีนี้เราก็จะได้ สินแร่ทองแดงในรูปของ copper-sulfide ore นั่นเอง

นั่นหมายความว่าเรามีสินแร่ต่าง ๆ ในรูปของของเหลวหรือ brineกระจัดกระจายอยู่ใต้พื้นโลกที่ใกล้ ๆ ภูเขาไฟอยู่เป็นจำนวนมาก ทางอาจารย์จอนและทีมจึงได้ทำการพิสูจน์โดยเข้าสำรวจภูเขาไฟทั้งที่ยังคุกรุนอยู่และที่มอดไปแล้วกว่า 40 แห่ง เช่น ฟูจิ ในญี่ปุ่น เซนต์ เฮเลนส์ ในสหรัฐอเมริกา ในฟิลิปปินส์ ในนิวซีแลนด์ ในโบลิเวียและประเทศอื่น ๆ ปรากฏว่า มีพื้นที่ที่มีคุณสมบัติในการนำกระแสไฟ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 กิโลเมตรใต้พื้นโลก และพบว่ามีสถานะเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง และเมื่อนำหินที่ความลึกดังกล่าวมาวิเคราะห์เพิ่มเติม ก็พบว่าก้อนหินนั้นมีทั้งธาตุทองแดง ลิเทียม สังกะสี เงิน และทอง ในสัดส่วนที่สูงจึงมีความคิดว่าแทนที่จะรออีกหมื่นปีหรือล้านปีกว่า ให้ภูเขาไฟระเบิด เพื่อนำพาแร่ต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นมา ทำไมเราไม่ทำการสูบมันขึ้นมาเหมือนที่เราขุดเจาะน้ำมัน

จากทฤษฎีนี้ หมายความว่า จะต้องทำการเจาะพื้นผิวโลกลึกลงไปกว่าการขุดเจาะน้ำมัน( 2 กิโลเมตร) และเครื่องมือต้องทนต่อความร้อนที่ 400 องศาเซลเซียส ความร้อนที่ลาวาและทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในสภาพเป็นของเหลว และยังต้องดึงของเหลวหรือ super salty brine ที่มีความเข้มข้นกว่าน้ำทะเลเป็น 10 เท่าซึ่งหมายถึงความหนืดและการกัดกร่อนต่ออุปกรณ์ต่างๆ

มีความเป็นไปได้ว่า นอกจากที่เราจะเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันในมหาสมุทรแปลงสภาพเป็นแท่นของกังหันลมขนาดใหญ่แล้ว เรายังอาจจะเห็นเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันกลายเป็นการขุดเจาะน้ำเกลือเค็มพิเศษ (super salty brine) ที่นำแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย