เบสชิ…จากเหมืองทองแดงสู่แหล่งท่องเที่ยวของญี่ปุ่น

09 / 11 / 2564 10:08

ในช่วงยุคเอโดะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ของโลก โดยการดำเนินงานของ บริษัทซูมิโตโม ภายใต้ชื่อทางการค้า Izumiya โดยเริ่มจากการค้าทองแดงก่อนขยายการค้าไปยังธุรกิจเส้นด้าย น้ำตาล และยา และเจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่กล่าวขานว่า "ไม่มีใครในเมืองโอซาก้าสามารถแข่งขันกับ Izumiya ได้"

อิสุมิยะ (zumiya))ก็ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเหมืองทองแดงและเปิดเหมืองทองแดง Besshi หลังจากได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโชกุนโทคุกาวะ (Tokugawa) ในปี 1691 เหมืองทองแดง Besshi ได้ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลา 283 ปี และกลายเป็นหัวใจหลักของธุรกิจของบริษัทซูมิโตโม

ในช่วงของการเปิดเหมืองทองแดง Besshi  ได้รับผลกระทบจากราคาทองแดงตก ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงความวุ่นวายของการฟื้นฟูในยุคสมัยเมจิ ทำให้เหมืองต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงิน เพื่อเอาชนะปัญหานี้ ไซเฮ ฮิโรเสะ (Saihei Hirose ปี 1828-1914) ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของเหมืองได้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของเหมืองให้เป็นแบบสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีจากตะวันตกมาใช้ และประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตเป็นอย่างมาก

หลังปิดตัวลงเหมืองทองแดง Besshi  ถูกทิ้งร้างไปช่วงหนึ่งจนซูมิโตโม กรุ๊ป (Sumitomo Group) ได้ร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์แห่งนี้ เพื่อสืบสานความสำเร็จของเหมืองแร่ทองแดงเบสชิ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เหมืองแร่ทองแดงที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นหลัง

การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ใช้ประโยชน์จากความชันของภูเขาและบางส่วนของพิพิธภัณฑ์อยู่ใต้พื้นดิน พิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยพื้นที่ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของซูมิโตโมกรุ๊ป ณ เหมืองแร่ทองแดงเบสชิ เทคนิคและการใช้ชีวิตของพนักงาน ผู้เยี่ยมชมยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตในขณะนั้นอีกด้วย บนหลังคาของพิพิธภัณฑ์มีการปลูกต้นอาซาเลีย ซัตสึกินับหมื่นต้นเพื่อระลึกถึงการเปิดเหมืองแร่ทองแดงเบสชิ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ดอกไม้เหล่านี้จะบานสะพรั่ง ทำให้ผู้มาเยือนได้เพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์อีกแบบหนึ่ง