บทความทั้งหมด

25/12/2562

ต่างชาติยืนยัน กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานครแห่งทองคำ (ตอนที่ 2)


เรื่องราวความรุ่งเรืองของอาณาจักกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวยุโรป แม้แต่ลาลูแบร์ ราชทูตจากฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และอยู่เมืองไทยเป็นเวลา 3 เดือน 6 วัน ก็ยังได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือจดหมายเหตุของเขาเกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำในพระนครศรีอยุธยาไว้ว่า“ไม่มีประเทศใดจะมีชื่อเสียงในความสมบูรณ์ทางแร่มากกว่าชาวสยาม ดังจะเห็นได้จากพระพุทธรูปและเครื่องโลหะหล่อจำนวนมหาศาล และเช่นเดียวกัน เขาสกัดทองคำได้จำนวนมาก ซึ่งมิใช่จะใช้ประดับพระพุทธรูปที่มีอยู่จำนวนมากมายเหลือคณานับเท่านั้น อาคารสถานที่ เช่น ฝาพนังห้อง เพดาน และหลังคาโบสถ์ ยังดาดทองอีกด้วย บ่อแร่เก่าพบกันอยู่ทุกวัน แล้วยังมีซากเตาถลุงจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าถูกทอดทิ้งไปเพราะสงครามกับพม่านานมาแล้ว...”ลาลูแบร์ยังได้บันทึกไว้ว่า ในการพระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตฝรั่งเศสชุดก่อนว่า นอกจากจานอาหารจะเป็นทองคำหลายใบแล้ว “สำหรับผลไม้ที่เสิร์ฟ มีบางถาดทำด้วยทองคำ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดให้ทำขึ้นเพื่อต้อนรับนี้ โดยเฉพาะสำหรับ มร.เดอ โชมองค์”จากบันทึกของชาวต่างชาตินั้น จะเห็นได้ว่าทองคำมีอยู่ทั่วไปในอยุธยา เป็นทองคำที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่ได้ซื้อเข้ามาแต่อย่างใดและยังมีเอกสารยืนยันว่าอยุธยาส่งทองคำออกไปขายต่างประเทศด้วยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเอกสารระบุว่า “ในปี 2283 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งทองที่ขุดได้จากบ้านป่ารอน อำเภอบางสะพาน ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 46 หีบ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงแนะนำให้ราชทูตไทยนำผู้เชี่ยวชาญการขุดทองของฝรั่งเศสไปช่วยด้วย”นอกจากนี้ ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระสุพรรณบัฏ ซึ่งเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงมีไปถึงกษัตริย์เมืองอื่นนั้น ก็ยังเขียนไปบนแผ่นทองแทนกระดาษ ตลอดจนเครื่องใช้ในราชสำนักก็นิยมทำด้วยทอง แม้แต่ชาวบ้านตั้งแต่เด็กจนถึงคนแก่ก็นิยมเครื่องประดับที่ทำจากทอง แม้แต่ฟันปลอมก็นิยมทำด้วยทองแม้แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทองคำในสยามก็ยังมีอยู่มากมายดังที่ มิสเตอร์เกรแฮม ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 ได้กล่าวถึงแหล่งทองในสมัยรัตนโกสินทร์ไว้ว่า “ทองคำในทราย มีอยู่เกือบจะทุกลำธารในประเทศสยาม”ปัจจุบัน มีการยืนยันแล้วว่า ในประเทศไทยมีแหล่งทองคำ 76 แห่ง ใน 31จังหวัด มีแร่ทองคำประมาณ 700 ตัน หากสกัดเป็นทองคำบริสุทธิ์แล้วจะมีมูลค่าประมาณ 9 แสนถึง 1 ล้านล้านบาท แหล่งทองที่มีชื่อเสียงและขุดกันมาแต่โบราณ เป็นแหล่งแร่ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ไม่มีแร่ธาตุอื่นเจือปน ขุดขึ้นมาจากดินได้เป็นก้อนโดยไม่ต้องนำไปถลุงก่อน เรียกกันว่า ทองนพคุณ หรือทองเนื้อเก้า ก็คือบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นทองที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ทั้งยังบันทึกไว้ว่า ใน พ.ศ.2289 ผู้รั้งเมืองกุยบุรีได้ส่งทองหนัก 3 ตำลึงไปถวายพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงทรงเกณฑ์คนจำนวนกว่า 2,000 คนให้ร่อนทองที่บางสะพาน ได้ทองคำหนักถึง ๕๔ กิโลกรัม ทรงนำทองนี้ไปแผ่เป็นแผ่นหุ้มยอดมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีขอขอบคุณข้อมูลจากโรม บุนนาค ผู้จัดการออนไลน์

Read More

25/12/2562

ต่างชาติยืนยัน กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานครแห่งทองคำ (ตอนที่ 1)


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรื่อง เนื่องจากมีพ่อค้าวาณิชย์ นักบวช ทูต และชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย เจริญสัมพันธไมตรีและอยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยาจำนวนไม่น้อย บุคคลเหล่านี้แม้จะมาจากชาติที่เจริญก้าวหน้าด้วยสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแต่เมื่อได้มาเห็นปราสาทราชวังของอยุธยา ถึงกับตะลึงในความวิจิตรตระการตาที่ทุกสิ่งอย่างล้วนเหลืองอร่ามไปด้วยทอง จนต้องนำไปเขียนเล่าและพิมพ์เป็นหนังสือออกเผยแพร่ในยุโรปมากมายหลายเล่มโยส เซาเต็น ผู้จัดการบริษัทการค้าของฮอลันดา เป็นหนึ่งในพ่อค้าจากชาติตะวันตกที่มาประจำการอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 8 ปี ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้เขียนบันทึกไว้ใน“จดหมายเหตุโยส เซาเตน” เมื่อ พ.ศ.2179 ความว่า“...พระนครศรีอยุธยานี้จึงเป็นนครที่โอ่อ่า เต็มไปด้วยโบสถ์วิหารซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐๐ และก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารที่สุด โบสถ์วิหารเหล่านี้มีปรางค์เจดีย์และรูปปั้นรูปหล่ออย่างมากมาย ใช้ทองฉาบอยู่ภายนอกสีเหลืองอร่ามทั่วไปหมด เป็นพระมหานครที่สร้างอยู่ข้างฝั่งแม่น้ำ โดยมีผังเมืองวางไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงเป็นนครที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม มีประชาชนหนาแน่น และเต็มไปด้วยสินค้าสิ่งของจำเป็นแก่ชีวิตนำเข้ามาขายจากนานาประเทศ เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ยังไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในแถบนี้ของโลกที่จะมีเมืองหลวงใหญ่โตมโหฬารวิจิตรพิสดารและสมบูรณ์พูนสุข เหมือนกับพระมหากษัตริย์ ณ ราชอาณาจักรนี้...”บันทึกรายวันของ บาทหลวงเดอชัวซีย์ หนึ่งในคณะราชทูตเชอวาเลียร์ เดอ โชมอง ก็ได้ยืนยันความงดงามของกรุงศรีอยุธยาไว้ใน “จดหมายเหตุรายวัน การเดินทางไปสู่ประเทศสยาม” ว่า “...เมื่อออกไปกลางแจ้ง ใครๆก็คงจะต้องเห็นช่อฟ้าหลังคาโบสถ์และยอดพระเจดีย์ซึ่งปิดทองถึง ๓ ชั้น มีอยู่ดารดาษทั่วไปดูออกสะพรั่งพราวตา ข้าพเจ้าไม่ทราบแน่ว่าข้าพเจ้าจะทำให้ท่านนึกเห็นสิ่งงามๆเหล่านี้ไปด้วยหรือไม่ ขอจงเชื่อเถิดว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสิ่งใดที่จะสวยงามยิ่งไปกว่านี้...”ในจดหมายเหตุของนายแพทย์ เอนเยลเบิร์ต แกมเฟอร์ ชาวเยอรมันซึ่งเข้ามากับคณะทูตฮอลันดาในสมัยพระเพทราชา กล่าวไว้ใน “ไทยในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์” ว่า “...ในกรุงมีโบสถ์วิหารอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง มีบริเวณพอสมกับถนนและเต็มไปด้วยสถูปเจดีย์ปิดทองขนาดต่างๆ ความใหญ่โตไม่เท่าโบสถ์ของเรา แต่ความงามภายนอกนั้นยิ่งกว่ามากนัก เพราะมีช่อชั้นหลังคางอนซ้อนสลับกันเป็นอันมาก...ในบรรดาชาติผิวคล้ำแห่งเอเชียทั้งหลาย สยามเป็นราชอาณาจักรอันเกรียงไกรยิ่งใหญ่ที่สุด และราชสำนักนั้นเล่าก็วิจิตรมโหฬารหาที่เสมอเหมือนมิได้...”ส่วนจดหมายเหตุของ นิโกลาส์ แชรแวส ซึ่งร่วมคณะราชทูตฝรั่งเศสของ เชอวาเลียร์ เดอ โชมอง เข้ามาในปี ๒๒๒๘ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ใน “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม” ว่า “...พระที่นั่งองค์ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินอยู่ที่ลานชั้นในสุดเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ทองคำที่ประดิษฐ์ประดับไว้ให้รุ่งระยับ...” ในจดหมายชองบาทหลวง มองเซนเยอร์ เดอ โดลลิแยร์ ที่มีไปถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2292 กล่าวว่า “...ได้มีคนไปพบบ่อทองคำซึ่งมีทองคำอยู่บนพื้นดินใกล้กับเมืองกุย ซึ่งเปนหัวเมืองขึ้นแก่ไทย อยู่ทางทิศตะวันตกอ่าวสยาม ทองคำที่พบคราวนี้มีมากและเป็นทองเนื้อดีด้วย ทองที่ร่อนมาได้ในคราวแรกนั้น พระเจ้ากรุงสยามได้เอาไปหล่อเป็นรูปพระพุทธบาท ทำรูปเหมือนกับพระพุทธบาทจำลองที่สลักในก้อนศิลา ห่างจากกรุงศรีอยุธยาไม่เท่าไรนัก แล้วพระเจ้ากรุงสยามได้โปรดให้เอาทองคำนั้นทำเป็นดอกบัวดอกใหญ่ สำหรับประดับพระพุทธบาทในเวลาแห่...”(ติดตามต่อตอนที่ 2)ขอขอบคุณข้อมูลจากโรม บุนนาค ผู้จัดการออนไลน์

Read More

25/12/2562

ปี 2020 ราคาทองคำทะยานต่อเนื่อง


ตลอดปี 2019 ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 14% โดยหนึ่งในปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขึ้นของราคามาจากการลดดอกเบี้ยของเฟดลง 0.25% ถึง 3 ครั้งในปีนี้ เพราะทุกครั้งที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ย ราคาทองคำจะปรับสูงขึ้นเสมอ เนื่องจากมูลค่าเงินที่ลดลงทำให้นักลงทุนจึงหันไปหาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มั่นคง ยิ่งธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ยและลดค่าเงินลงเท่าใดราคาทองคำก็จะยิ่งปรับสูงขึ้น และนักวิเคราะห์มองว่า เฟดน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไปตลอดปี 2020 ทำให้ราคาทองคำอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไปนักวิเคราะห์จาก Standard Chartered คาดว่าราคาทองคำน่าจะเฉลี่ยอยู่แถว 1,510 เหรียญในช่วงไตรมาสที่ 1/2020 จากนั้นจะขยับขึ้นไปเฉลี่ยแถว 1,570 เหรียญในช่วงไตรมาสที่ 4/2020 สำหรับภาพรวมรายปี 2020 คาดว่าจะเฉลี่ยที่ 1,536 เหรียญนักวิเคราะห์อาวุโสจาก Price Futures Group คาดว่าราคาทองคำจะเฉลี่ยแถว 1,550 เหรียญ สำหรับปี 2020 และมีโอกาสปรับสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แม้อาจจะไม่ปรับขึ้นรุนแรงมากนัก แต่มีโอกาสแตะระดับ 1,700 หรือ 1,800 เหรียญ ภายในต้นปีถัดไปประธาน Phoenix Futures and Options LLC คาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1) อัตราดอกเบี้ย 2) การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และ 3) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยหนุนให้ราคากลับขึ้นไปแถว 1,550 เหรียญ และหากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งประสบความล้มเหลวและกลายเป็นความเสี่ยงในระยะยาว ก็มีโอกาสที่จะเห็นราคาขึ้นไปถึง 1,600 เหรียญทั้งนี้ธนาคารรายใหญ่ๆทั่วโลกได้คาดการณ์ราคาทองคำในปีหน้าไว้ดังนี้ ABN AMRO คาดว่าราคาอาจลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นปี ก่อนที่จะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงThe Dutch bank คาดว่าราคาจะเฉลี่ยอยู่ที่1,500 เหรียญตลอดปี 2020 โดยจะปรับขึ้นจากระดับ 1,400 เหรียญในช่วงเดือน มีนาคม ขึ้นไปถึง 1,600 เหรียญ ภายในเดือน ธันวาคมTD Securities คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2020 ราคาทองคำจึงมีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 1,650 เหรียญGoldman Sachs ตั้งเป้าหมายราคาทองคำปีหน้าไว้ที่ 1,600 เหรียญCommerzbank คาดราคาแตะ 1,550 เหรียญภายในไตรมาสที่ 4/2020 และเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยภายในไตรมาสที่ 2/2020ทั้งนี้นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs แนะนำให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยงการลงทุนในทองคำเพิ่มขึ้น โดยมั่นใจว่า ทองคำมีโอกาสเด้งขึ้นไปแตะระดับ 1,600 เหรียญฯได้ภายในปี 2020 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คลินิกการลงทุน

Read More

25/12/2562

เหรียญแพนด้าทองคำ


เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2019 ธนาคารกลางของจีน(PBOC) ออกชุดเหรียญทองคำชุด 12 เหรียญรุ่นปี2020 และเหรียญเงินที่ระลึกลายแพนด้ายักษ์สำหรับนักลงทุนและนักสะสม ชุดเหรียญที่ระลึกนี้ด้านหน้าของเหรียญออกแบบเป็นลายพระตำหนักฉีเหนียน ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างสำคัญของหอฟ้าเทียนถานในกรุงปักกิ่ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งของเหรียญเป็นลายแพนด้ายักษ์กำลังกินไผ่หนึ่งในเหรียญทองคำบริสุทธิ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 มิลลิเมตร ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ 99.9% น้ำหนัก 1,000 กรัม มีราคา 10,000 หยวน(ราว 42.000 บาท) เหรียญนี้จะถูกนำไปหมุนเวียนในระบบ 1,000 เหรียญขณะที่เหรียญทองคำธรรมดาแบบอื่นๆมีราคา 10 หยวน 50 หยวน 100หยวน 200หยวน 500 หยวน 800 หยวน 1,500 หยวน 2,000 หยวนส่วนเหรียญเงินบริสุทธิ์แบบธรรมดามีราคา 10 หยวน 50หยวน และ 300 หยวนประเทศจีนออกเหรียญแพนด้าเป็นประจำทุกปี และมักจะจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็วทุกปี โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 1982 ตอนแรกผลิตออกมาเป็นเหรียญทองอย่างเดียว ถัดมาอีกปี ในปี1983 จึงผลิตเหรียญเงินรุ่นแรก เป็นเหรียญเงินขัดเงา ชนิดราคา10 หยวน ขนาด 38.6 mm.จำนวนการผลิต 10,000 เหรียญปี1989 มีการผลิตเหรียญเงินธรรมดาชนิดราคา 10 หยวน ขนาด 40 mm. จำนวนการผลิต เพิ่มขึ้นเป็น 255,000 เหรียญ เพิ่มเติมจากเหรียญทองที่ผลิตมาอย่างต่อเนื่องทุกปี หรียญทองและเหรียญเงินแพนด้าเป็นที่นิยมของนักสะสมทั่วโลก เพราะแพนด้าเป็นสัตว์ที่น่ารักและมีชื่อเสียง ประกอบกับการออกแบบหน้าเหรียญที่เปลี่ยนแปลงทุกปี จึงเป็นที่ถูกใจของนักสะสม

Read More

25/12/2562

พิพิธภัณฑ์ศิลปะในนิวยอร์ก ส่งคืนโลงศพทองคำให้อียิปต์


พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เมโทรโพลิแทนในสหรัฐอเมริกาส่งโรงศพทองคำคืนสู่อียิปต์ประเทศเจ้าของที่แท้จริง หลังจากที่มันถูกขโมยออกไปจากเมืองมินยา (Minya) ทางตอนใต้ของอียิปต์ในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริง เมื่อปี 2554โลงศพทองคำ นี้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemaic Dynasty) อายุราว 2,100 ปี เป็นโลงที่ใช้บรรจุร่างของเนดเจมอังก์ (Nedjemankh) ซึ่งเป็นนักบวชประจำเทพเจ้าเฮรีเชฟ (Heryshef) หรือเทพหน้าแกะ แห่งเมืองเฮราเคลโอโปลิส โลงศพนั้นมีขนาดไม่ใหญ่นัก ตัวโลงตกแต่งอย่างประณีตด้วยทองคำ มีอักษรอียิปต์โบราณจารึกอยู่โดยรอบและรอบๆประดับด้วยอัญมณีหลายชนิดทั้งคริสตัลสีดำ งาช้าง และไพฑูรย์ เจ้าหน้าที่เผยว่าหลังจากถูกขโมยออกไป โลงศพทองคำถูกลักลอบขนผ่านหลายประเทศโดยเครือข่ายค้าโบราณวัตถุ ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เยอรมนี และฝรั่งเศส กระทั่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนในนิวยอร์ก ซื้อต่อไปจากพ่อค้าผลงานศิลปะในกรุงปารีส เมื่อปี 2560 ในราคาราว 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 122 ล้านบาท โดยไม่ทราบว่าโลงศพนี้ถูกขโมยไป แล้วนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของอียิปต์จะแสดงหลักฐานว่าเอกสารประวัติความเป็นเจ้าของนั้นถูกปลอมแปลง เพราะแท้จริงแล้วมันถูกลักลอบมาโดยผิดกฎหมายพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนจึงส่งคืนโรงศพทองคำคืนอียิปต์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ล่าสุด(ตุลาคม) ทางการอียิปต์ได้นำโลงทองคำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อารยะธรรมแห่งชาติอียิปต์ (NMEC) ในกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์เพื่อให้สาธารณชนได้ชม และในปี2020 โลงศพนี้จะถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แกรนด์อียิปต์ (Egyptian Grand Museum) พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน ( Metropolitan Museum of Art) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรล้ำค่าทั่วโลกกว่าสองล้านชิ้นที่มีอายุกว่า 5,000 ปีจากทั่วโลกทั้งที่มาจากยุโรป แอฟริกา และเอเชีย เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอยู่บนพื้นที่กว่าสองล้านตารางฟุต ยาวประมาณ 1 ใน 4ไมล์ ด้วยความงามของอาคารศิลปะโกธิคแบบดั้งเดิม ด้านหน้าตึกและภายในโถงหลักเป็นศิลปะ Beaux-Arts สไตล์ฝรั่งเศส ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกเปรียบเป็นพระราชวังสาธารณะแห่งเมืองนิวยอร์ก เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรก ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872

Read More

25/12/2562

พระมาลาเส้าสูง


ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมพระมาลาเส้าสูง เป็นพระมาลาพับปีกขึ้นด้านข้าง มีสายทองกระหวัดรัดไว้ให้คงรูปทรงสูงทำด้วยสักหลาด รอบองค์ประดับเกี้ยวทองคำลงยาฝังเพชร มีเกี้ยวยอด ด้านข้างประดับขนนกการเวก หรือนกปักษาสวรรค์ ซึ่งมีขนหางสง่างามเป็นพิเศษ ในอดีตแถบทวีปยุโรปนิยมใช้ขนนกการเวกประดับหมวกอย่างแพร่หลาย และมีความเชื่อตามตำนานว่า เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออกปรากฏในป่าหิมพานต์ รวมถึงวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นกกรวิก มีจำนวนมากอาศัยอยู่บนเขากรวิก ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๓ บินได้สูงเหนือเมฆ และมีเสียงร้องที่ไพเราะอย่างยิ่ง หากเสียงนกกรวิกผู้ใดได้ยินได้ฟังไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ จะหยุดนิ่งเหมือนต้องมนต์ทันใดพระมาลาเส้าสูงนี้มีการใช้ในการพระราชพิธีที่สำคัญๆหลายครั้ง เช่นเมื่อคราพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังจากที่ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคจากพระบรมมหาราชวังไปถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎแล้วทรงพระมาลาเส้าสูงเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเข้าวัด เนื่องด้วยตามโบราณราชประเพณีจะไม่ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎเข้าในพระอาราม ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมาลาเส้าสูงสีเขียวในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระองค์ทรงพระมาลาเส้าสูงในกระบวนเสด็จโดยมิได้ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎแต่อย่างใด นอกจากพระมาลาเส้าสูง ที่ทรงใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อแสดงพระเกียรติยศและเป็นเครื่องราชูปโภคแล้ว ก็ยังมีพระมาลาเบี่ยง เป็นอีกหนึ่งในเครื่องราชูปโภคหมวดเครื่องพิชัยสงคราม แต่มิได้ใช้ทรงแต่อย่างใดเพียงตั้งไว้บนพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับพระราชอาสน์ทอดเครื่องราชูปโภคเรือ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมารประทับที่กราบเรือพระที่นั่งด้านขวาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ส่วนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาโดยเสด็จประทับพระเก้าอี้ทอดเครื่องพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าประทับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ตามเสด็จในขบวนพยุหยาตราทาง ชลมารคด้วย

Read More

25/12/2562

โรงกษาปณ์แคนาดา เปิดตัวเหรียญทองคำรุ่นใหม่


โรงกษาปณ์แคนาดา เปิดตัวเหรียญรุ่นใหม่สำหรับนักสะสมผลิตขึ้นจากทองคำและเงินแท้ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เปิดทำการเมื่อ 43 ปีที่ผ่านมา เหรียญสะสมรุ่นพิเศษนี้เป็นการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวินนิเพ็กและออตตาวาของโรงกษาปณ์แคนาดาเพื่อเชิดชูเหรียญกษาปณ์ใบเมเปิ้ล ผลงานเหรียญทองคำอันโด่งดังระดับโลกของโรงกษาปณ์แคนาดานั่นเองเหรียญสะสมรุ่นใหม่มีหลายราคา โดยเหรียญเงินรุ่น Silver Maple Leaf ราคาหน้าเหรียญ 5 ดอลลาร์ส่วนเหรียญทองคำแท้รุ่น Gold Maple Leaf ราคาหน้าเหรียญ 50 ดอลลาร์ พร้อมสลักเครื่องหมาย 'W'ของสาขาวินนิเพ็ก เหรียญด้านหนึ่งปรากฏให้เห็นลายใบชูการ์เมเปิล ผลงานการออกแบบของวอลเตอร์ ออตต์ ผิวเหรียญขัดด้าน เหรียญรุ่นใหม่นี้ระบุเลขปี 2020 ผลิตขึ้นในจำนวนจำกัดเพียง 10,000 ชิ้นสำหรับเหรียญเงิน และ 400 ชิ้นสำหรับเหรียญทองคำสำหรับเหรียญสะสมรุ่นอื่น ๆ ของโรงกษาปณ์แคนาดายังมีอีกหลายรุ่นได้แก่ • เหรียญเงินเกรดดีราคาหน้าเหรียญ 30 ดอลลาร์ประจำปี 2020 รุ่น Predator and Prey: Snowy Owl and Greater White-Fronted Geese จากตระกูล Golden Reflections ออกแบบโดยดับเบิลยู อัลลัน แฮนค็อก • เหรียญเงินเกรดดีราคาหน้าเหรียญ 25 ดอลลาร์ประจำปี 2020 นูนสูงพิเศษรุ่น Multifaceted Animal Head: Lynx ออกแบบโดยทราเอียน จอร์เกสกู • เหรียญเงินเกรดดีราคาหน้าเหรียญ 3 ดอลลาร์ประจำปี 2019 รุ่น Celebrating Canadian Fun and Festivities – Christmas Tree ออกแบบโดยสตีฟ เฮปเบิร์น และ • เหรียญเงินเกรดดีราคาหน้าเหรียญ 5 ดอลลาร์ประจำปี 2020 รุ่น Birthstones: January ออกแบบโดยแพนดอรา ยัง ผลิตภัณฑ์เหรียญสะสมทั้งหมดสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากโรงกษาปณ์ หรือสั่งซื้อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของทางโรงกษาปณ์ นอกจากนี้เหรียญกษาปณ์ยังมีวางจำหน่ายที่ร้านของโรงกษาปณ์แคนาดาในกรุงออตตาวาและเมืองวินนิเพ็ก เช่นเดียวกับเครือข่ายผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งระดับโลก ซึ่งรวมถึงร้านค้าของไปรษณีย์แคนาดาที่ร่วมโครงการ โรงกษาปณ์แคนาดา (Royal Canadian Mint) โรงกษาปณ์แคนาดาเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (Crown Corporation) ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการผลิตเหรียญกษาปณ์และการจำหน่ายเหรียญหมุนเวียนของแคนาดา เป็นหนึ่งในโรงกษาปณ์ขนาดใหญ่และมีความหลากหลายมากที่สุดในโลก โดยให้บริการผลิตภัณฑ์เหรียญหลายประเภทที่มีความเฉพาะเจาะจงและมีคุณภาพสูง รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องในระดับนานาชาติ

Read More

25/12/2562

งานผ้าลายทองแผ่ลวด


งานช่างผ้าลายทองแผ่ลวด เป็นงานช่างแขนงหนึ่งในหมู่ช่างสนะไทย หรือช่างที่ปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องภูษาอาภรณ์ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเนื่องในสถาบันพระมหากษัตริย์และศาสนา ไม่นิยมใช้กับสามัญชน ได้แก่ ฉัตรเครื่องสูงที่ทำด้วยผ้า ตาลปัตรปักลายในรัฐพิธีสำคัญแต่โบราณผ้าม่าน ผ้าดาดหลังคากัญญาเรือพระที่นั่งฯ ธงงอนราชรถ ผ้าดาดหลังคาพระสีวิกากาญจน์ ผ้าดาดหลังคาพระวอประเวศวัง เป็นต้นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเรือพระที่นั่ง ที่ปรากฏในงานทองแผ่ลวดที่สำคัญคือเรือพระราชพิธี โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง จะปรากฏงานทองแผ่ลวดที่ผ้าดาดหลังคาพระแท่นกัญญาเรือพระที่นั่ง ผ้าม่าน ผ้าหน้าโขนเรือ ฉัตร ธงสามชาย และในขบวนเรือพระราชพิธี ก็จะใช้ผ้าลายทองแผ่นลวดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะแตกต่างกันก็จะดูที่ลวดลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานานุศักดิ์ ชั้นยศ ของผู้ใช้เรือในขบวนเรือ เช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เรือทองขวนฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรืออีเหลือง เรือแตงโม จะทำผ้าลายทองแผ่ลวดดาดหลังคาคฤห์ และกัญญาเรือ และผ้าโขนเรือ เป็นต้น งานช่างผ้าลายทองแผ่ลวด คือ การที่ผู้มีความชำนาญในงานฝีมือหลายแขนงมารวมตัวกันสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่มีขั้นตอนกระบวนการสร้างงาน ตั้งแต่การออกแบบลวดลาย นำมาตอก ฉลุ กางแผ่ต่อเป็นผืนใหญ่นำไปปิดด้วยทองคำเปลว และประดับกระจก แล้วเย็บตรึงลวดลาย โดยใช้ด้ายเส้นใหญ่เดินเส้นไปตามแบบตัวลายเป็นเส้นลวด และใช้ด้ายเส้นเล็กเป็นการเย็บตรึงตามลวดลายให้ติดแน่นบนผืนผ้า ผ้าลายทองแผ่ลวด แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติที่สืบทอดกันมายาวนาน ปัจจุบันการสืบทอดกระบวนการงานช่างผ้าลายทองแผ่ลวด ดำเนินงานโดยสำนักช่างสิบหมู่ร่วมร่วมกับบุคลากรภายในหน่วยงาน ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และยังมีการจัดฝึกอบรมให้กับบุคคลทั่วไปเพื่อสืบทอดวิธีการ กระบวนการทำงาน อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายช่าง เมื่อมีการดำเนินงานซ่อมงานผ้าลายทองแผ่ลวดเมื่อใดก็สามารถดึงกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความสามารถมาทำงานร่วมกันได้อย่างไรก็ดีการถ่ายทอดความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานช่างฝีมือผ้าลายทองแผ่ลวดนับวันจะเป็นเรื่องยากลงไปทุกขณะ เนื่องจากการสร้างงานมีกระบวนการขั้นตอนที่มีความซับซ้อนมีส่วนละเอียดอ่อน และเป็นงานที่มีการใช้งานในวงจำกัดหรือนานๆครั้ง ทำให้ช่างผ้าลายทองแผ่ลวดไม่มีโอกาสในการฝึกปรือฝีมือ และหากจะลงทุนปฏิบัติเองก็ต้องใช้งบประมาณสูง คาดว่าในอนาคตงานประณีตศิลป์แขนงนี้อาจจะขาดช่วงหรือสูญหายจากสังคมไทยก็เป็นได้

Read More

25/12/2562

พระที่นั่งพุดตานวังหน้า


พระที่นั่งพุดตานวังหน้า ทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจก สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระที่นั่งพุดตานวังหน้า มีรูปทรงใกล้เคียงกับพระที่นั่งพุดตานทองหรือพระที่นั่งพุทธตาลกาญจนสิงหาสน์ของวังหลัง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5พระที่นั่งพุดตานวังหน้าใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระมหาอุปราช โดยมีหลักฐานคือพระฉายาลักษณ์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานวังหน้า ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชแล้ว โปรดเกล้าฯพระราชทานพระที่นั่งพุดตานวังหน้าให้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ดังปรากฏหลักฐานทั้งภาพถ่ายและจดหมายเหตุ ว่าในพระราชพิธีลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธย พ.ศ. 2429 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร ทรง “พระที่นั่งพุดตานฝ่ายพระราชวังบวร คนหาม 30” นอกจากนี้ พระที่นั่งพุดตานวังหน้ายังมีหลักฐานการใช้งานอื่นๆเช่น หลังพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ในช่วงเช้าวันที่ 30 มกราคม 2444 แล้ว เวลาบ่าย 5 โมงเศษ เสด็จประทับ “พระที่นั่งพุดตานในพระราชวังบวร” ในกระบวนแห่ ด้วยเหตุที่ภายหลังยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วนั้น พระที่นั่งพุดตานวังหน้า ใช้เป็นพระราชยานสำหรับพระราชกุมารหลายคราว จึงมีการเพิ่มเตียงลา (สำหรับก้าวขึ้นลง และใช้วางพระบาท) ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และ “เตียงลา 2 ชั้น” นี้เองที่ปัจจุบันใช้จำแนกความแตกต่างระหว่าง “พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์” กับ “พระที่นั่งพุดตานวังหน้า”นอกจากนี้พระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นธรรมเนียมที่สำนักพระราชวังจะเชิญพระที่นั่งพุดตานวังหน้า จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ไปใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่7 พระพุทธรูปซึ่งอัญเชิญมาเป็นประธานในการพระราชพิธีทั้งนี้นามพระที่นั่งพุดตานเป็นนามเก่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เนื่องจากได้พบขื่อพระที่นั่งสัปคับพุดตานทองอยู่ในกระบวนแห่เพ็ชรพวง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ช่างเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อนุมานว่านามพระที่นั่งพุดตานอาจมีที่มาจากลายที่ทำขึ้นในพระที่นั่งสัปคับพุดตาน สันนิษฐานว่าเป็นลายอย่างจีนมีต้นแบบมาจากลายเครื่องถ้วยที่มีเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือมีที่มาจากแผ่นรูปกระจังขนาดใหญ่ซึ่งประดับอยู่สองข้างพระที่นั่ง พุดตาน โดยทรงยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบจากพัดพุดตาน ว่ามีรูปร่างอย่างดอกบัวแท้ๆ แต่ก็เรียกว่า พัดพุดตาน ดังนั้นลายประดับรูปกระจังดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้เรียกพระที่นั่งพุดตานก็เป็นได้ พระที่นั่งพุดตานกรุงรัตนโกสินทร์มี 3 องค์เป็นพระที่นั่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินใช้ในพระบรมมหาราชวัง 2 องค์ และสำหรับพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช้ในฝ่ายพระบวรราชวัง 1 องค์ คือ1. พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ 2. พระที่นั่งพุดตานถม 3. พระที่นั่งพุดตานวังหน้า

Read More

25/12/2562

เมื่อเพชรไม่ใช่ตัวเลือกแรกสำหรับคู่แต่งงานอีกต่อไป


ในแวดวงผู้ค้าเครื่องประดับและแบรนด์ชั้นนำลงความเห็นตรงกันว่ารสนิยมในการเลือกแหวนหมั้นและแหวนแต่งงานของคู่รักยุคใหม่กำลังเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เพชรสีขาว ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเหมือนที่ผ่านมา แต่กลับพบว่ามีคนถามหาพลอยสีเพื่อใช้ในแหวนหมั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่แซปไฟร์ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เช่นเดียวกับทับทิม เพชรกาแล็กซี(เพชรสีขาวซึ่งภายในมีมลทินสีดำ) หรือแม้แต่ทองคำสีเหลือง ทองกุหลาบ หรือแหวนจากทองคำ 9 กะรัต ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าคู่แต่งงานหันมาสนใจแหวนแต่งงาน หรืออัญมณีที่แปลกใหม่และมีรูปทรงหลากหลายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความรักอันมีเอกลักษณ์ของตนเองมากกว่ามูลค่าของเพชรเหมือนในอดีตแหวนแต่งงานเป็นสิ่งของสำคัญสำหรับคู่รัก มีหลายราคาหลายระดับขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละคู่ จากอดีตที่แหวนเพชรสีขาวบริสุทธิ์คือสุดยอดของแหวนแต่งงาน แต่ทุกวันนี้บางคนอาจเลือกแหวนแต่งงานน้ำหนักเบาแบบธรรมดาที่ทำจากทองคำ 9 กะรัตที่มีราคาขายปลีกเพียง 150 ดอลลาร์ หรือบางคู่แต่งงานอาจเฉลิมฉลองความรักของตนเองด้วยเครื่องประดับเฉพาะตัวหรือเครื่องประดับที่เข้าคู่กันที่แสดงให้เห็นถึงรสนิยมและความชอบ เช่นการเลือกใช้แหวนเซอร์โคเนียมสีดำที่ดูทันสมัยในสไตล์แบบคลาสสิกจับคู่กับทองคำที่กลายมาเป็นการผสมผสานวัสดุในแหวนแต่งงานได้อย่างลงตัวดูดีมีระดับเป็นที่ถูกใจสำหรับคู่รักยุคใหม่มากกว่าแหวนเพชรแบบดั้งเดิมนอกจากนี้การใส่แหวนฝังเพชรเม็ดเล็กบนตัวเรือนทองขาวหรือแพลทินัม ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มแหวนสำหรับผู้หญิง ขณะเดียวกันก็เริ่มมีกระแสนิยมแหวนแต่งงานแบบหนามเตยและการกลับมาใช้ทองคำสีเหลืองทั้งในแหวนสำหรับผู้หญิงและผู้ชายอีกด้วยการเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการซื้อแหวนหมั้นและแหวนแต่งงานของผู้บริโภคในช่วงไม่กี่ปีมานี้สะท้อนให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ไม่ยึดติดกับขนมธรรมเนียมการแต่งงานเหมือนก่อน แต่ก็ยังคงเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรักกับการสวมแหวน คนรุ่นนี้จึงต้องการสัญลักษณ์แทนความรักที่สะท้อนเรื่องราวของตัวเองมากกว่าธรรมเนี่ยมปฏิบัติแบบเดิม เจ้าสาวยุคใหม่มักมองหาแหวนที่ไม่ซ้ำซากจำเจ ขณะเดียวกันก็ยังให้คุณค่าทางจิตใจไปพร้อมๆกัน ซึ่งปัจจุบันการซื้อแหวนเป็นการตัดสินใจร่วมกันของคู่แต่งงานและการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่สื่อสังคมออนไลน์มีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเห็นเครื่องประดับสไตล์ต่างๆได้มากกว่าที่เห็นตามร้านเครื่องประดับทั่วไป ในขณะเดียวกัน ผู้ขายเครื่องประดับก็พยายามพัฒนากระบวนการออกแบบและเทคนิคการขายเพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวัง และงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไปของกลุ่มผู้ซื้อในปัจจุบันด้วย

Read More

25/12/2562

ย้อนอดีตเหมืองแร่ทองคำชาตรี ก่อนปิดตัว(ตลอดกาล?)


เหมืองแร่ทองคำชาตรีตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากกรุงเทพมหานครราว 280 กิโลเมตร ดำเนินการโดยบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จกกัด (มหาชน)ได้ยื่นขออนุญาตประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำในบริเวณดังกล่าวจำนวน 4 แปลง ในเนื้อที่รวมประมาณ 1,166 ไร่ ต่อกรมทรัพยากรธรณี ภายใต้ชื่อโครงการ“เหมืองแร่ทองคำชาตรี” และได้รับอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำมีอายุ 20 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 เหมืองแร่ทองคำชาตรีเริ่มการผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ “โครงการชาตรีใต้” โดยมีผลผลิตเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำและเงินแท่งแรกในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 ถูกนำมาแยกและขึ้นรูปเป็นแท่งทองคำและเงินบริสุทธิ์ น้ำหนักแท่งละ 9.0 กิโลกรัม นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2544 หลังจากความสำเร็จในการสำรวจแหล่งทองคำเพิ่มเติมทางบริษัทจึงได้ขอประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่เพิ่มเติมจำนวน 9 แปลง ภายใต้ชื่อ “โครงการชาตรีเหนือ”และได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการเมื่อปี 2551 พร้อมกันนั้นได้ขออนุญาตก่อสร้างโรงงานที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนขยายจากโรงงานเดิม ในปี 2555 ทำให้เพิ่มกำลังการผลิตได้เป็นสองเท่าแร่ทองคำและแร่เงินที่พบในแหล่งแร่ทองคำชาตรี ส่วนใหญ่เกิดอยู่ร่วมกับสายแร่ควอตซ์-คาร์บอเนตซึ่งปรากฏแทรกอยู่ตามรอยแตกและรอยเลื่อนของหินภูเขาไฟที่ถูกแปรสภาพด้วยขบวนการเติมน้ำแร่ซิลิกาสายแร่ดังกล่าวพบได้ตั้งแต่ผิวดินลงไปจนถึงที่ระดับความลึกประมาณ 150 เมตร เม็ดแร่ทองคำและแร่เงินในสายแร่ทองคำมีความละเอียดมากจนไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งผลจากการสำรวจประเมินได้ว่าปริมาณสำรองสินแร่ทองคำมีเงินปะปนอยู่ประมาน 9.8 ล้านเมตริกตัน ความสมบูรณ์ในสินแร่ 1 เมตริกตัน มีแร่ทองคำโดยเฉลี่ย 2.8 กรัม และมีแร่เงินโดยเฉลี่ย 14 กรัม ตลอดอายุการทำเหมืองจะสามารถผลิตทองคำได้ประมาณ 27.7 เมตริกตัน มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท และผลิตโลหะเงินได้ประมาณ 98 เมตริกตัน มูลค่ำประมาณ 600 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรำคำทองคำและเงินในตลาดโลก เหมืองแร่ทองคำชาตรีใช้วิธีการทำเหมืองแบบเหมืองเปิดโดยการขุดเป็นบ่อเหมืองลึกลงไปจากผิวดินในบริเวณที่มีสายแร่ทองคำปรากฏอยู่ บ่อเหมืองมีอยู่ 2 บ่อ ได้แก่ บ่อตะวันซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดพิจิตร และบ่อจันทราซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระยะสุดท้ายของการทำเหมืองบ่อตะวันจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ206 ไร่ ความลึกที่พื้นบ่อประมาณ 150 เมตรจำกระดับผิวดิน ส่วนบ่อจันทราจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 52 ไร่ความลึกที่พื้นบ่อประมาณ 70 เมตรจำกระดับผิวดิน หลังจากการทำเหมืองสิ้นสุดลง บ่อเหมืองทั้งสองจะกลายเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ความจุมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในพื้นที่บริเวณรอบเหมืองลงไปได้ระดับหนึ่งในการสกัดแร่ทองคำนั้น สินแร่ทองคำจากบ่อเหมืองจะถูกนำเข้าเครื่องบดหยาบเพื่อย่อยให้มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร หลังการบดหยาบ สินแร่จะถูกบดอีกครั้งด้วยเครื่องบดละเอียด จนมีขนาดละเอียดกว่า 75 ไมครอนหรือประมาณเม็ดทรายละเอียด หลังจากนั้นลำเลียงไปแช่ไว้ในถังสารละลายไซยาไนด์เป็นระยะเวลาประมาณ 20 ชั่วโมง เพื่อให้ทองคำและเงินที่อยู่ในสินแร่ถูกชะล้ำงออกมาอยู่ในสารละลาย ในเวลาเดียวกันจะใส่เม็ดถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 6x12 เมช เข้าไปเพื่อดูดซับทองคำและเงินเอาไว้ที่ผิว ขบวนการนี้เรียกว่า Carbon-In-Leach (CIL Process) หลังจากนั้นเม็ดถ่านจะถูกกรองแยกออกมาและนำไปใช้ชะล้างทองคำและเงินที่ถูกซับเอาไว้ด้วยสารละลายผสมระหว่างโซเดียมไซยาไนด์ และสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทั้งนี้เพื่อให้ทองคำและเงินกลับไปอยู่ในรูปของสารละลายอีกครั้ง จากนั้นจะจับโลหะทองคำและเงินออกจากสารละลายนี้ด้วยขั้วไฟฟ้าซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Electrowinning Process ใน ขบวนการนี้โลหะทองคำและเงินจะไปจับพอกตัวอยู่ที่ขั้วไฟฟ้าขั้วลบ ซึ่งทำด้วยแผ่นตะแกรงเหล็ก เมื่อมี ทองคำและเงินพอกตัวอยู่ที่แผ่นตะแกรงเหล็กมากในระดับหนึ่งแล้ว ทองคำและเงินที่มีลักษณะคล้ายโคลนจะถูก ชะล้ำงออกจากแผ่นตะแกรงเหล็กและนำไปหลอมพร้อมกับเติมสาเคมีจำพวกตัวช่วยหลอม (Flux) ลงไปเพื่อให้ สิ่งปนเปื้อนในโลหะที่หลอมเหลวแยกตัวออกไปเหลือเพียงโลหะทองคำและเงินเป็นส่วนใหญ่จากนั้นจึงเทโลหะผสมที่ได้ใส่เบ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นจะได้เป็นแท่งโลหะผสมระหว่างทองคำและเงินซึ่งเรียกในทางการค้าว่า“โดเร่” (Dore) จากนั้นนำแท่งโลหะผสมที่ได้นี้ส่งไปทำให้บริสุทธิ์ (Refining) ในห้องปฏิบัติการของเอกชนรายอื่นในกรุงเทพฯหรือในต่างประเทศเพื่อให้ได้เป็นโลหะทองคำบริสุทธิ์ 99.99% และโลหะเงินบริสุทธิ์99.99% ก่อนที่จะทำการจำหน่ายต่อไปกาพัฒนาเหมืองแร่ทองคำชาตรีแสดงถึงความสำเร็จในการค้นพบแหล่งแร่ทองคำที่อยู่ในระดับตื้น ที่มีอยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลได้สั่งยกเลิกการทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่สัมปทานในประเทศไทยทุกแห่งตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 และยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออำยุประทานบัตรทั่วประเทศด้วย จึงทำให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีไม่สามารถดำเนินการผลิตทองคำได้ดังเช่นที่เคยทำในอดีต

Read More

25/12/2562

นอกจากทองคำ คนจีนชอบเครื่องประดับอะไร


นอกจากชาวจีนจะนิยมซื้อหยกและเครื่องประดับทอง เครื่องประดับเพชรและพลอยสีก็กำลังได้รับความนิยมจากชาวจีนเพิ่มขึ้น ที่สำคัญชาวจีนกำลังนิยมสินค้าแบรนด์จากต่างประเทศมากกว่าแบรนด์ในประเทศ และมีแนวโน้มที่จะซื้อเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าเครื่องประดับรูปแบบเดิมๆจีนเป็นผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก แม้ว่าจะสามารถผลิตเครื่องประดับได้เองในประเทศ แต่ชาวจีนชื่นชอบสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศโดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนม และถึงแม้เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในช่วงชะลอตัวลง แต่ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีนยังเติบโตได้จากแรงขับเคลื่อนของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อมากกว่า 300 ล้านคน ทำให้ผู้ประกอบการจีนให้ความสำคัญในการผลิตเครื่องประดับในรูปแบบที่แตกต่าง และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากขึ้นเช่นเทคนิคCNC และ 3D printing เพื่อทำให้เครื่องประดับมีดีไซน์หลากหลาย สามารถผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า ล่าสุดบางบริษัทได้ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนหรือภาพยนตร์ดังแล้วคาร์แรกเตอร์ของตัวการ์ตูนหรือตัวนักแสดงในภาพยนตร์มาผลิตเป็นเครื่องประดับในรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้กระแสการตอบรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างดี เช่น สไปเดอร์แมน กับตันอเมริกา เป็นต้นเป็นที่น่าสังเกตุว่าปัจจุบันชาวจีนกว่าร้อยละ 80 ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยรูปแบบการซื้อขายกำลังจะเปลี่ยนไปจากการซื้อขายผ่านเว็บไซต์ E-Market Place แบบเดิม เป็นการซื้อสินค้าแบบ Live สดกันมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าการขายเครื่องประดับด้วยการ Live สดจะมีมากขึ้นในอนาคต Taobao (เปิดตัวปี 2003 Taobao.com เป็น Mobile Commerce ภายในประเทศจีน ที่ขายสินค้าของ SMEs และ คนทั่วไป ฉะนั้น International Brands ก็จะไม่ได้ขายในนี้) เห็นโอกาสนี้จึงได้พัฒนาฟังก์ชั่น Live Stream ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และได้รับคำสั่งซื้อกว่า 3.3 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นการซื้อขายเครื่องประดับกว่า 50% ของการซื้อขายสินค้าทั้งหมด ทำให้เครื่องประดับขยับขึ้นมาเป็นสินค้าที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 ของเว็บไซต์ ส่วนการขายอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเริ่มนิยมก็คือ การขายสินค้าด้วยการสร้างเรื่องราวผ่านคลิปวีดีโอสั้นๆ ทำให้คนติดตาม สามารถทำรายได้ให้บางบริษัทถึง 100 ล้านหยวน ปัจจุบันผู้ขายบนเว็บไซต์อาลีบาบาได้เริ่มขายสินค้าด้วยคลิปวิดีโอสั้นๆ เพิ่มมากขึ้น นับเป็นช่องทางการขายใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ค้าขายในตลาดจีนส่วนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจีนพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ สมาคมที่เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับจับมือกันอย่างเหนียวแน่นในการร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรม มีการบูรณการร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนที่ต่างออกหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Read More

25/12/2562

สถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับทองและอัญมณีของไทย ปี62


กรมศุลกากร โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ประมวลผลตัวเลขการส่งออกเครื่องประดับทอง เงิน และอัญมณีของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2562 พบว่ามีการเติบโตสูงถึงร้อยละ 34.01 มูลค่า 434,752.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าแสนล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(324,427.47 ล้านบาท)เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 ของไทย แต่เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกเป็นรายผลิตภัณฑ์กลับพบว่าเครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแพลทินัม มีสัดส่วนลดลงตลาดสำคัญของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกลดลงได้แก่ ตลาดฮ่องกง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามการค้า และสถานการณ์การประท้วงที่ยืดเยื้อและเพิ่มความรุนแรง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในฮ่องกงลดลง กระทบต่อร้านค้าปลีกที่ต้องปิดตัวลงหลายแห่ง ส่งผลให้การนำเข้าเพชรเจียระไน และเครื่องประดับทองของไทยลดลง เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ที่สงครามการค้าส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนแอลง เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองซึ่งเป็นสินค้าหลักส่งออกในปีนี้จึงมี มูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 23.82 และร้อยละ 3.86 ตามลำดับ การส่งออกไปยังญี่ปุ่นสินค้าสำคัญหลายรายการไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ล้วนมีมูลค่าการส่งออกลดลงทั้งสิ้น ส่วนการส่งออกไปยังจีนแน่นอนว่าผลกระทบของสงครามการค้ามีผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว การส่งออกเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทองและสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ไปยังประเทศจีนจึงมีสัดส่วนลดลงถึงร้อยละ 23.31 เช่นเดียวกับออสเตรเลีย ตลาดหลักของไทยในหมู่เกาะแปซิฟิกก็มีสัดส่วนการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 26.85 เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นสินค้าหลักลดลง ส่วนสินค้ารองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง ก็หดตัวลงร้อยละ 22.67 การส่งออกไปยังรัสเซียในส่วนของเครื่องประดับเงินที่เคยเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมามีมูลค่าลดลงเกือบเท่าตัว แต่เครื่องประดับทองมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและความไม่มั่นคงในภูมิภาค ผู้บริโภคจึงลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย และเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการสะสมสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่ม อย่างทองคำเพิ่มขึ้น แม้การส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีของไทยในหลายประเทศจะมีสัดส่วนลดลง แต่การส่งออกไปยังอินเดีย อาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลับมีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกไปยังอินเดียสินค้าส่วนใหญ่เป็น เพชรเจียระไน พลอยก้อน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน โลหะเงิน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นราว 1.98 เท่า จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ กัมพูชา และมาเลเซียโดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปยังสิงคโปร์คือ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า รองลงมาเป็นเครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับทอง สินค้าส่งออกไปยังกัมพูชาเป็นเพชรเจียระไน และเครื่องประดับทอง สินค้าส่งออกสำคัญไปยังมาเลเซียคือเครื่องประดับทอง ส่วนการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางก็เพิ่มขึ้นแม้จะไม่มากเพียงร้อยละ 0.95จากการส่งออกไปยังสหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ โดยมีสินค้าสำคัญอย่างเพชร-เจียระไน ส่วนสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทองยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมและทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปีในเดือนสิงหาคม ทำให้ความต้องการเครื่องประดับทองของชาวยูเออีลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี ส่วนการส่งออกไปยังกาตาร์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 จากการส่งออกเครื่องประดับทอง

Read More

25/12/2562

กำไลข้อเท้า ความเชื่อทางวัฒนธรรมที่หายไป


กำไลข้อเท้า จัดเป็นเครื่องประดับชิ้นแรกๆที่ได้รับ หรือมอบให้แก่กันเพื่อเป็นของรับขวัญตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งกำไลแต่ละวงก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสถานะทางสังคม มีทั้งที่ทำจากทองคำ เงิน จนถึงสำริด มีทั้งแบบลวดลายวิจิตรไปจนถึงแบบเรียบๆ ดังปรากฏในบันทึกภาพถ่าย ภาพเขียนหรือเอกสารต่างๆคนสมัยก่อนเชื่อว่าการใส่กำไลข้อเท้าให้เด็กนั้น จะทำให้เกิดความเป็นมงคลได้รับโชคลาภวาสนา นำพาสิ่งดีๆเข้าสู่เด็ก แต่ความจริงอาจเป็นเพียงกุศโลบายของคนโบราณในการเลี้ยงเด็ก เพราะกำไลข้อเท้าเด็กส่วนมาจะมีกระพรวนห้อยอยู่ด้วย เมื่อได้ยินเสียงกระพวนก็จะทำให้พ่อแม่รู้ว่าลูกกำลังหลับหรือตื่น รวมถึงการบอกตำแหน่งของเด็กว่าอยู่ที่ไหนนั่นเอง ส่วนการสวมกำไลของสตรีไทยในสมัยโบราณนั้น นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะกำไลข้อเท้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงฐานะและสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ เจ้านายในวังหรือชนชั้นสูง จะนิยมสวมกำไลที่ทำจากทองหรือเงิน โดยมักมีลวดลายที่ประณีตวิจิตรบรรจง มีการลงยาหรือตกแต่งด้วยอัญมณี ส่วนชนชั้นสามัญรวมถึง คหบดีก็จะนิยมสวมกำไลทอง หรือเงิน ที่ไม่มีลวดลายหรือมีลวดลายเพียงเล็กน้อย หรือจะเป็นกำไลทองเหลืองหรือนากก็ได้เช่นกัน แต่หากเป็นชาวบ้านธรรมดาก็จะสวมกำไลที่ทำจากโลหะสำริดและไม่มีลวดลายใดๆ ซึ่งรูปแบบกำไลที่ได้รับความนิยมมากคือ กำไลหัวบัว โดยปลายทั้งสองข้างมีรูปทรงคล้ายดอกบัวตูมนอกจากนี้ กำไลข้อเท้ายังเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าลูกสาวบ้านไหนที่ยังไม่มีคู่ครอง ในอดีตสตรีไทยที่ยังสวมกำไลข้อเท้าครบทั้งสองข้างนั้น หมายถึงหญิงที่ยังไม่ได้ออกเรือน การถอดกำไลข้อเท้าจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อหญิงผู้นั้นได้แต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝาไปแล้วเท่านั้น แม้ว่าธรรมเนียมการสวมกำไลข้อเท้าจะหายไปจากสังคมไทยแล้ว หากแต่ความนิยมในเครื่องประดับชนิดนี้ก็ยังคงมีอยู่แต่เปลี่ยนรูปแบบและความเชื่อไป โดยยึดคำว่า กำไร ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า กำไล จึงเชื่อว่าการรสวมกำไลจะช่วยเพิ่มพูนกำไรในด้านการค้าและการทำธุรกิจได้ พบว่าการใส่กำไลข้อเท้ามีมานับพันปีแล้ว ทั้งในอียิปต์และในเอเชีย ซึ่งอาจทำจากเงิน ทอง ลูกปัด หรือหนังสัตว์ และการใส่กำไลข้อเท้าก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดียโดยเฉพาะในพิธีแต่งงาน

Read More

25/12/2562

เพชรกาญจนาภิเษก ที่สุดแห่งอัญมณีแด่องค์มหาราช


เมื่อปี 2538 กลุ่มนักธุรกิจไทยได้รวมตัวกันซื้อเพชรเจียระไนสีเหลืองทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกเม็ดหนึ่ง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (ในปี 2539)เพชรเม็ดนี้มีจึงได้ชื่อว่า‘เพชรกาญจนาภิเษก’ ซึ่งถือเป็นที่สุดแห่งอัญมณีเพื่อองค์มหาราชของปวงชนชาวไทย เพชรกาญจนาภิเษกหรือ Golden Jubilee Diamond คือ เพชรเจียระไนสีเหลืองทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถูกพบที่ เหมืองพรีเมียร์ ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2528 เมื่อตอนพบนั้นเป็นก้อนแร่ขนาด 755.5 กะรัต สีเหลืองแกมน้ำตาล ถูกเรียกว่าเจ้าสีน้ำตาลไร้ชื่อ หรือ Unnamed Brown เดิมทีเพชรเม็ดนี้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบอุปกรณ์และเทคนิคการเจียระไนสำหรับเพชรอีกเม็ดหนึ่ง โดย Gabriel Tolkowsky ช่างเจียระไนเพชรฝีมือเยี่ยมจากเมืองแอนท์เวิร์ป Mr.Tolkowsky ใช้เวลานานถึง 3 ปี ในการออกแบบและเจียระไนเพชรเม็ดนี้ จนเปล่งประกายงดงามและสมบูรณ์แบบ ด้วยเหลี่ยมเจียระไนรวมทั้งสิ้น 148 เหลี่ยม โดยเขาเรียกรูปทรงการเจียระไนนี้ว่า Fire Rose Cushion Cut มีน้ำหนักหลังการเจียระไนอยู่ที่ 545.67 กะรัต ซึ่งได้กลายเป็นเพชรเจียระไนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (แชมป์เก่าคือเพชรคัลลิแนน ขนาด 530.2 กะรัตซึ่งประดับอยู่บนคทา หนึ่งในเครื่องราชกกุฎภัณฑ์แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ สหราชอาณาจักร)เพชร (Diamond) คือ แร่ชนิดหนึ่งที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก มาจากภาษาละตินว่า Adamas หมายถึง ความแข็งแกร่ง และไม่สามารถทำลายได้ ในภาวะบริสุทธิ์เพชรจะไม่มีสี แต่เราสามารถพบเพชรสีต่างๆ ได้เช่นกัน ทั้งสีน้ำเงิน เหลือง ชมพู แดง ฯลฯ โดยสีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีธาตุอื่นเจือปนอยู่เพชรกับมนุษย์ มีความสัมพันธ์กันมานานนับพันปี ทั้งในเรื่องของความเชื่อ ตำนาน อารยธรรม หรือวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก เช่น ชาวไอยคุปต์โบราณเชื่อกันว่าเพชรคือตัวแทนของพระอาทิตย์ เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจริง ขณะที่ในวัฒนธรรมของชาวอินเดียโบราณเชื่อว่าเพชรมีพลังวิเศษที่ช่วยคุ้มครองผู้สวมใส่ให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวงเพชรมักถูกประดับอยู่บนมงกุฎของพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งพระเกียรติยศ ด้วยเชื่อกันว่าเพชรเป็นศูนย์รวมของพลังอำนาจ เป็นเครื่องหมายของความยิ่งยศและมั่งคั่ง ทั้งยังช่วยคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของให้รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย และมีชัยชนะเหนืออริราชศัตรูอีกด้วย

Read More

25/12/2562

สัมพันธ์สองราชสำนัก สยาม-รัสเซีย


กล่องใส่พระโอสถมวน (บุหรี่)ลงยาสีทองที่มีตรามงกุฎรัสเซียประดับเพชร มีข้อความจารึกภายในว่า“From Your Friend Nicholas 1897” จากฝีมือของฟาแบร์เชร้านเครื่องทองหลวงประจำราชสำนักรัสเซีย เป็นของที่ระลึกหนึ่งในหลายชิ้นจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดมากที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 กับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2แห่งรัชเซียมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นดุจพี่น้อง ตั้งแต่ครั้ง พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2เสด็จเยือนสยามอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะ ในขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น ซาร์เรวิช แกรนด์ ดยุค นิโคลัส (Tsarevich Grand Duke Nicholas) มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ซึ่งสยามได้จัดงานต้อนรับอย่างใหญ่โตสมพระเกียรติที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้จัดพระราชวังสราญรมย์เป็นที่ประทับแก่ซาร์เรวิช ทั้งยังจัดพิธีพระราชทาน “เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์” ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของไทยให้แก่ซาร์เรวิช อันถือเป็นการประกาศเชิงสัญลักษณ์ว่าได้รับพระราชอาคันตุกะแห่งราชวงศ์จักรี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์แอนดรูชั้นที่ 1 อันเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียแก่องค์พระพุทธเจ้าหลวงแห่งสยามด้วยเช่นกัน และนี่คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของกษัตริย์สิงราชวงศ์ความสัมพันธ์ของสองปิยะมิตรแสดงให้เห็นอีกครั้งเมื่อ เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จพระราชดำเนินเยือนกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ทรงมารอรับเสด็จด้วยพระองค์เองถึงสถานีรถไฟ และได้ทูลเชิญเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ (Peterhof Palace) หรือพระราชวังฤดูร้อน ตลอดช่วงเวลาที่ประทับอยู่ในรัสเซีย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ให้การรับรองในหลวงรัชกาลที่ 5 แห่งสยามอย่างดียิ่งประหนึ่งพระญาติ ด้วยทรงรักใคร่และให้ความเคารพนับถือในหลวงรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างมาก ถึงขนาดเคยมีรับสั่งว่า “เขา (ร. 5) คือพี่ชายของฉัน” ในการนี้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ทราบถึงความกังวลพระทัยของในหลวงรัชกาลที่ 5 ในเรื่องเหตุบ้านการเมือง ที่กำลังถูกชาติตะวันตกแสดงแสนยานุภาพด้วยการล่าอาณานิคมพระองค์ก็ไม่ทรงรีรอที่จะช่วยเหลือ โดยโปรดฯ ให้ฉายพระรูปคู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และส่งไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ L’Illustration ของฝรั่งเศส เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น พระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 พระองค์ ก็ได้ปรากฎอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทั่วฝรั่งเศส และไม่นานนักก็ได้ไปปรากฎบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ถือเป็นการประกาศความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสยามและรัสเซียและทำให้สยามรอดจากการล่าอาณานิคมในครั้งนั้นเมื่อถึงช่วงเวลาแห่งการลาจาก พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ถวายของที่ระลึกจำนวนมากแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5ซึ่งล้วนเป็นฝีมือของฟาแบร์เช ช่างทองหลวงแห่งราชสำนักรัสเซีย ซึ่งนอกจากของที่ระลึกกล่องพระโอสถมวนจากพระเจ้าซาร์แล้ว ฟาแบร์เชก็มีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ราชสำนักสยามอีกหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้ทำขึ้นเช่น บาตรน้ำมนต์ หีบพระโอสถมวน กรอบใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ฯลฯเป็นต้น

Read More

25/12/2562

แหวนค็อกเทล สัญลักษณ์สาวมั่น


หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1920 ) ถือเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของอเมริกาครั้งใหญ่ เมื่อผู้หญิงลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองสลัดผ้ากั้นเปื้อนและหน้ามันอยู่ก้นครัว ออกมาหางานทำเพื่อพึ่งพาตนเอง เรียกร้องความเสมอภาค ความเท่าเทียม และสิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ร่วมไปถึงเรืองแฟชั่นการแต่งกายที่กระโปรงยาวฟูฟ่องทรงสุ่มแบบวิกตอเรียกับการสวมอุปกรณ์รัดเอวให้คอดเล็ก กลายเป็นเรื่องล้าสมัย สาวๆสมัยนั้นต้องหั่นผมให้สั้น แล้วหันมาสวมกระโปรงสั้นทรงตรงหลวมไม่เน้นรูปร่างที่เรียกว่า “Flapper Dress” ส่วนนิ้วมือข้างขวาสวมแหวนเพชรพลอยสีหรืออัญมณีอื่นๆบนตัวเรือนที่ทำจากทองขาวหรือทองคำ ที่เรียกกันในยุคนั้นว่า “แหวนค็อกเทล”“แหวนค็อกเทล”จัดอยู่ในเครื่องประดับที่อยู่ในหมวดของมันต้องมีของผู้หญิงหัวสมัยใหม่ในสมัยนั้น พวกเธอจะจัดเต็ม ด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์หรูหรา งดงาม ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับนานาชนิด และสวมแหวนค็อกเทลวงโตบนนิ้วมือเรียวยาวข้างขวา เพื่อให้ผู้คนเห็นเวลายกแก้วเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ขึ้นดื่มซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่ได้รับการยอมรับในขณะนั้น แหวน“แหวนค็อกเทล”จึงมีความหมายแฝงถึงการต่อต้านข้อห้ามและกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคมก่อนหน้านั้นบรรดาคนหัวเก่าเชื่อว่าผู้หญิงที่ดีต้องเรียบร้อยไม่ด่างพร้อยด้วยพฤติกรรม ต่างเห็นตรงกันว่าการเข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ เต้นรำ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นการกระทำที่ผิดแผกไปจากจารีต ล้วนนำความเสื่อมเสียมาสู่ภาพลักษณ์อันดีงามของสังคมอเมริกัน จึงได้เกิดเป็นกระแสต่อต้าน จนเป็นเหตุให้สุราและงานปาร์ตี้กลายเป็นของต้องห้ามและผิดกฎหมายในหลายๆ รัฐ แต่ถึงกระนั้น เหล่าคนรุ่นใหม่ทั้งชายและหญิงก็พร้อมที่จะแหวกกฎเกณฑ์ทางสังคมที่พวกเขามองว่าคร่ำครึ ด้วยการปาร์ตี้ตามสถานบันเทิงเริงใจซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจสีเทาลักษณะของแหวนค็อกเทล จะเน้นที่ตัวเรือนมีขนาดใหญ่หรือหนามากอาจทำจากทองคำหรือทองขาวก็ได้ ประดับตกแต่งด้วยเพชรเม็ดโต หรืออัญมณีหายากขนาดใหญ่อื่นๆ โดยเน้นลวดลายธรรมชาติ ใบไม้ ดอกไม้ ลายเถาวัลย์ หรือแม้แต่สัตว์เช่น งู สิงโต นก ตามแต่จินตนาการของดีไซเนอร์ และแม้จะผ่านมานานหลายทศวรรษ แหวนค็อกเทล หรือ Cocktail ring ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่มีการใช้เพชรสังเคราะห์ เช่นสวารอฟสกี้ หรือคริสตัล แทนเพชรแท้ หรือพลอยขนาดใหญ่ เพราะหายากและมีราคาแพงมาก ปัจจุบันแหวนค็อกเทลกลายเป็นตัวแทนของผู้หญิงเก่ง ผู้มีอิสระ กล้าคิดกล้าทำ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ยิ่งถ้าเธอสวมมันไว้บนมือข้างขวาก็จะหมายถึงการที่ผู้เธอนั้นไม่ขึ้นอยู่กับพันธนาการและข้อผูกมัดของการแต่งงานกับชายใด เธอผู้ซึ่งสามารถยืดหยัดได้ด้วยตนเอง

Read More

25/12/2562

มอร์แกไนท์ อัญมณีแห่งความสำเร็จ


ความเชื่อกับเครื่องประดับเป็นของคู่กันมาแต่โบราณ เครื่องประดับหรืออัญมณีอย่างทองคำ เพชร พลอบ มรกต ทับทิม หยก เหล่านี้เราคุ้นเคยกันดีว่ามีเรื่องความเชื่อแฝงมากับความสวยงามและมูลค่า แต่มีอัญมณีชิ้นหนึ่งที่เพิ่งถูกค้นพบได้ไม่นาน แต่มีความสวยงามและเชื่อว่าผู้ใดได้ไว้ครอบครองจะมั่งคั่ง ร่ำรวยและประสบความสำเร็จในธุรกิจ อัญมณีชนิดนี้ มีชื่อว่ามอร์แกไนท์ มอร์แกไนท์ (Morganite) เป็นอัญมณีในตระกูลเบริลเช่นเดียวกับมรกต และอะความารีน ถูกพบครั้งแรกในประเทศมาดากัสการ์เมื่อปี 1910 เดิมมันถูกเรียกว่า ‘เบริลสีชมพู’ ตามสีที่พบ จนกระทั่ง George Kunz นักอัญมณีวิทยาชื่อดังชาวอเมริกัน ได้ตั้งชื่อพลอยชนิดนี้เสียใหม่เป็น Morganite ตามชื่อของ J.P. Morgan ผู้ก่อตั้งสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลก และนักสะสมอัญมณีและงานศิลปะ เพื่อให้เกียรติและยกย่องเขาในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนรายใหญ่ให้แก่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (The American Museum of Natural History) ในมหานครนิวยอร์ก มอร์แกไนท์เป็นอัญมณีในโทนสีส้ม ส้มอมชมพู และชมพูอมส้มปัจจุบันขุดพบได้ใน มาดากัสการ์ โมซัมบิก นามิเบีย อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บราซิล สหรัฐอเมริกา เป็นต้น และเนื่องตากชื่อมอร์แกไนท์ มีที่มาจากชื่อของเจ้าพ่อแห่งวงการการเงินการธนาคาร มอร์แกไนท์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องรางแห่งความสำเร็จของการเริ่มต้นธุรกิจ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามอร์แกไนท์เป็นอัญมณีที่มีพลังวิเศษสามารถช่วยบำรุงรักษาการทำงานของหัวใจ บำบัดอาการเจ็บป่วย โรคที่เกี่ยวกับดวงตา อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ช่วยบำบัดอาการทางจิตใจ ผู้ที่ครอบครองอัญมณีชนิดนี้จะสามารถก้าวผ่านขีดจำกัดของความกลัว และความไม่มั่นใจที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของตัวเองได้ มอร์แกไนท์ยังเป็นหนึ่งในอัญมณีที่ช่วยเสริมส่งพลังงานด้านบวกและก่อให้เกิดความสมหวังในเรื่องของความรักอีกด้วย และในปี2019 มอร์แกไนท์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอัญมณีที่เป็นสีสันแห่งปี โดยการจัดของ Pantone หน่วยงานจัดระบบการตั้งรหัสมาตรฐานสีและวิเคราะห์เทรนด์สีสากล โดยการคัดเลือกเทรนด์สีประจำปีที่จะมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมทุกแขนงบนโลก ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ กีฬา รวมไปถึงเครื่องประดับ และโทนสี “Living Coral” ซึ่งเป็นโทนสีส้มอมชมพูที่ดูสดใส สนุกสนานร่าเริง และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เป็นเทรนด์สีแห่งปี 2019 ซึ่งเป็นเฉดสีเดียวกับ มอร์แกไนท์ นั่นเองส่วนปี 2020 จะเป็นเทรนด์สีอะไร อีกไม่นานก็คงมีรายงานออกมาให้ทราบต่อไป ความเชื่อของคนไทยที่มีต่ออัญมณีชนิดต่างๆ ทับทิม ตัวแทนของความสำเร็จ ลาภยศ / มุกดาหมายถึง ร่มเย็น เป็นสุข /เพทายคือมั่งคั่ง ร่ำรวย / มรกตคือความศรัทธา กล้าหาญ /บุษราคัมทำให้มีเสน่ห์ เป็นที่รัก /เพชรสื่อถึงยิ่งใหญ่ ชัยชนะ /ไพลิน คือความเมตตา กรุณา / โกเมน ทำให้สุขภาพดี อายุยืนยาว และทองเป็นตัวแทนของความรุ่งเรื่อง รุ่งโรจน์เหมือนดังแสงทองของพระอาทิตย์

Read More

25/12/2562

อุตสาหกรรมทองคำกับความรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อน


ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก ทุกฝ่ายต่างให้ความสำคัญและตื่นตัวกับสิ่งแวดโลกมากขึ้น รวมถึงในอุตสาหกรรมทองคำตั้งแต่ต้นน้ำคือการทำเหมืองจนถึงการใช้ทองคำในอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น เครื่องประดับ ทองคำแท่ง และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ให้ความสำคัญกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเช่นกันสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยรายงานเรื่อง 'ทองคำและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบในปัจจุบันและอนาคต' หรือ 'Gold and Climate Change: Current and future impacts' เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมทองคำ ทั้งในเรื่องการสร้างมลภาวะของผู้ผลิตทองคำและบทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยบรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพอากาศในแผนการลงทุนระยะยาวโดยผลการศึกษายังยืนยันว่าการใช้ทองคำในอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น เครื่องประดับ ทองคำแท่ง และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า สร้างผลกระทบเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนของทองคำไม่มาก ในขณะที่อุตสาหกรรมทองคำมีเหตุผลให้เชื่อว่าการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงในการทำเหมืองทองคำสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่วิธีปฏิบัติที่ลดคาร์บอนจนเป็นศูนย์และมีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ ทองคำในฐานะสินทรัพย์ ดูมีความแข็งแกร่งในบริบทความเสี่ยงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ลงทุนในกระแสหลักส่วนใหญ่ ความยืดหยุ่นของทองคำสะท้อนให้เห็นกลไกขับเคลื่อนความต้องการทองคำในบางส่วน ซึ่งหนุนให้เกิดการลงทุนในทองคำอย่างกว้างขวางเมื่อพิจารณาประกอบกันแล้ว ผลการศึกษาเหล่านี้ยังชี้ว่าทองคำอาจมีบทบาทเพิ่มเติม ในฐานะสินทรัพย์บรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพอากาศในแผนกลยุทธ์ลงทุนระยะยาวทั้งนี้ รายงานฉบับใหม่จัดทำขึ้นจากงานริเริ่มของสภาทองคำโลกในปี 2561 โดยนำเสนอมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบด้านสภาพอากาศของทองคำ และวิธีการที่ภาคอุตสาหกรรมผลิตและเหมืองทองคำจะลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีสนอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังพิจารณาด้วยว่า บทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ลงทุนจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์กระแสหลักอื่น ๆ

Read More

25/12/2562

ตลาดทองคำโลกยังมีแนวโน้มสดใส


รายงานผลวิจัยสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคฉบับใหม่ของสภาทองคำโลก (World Gold Council) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา(2562) ชี้ให้เห็นว่าตลาดทองคำยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เมื่อผู้บริโภครายย่อยเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ทองคำมากเป็นอันดับสามรองจากบัญชีออมทรัพย์และประกันชีวิต ขณะที่ผู้ที่ชื่นชอบเครื่องประดับ แฟชั่น ที่ไม่เคยซื้อทองคำเลยก็ไม่ปิดกั้นโอกาสที่จะซื้อ หากความต้องการเหล่านี้แปลงเป็นแรงซื้อได้ก็จะเป็นแรงผลักดันให้ตลาดทองคำให้เติบโตได้มาก ในการทำวิจัยครั้งนี้ สภาทองคำโลกศึกษาตัวอย่างราว 18,000 รายการ ครอบคลุมตลาดต่าง ๆ ทั้งจีน อินเดีย อเมริกาเหนือ เยอรมนี และรัสเซีย เพื่อศึกษา เจาะลึกถึงทัศนคติและความเข้าใจที่มีต่อทองคำ ช่องทางและเหตุผลที่ซื้อทองคำ และเหตุผลที่ตัดสินใจไม่ซื้อทองคำของนักลงทุนรายย่อยและผู้ชื่นชอบแฟชั่นในตลาดเครื่องประดับ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผู้คนเชื่อมั่นและยึดมั่นกับทองคำ นักลงทุนรายย่อยกว่าสองในสามหรือราว67% เชื่อว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในการรับมือกับเงินเฟ้อและความผันผวนของค่าเงิน ขณะที่ 61% เชื่อมั่นในทองคำมากกว่าสกุลเงิน 2. ในกลุ่มคนที่ไม่เคยซื้อทองคำมาก่อน (แต่ก็ไม่ปิดโอกาสการซื้อในอนาคต)ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นในทองคำโดยมีความกังวลว่าจะเจอทองคำแท่งและเหรียญทองคำปลอมหรือเลียนแบบ รวมถึงความกังวลเรื่องความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ หรือความน่าเชื่อถือของผู้ค้าบางรายด้วย 3. ความเชื่อของผู้บริโภครุ่นใหม่หรือคนกลุ่ม Gen Z เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในตลาดเครื่องประดับของจีน ผู้ซื้อสินค้าแฟชั่นอายุ 18-24 ปีคิดเป็นสัดส่วน 40% เชื่อว่าทองคำจะทำให้โชคดี ซึ่งลดลงอย่างมากกับผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 55-65 ปีที่มีความเชื่อใรเรื่องนี้ถึง 88% เหล่านี้ส่งผลให้การบิโภคทองคำลดลง 4. นักลงทุนรายย่อยทั่วโลกซื้อเหรียญทองคำเป็นสัดส่วนเพียง 9% และเครื่องประดับเพียง 6% เมื่อเทียบกับกองทุน ETF ทองคำที่มีผู้ซื้อ 25% สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า นวัตกรรม เทคโนโลยี การตลาด และการสื่อสาร มีผลต่อการตัดสินใจ 5. ผู้บริโภคทองคำกลุ่มใหม่ๆสองในสามหรือราว66% ทั่วโลกยังขาดความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นในการซื้อทอง จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทองคำผ่านสื่อต่างๆมากขึ้น โดยสรุปคือตลาดทองคำรายย่อยยังคงแข็งแกร่ง โดยพบว่าทองคำยังคงเป็นตัวเลือกของการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยทั่วโลกราว 46% มากเป็นอันดับสาม เมื่อเทียบกับ78%ของบัญชีออมทรัพย์ และ54%ของประกันชีวิต ในส่วนของเครื่องประดับนั้น ผลสำรวจพบว่าผู้บริโภค 56% ซื้อเครื่องประดับทองคำชั้นดี อีก34% ที่ซื้อเครื่องประดับทองคำขาวนอกจากนี้ยังพบว่า นักลงทุนรายย่อยและผู้ชื่นชอบแฟชั่นกว่าหนึ่งในสามหรือราว 38% ไม่เคยซื้อทองคำมาก่อนแต่ก็มีทัศนคติที่ดีต่อทองคำ สิ่งนี้แสดงให้เห็นศักยภาพในการผลักดันตลาดทองคำให้เติบโต หากความต้องการเหล่านี้แปลงเป็นแรงซื้อได้

Read More

27/11/2562

ทำการตลาดอย่างไรกับคนGen Y ในอาเซียน


บริษัทสำรวจและวิจัยได้ประเมินประชากรอาเซียนของอาเซียนในปี 2020 คาดว่าจะมีจำนวนประชากร 680 ล้านคน มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและอินเดีย โดยประชากรในสัดส่วนราวร้อยละ 40 นั้นเป็นคนในกลุ่ม Gen Y อัตราการบริโภคของอาเซียนจะขยายตัวสูงขึ้นจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น จนผลักดันให้ประชากรในอาเซียนราว 60 ล้านคนยกระดับเข้าสู่การเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังจับจ่ายใช้สอยในระดับกลางค่อนไปทางสูง และมีความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งรวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่น Gen Y ในอาเซียนแปรเปลี่ยนไปจากเดิมที่คนส่วนใหญ่มีค่านิยมซื้อทองรูปพรรณหรือเครื่องประดับทองโทนสีเหลืองเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวัน มาเป็นเพียงการซื้อเพื่อสวมใส่ในงานแต่งงานหรือประเพณีสำคัญต่างๆ และเป็นการออมสะสมความมั่งคั่งเสียมากกว่า คนรุ่น Gen Y มักมองว่าการสวมใส่เครื่องประดับทองเริ่มไม่เข้ากับการแต่งกายและการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากเทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มคน Gen Y ในตลาดอาเซียนทั้งชายและหญิงจึงค่อนข้างใส่ใจกับการแต่งตัวให้ดูดี มีสไตล์เป็นของตนเอง สนใจเครื่องประดับที่มิกซ์แอนด์แมตช์เข้ากับเสื้อผ้า และมักตามติดกระแสเทรนด์แฟชั่นอยู่เสมอ คนรุ่นนี้นิยมเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะโทนสีขาวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทองขาว เครื่องประดับเงิน ทั้งที่ตกแต่งหรือไม่ตกแต่งด้วยอัญมณี เครื่องประดับเงินลงยาประเภทชาร์มหรือตกแต่งลูกปัดแก้วมูราโนหลากสี ไปจนถึงเครื่องประดับแฟชั่น เน้นดีไซน์และคุณภาพของสินค้ามากกว่าราคา นำไปสู่การยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สินค้าที่ตอบโจทย์กับความต้องการของตนเอง ดังนั้นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะชนะใจลูกค้าชาว Gen Y ก็คือการคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและตอบสนองความต้องการให้ตรงจุด ด้วยการสร้างจุดขายให้แก่สินค้า ด้วยการออกแบบสร้างสรรค์ดีไซน์เครื่องประดับที่มีความแปลกและแตกต่างมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร หรือบอกเล่าเรื่องราวของชิ้นงานเครื่องประดับที่มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ มีความหายากและความงามตามธรรมชาติของอัญมณีแต่ละเม็ด หรือสอดแทรกเรื่องราวความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันในประเทศอาเซียน รวมถึงชิ้นงานเครื่องประดับนั้นสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เช่น เครื่องประดับที่ลูกค้าสามารถออกแบบได้เองหรือออกแบบร่วมกับดีไซน์เนอร์ทั้งนี้ แคมเปญทางการตลาดที่คนกลุ่มนี้ชื่นชอบก็คือ การจัดโปรโมชั่น การให้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งแบรนด์ต้องพูดหรือแสดงให้ชัดเจนว่าจะให้โปรโมชั่น หรือสิทธิพิเศษกับคนกลุ่มนี้อย่างไรโดยไม่อ้อมค้อม เพราะคนกลุ่มนี้มีเวลาน้อย การสื่อสารทุกอย่างจึงต้องรวดเร็ว รวมถึงการออกสินค้าคอลเลกชันใหม่ๆ ตามเทศกาลสำคัญต่างๆ หรือตามเทรนด์กระแสแฟชั่นในช่วงเวลานั้นนอกจากนั้นการนำเสนอบริการหลังการขายเช่น บริการทำความสะอาดหรือซ่อมแซมเครื่องประดับสำหรับลูกค้าเดิม ก็ยังช่วยสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า เป็นกลยุทธ์หลักที่ช่วยให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ เชื่อมั่นและจูงใจให้กลับมาซื้อซ้ำ รวมถึงการบอกต่อไปยังกลุ่มเพื่อนหรือคน อื่นๆ ให้ลองมาใช้บริการหรือซื้อสินค้า ส่วนกลุ่มลูกค้าใหม่ควรเน้นไปที่การให้ข้อมูลหรือคำแนะนำถึงคุณภาพสินค้า การเลือกซื้อหรือตรวจสอบอัญมณี และการบริการหลังการขาย โดยเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียไปยังคนกลุ่มนี้ จะช่วยให้แบรนด์ได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็วและเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้มากขึ้น

Read More

27/11/2562

พระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี


พระชนกทอง ณ บางช้าง เป็นพระราชชนกในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี เดิมชื่อทอง เกิดที่บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา เป็นบุตรของท่านตาเจ้าพรกับท่านยายเจ้าชี ท่านทองได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง ได้สมรสกับนางสั้นมีโอรส-ธิดาด้วยกัน 11 พระองค์หนึ่งในนั้นคือนาค ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า นาค เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระธิดาของพระชนกทอง ณ บางช้าง และสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี(สั้น)เป็นอรรคชายาเดิม ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีบันทึกว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้มหาดเล็กสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวาย มหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่า มีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรของนายทอง เศรษฐีบางช้าง จึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไปสู่ขอต่อบิดา-มารดา ด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองตรีขึ้นต่อเมืองราชบุรี ส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโท นายทองและภรรยา ได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อน ด้วยธิดาของนายทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวัง นายทองสงสารธิดาจึงนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี(เสม) เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติ จากนั้นทั้งสองคนจึงนำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย หลวงพินิจอักษรก็ได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียน แล้วยังไม่มีคู่ครอง หากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่ง เพราะเป็นหญิงอุดมด้วยทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติ ฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนัก ทั้งยังเป็นเกราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวัง เมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นดีด้วย หลวงพินิจอักษร (ทองดี)จึงได้ทำฎีกากราบทูลว่าธิดาท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรชายของตนเสียเถิด พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาก แต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตา จึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาตให้วิวาห์ได้ตามความประสงค์ ธิดาท่านเศรษฐีทองจึงได้สมรสกับนายทองด้วงทหารมหาดเล็ก ซึ่งต่อมาได้ตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์ หลวงยกบัตรราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม รับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจซ้าย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ธิดาของนายทองจึงได้เป็นอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นายทองได้พิราลัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ นาค ธิดาของท่านได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี"นางสั้นมารดาจึงได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามสกุล และได้พระราชทานนามสกุล ณ บางช้าง แก่ผู้สืบเชื้อสายจากท่าน

Read More

27/11/2562

เรือพระที่นั่ง ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562นี้ จะมีการริ้วขบวนเรือตามโบราณราชประเพณีโดยมีเรือพระราชพิธี 52 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเรือพระที่นั่งที่มีความสำคัญยิ่ง 4 ลำคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์โขนเรือแกะสลักเป็นรูปหงส์ มีพู่ห้อยที่ตรงปลายพู่เป็นแก้วผลึก ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทอง ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน จัดเป็นเรื่องพระที่นั่งที่มีความสำคัญและสง่างามที่สุดในขบวนเรือพระราชพิธี นอกจากนี้องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร(The World Ship Trust Maritime Heritage) ยังมอบรางวัลมรดกทางทะเลขององค์กรเรือโลก แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยคณะกรรมการขององค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลมรดกทางทะเลโลกประจําปีพ.ศ.2535ด้วย เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง มีโขนเรือเป็นรูปพญานาค 7 เศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 และสร้างขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 มีความยาว 44.85 เมตร ใช้ฝีพาย 54 คน ในภาษาสันฤกต คำว่า อนนฺตะ หมายถึง ไม่สิ้นสุดหรือความเป็นนิรันดร นาคะ หมายถึง นาคหรืองู ส่วนคำว่า ราชะ แปลว่า เจ้านายหรือพระราชา ดังนั้นอนันตะ จึงหมายถึง ราชาแห่งนาคหรืองูทั้งหลายเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กจำนวนมาก ภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง เรือมีความยาว 45.67 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน กลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่อง หรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 สร้างขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539 โดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร และเนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเติมคำว่า “รัชกาลที่ 9” เพื่อแสดงว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 ขบวนพยุหยาตราชลมารคในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เริ่มเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2394 เพื่อให้ราษฎรได้ชื่นชมพระบารมีกษัตริย์พระองค์ใหม่ และจะได้เป็นพระเกียรติยศไปภายหน้าพระราชพิธีครั้งนั้นไม่เพียงจะยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังเป็นการเริ่มต้นธรรมเนียมปฏิบัติในรัชกาลต่อ ๆ มาด้วยโดยการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคในครั้งนั้น มีเรือในขบวนถึง 269 ลำ มีเรือนอกขบวนที่เข้าร่วมด้วยกว่า 50 ลำ และมีจำนวนฝีพายทั้งหมดกว่า 10,000 คน โดยเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยทางชลมารครอบพระนคร เริ่มจากท่าราชวรดิษฐ์ เข้าคลองรอบพระนครไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดอรุณราชวราราม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระบรมมหาราชวัง การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกห่างหายไปนานกว่าร้อยปีเพราะในสมัยรัชกาลที่ 8 ไม่ได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขณะที่ในสมัยรัชกาลที่ 9 นั้น ไม่มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราชลมารคในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แม้ว่าจะมีขบวนพยุหยาตราชลมารคหลายครั้งก็ตามด้วยเหตุนี้ ระยะห่างจากการจัดพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2469 จึงห่างจากพระราชพิธีในในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ในสมัยรัชกาลที่10 ถึง 93 ปีเลยทีเดียว

Read More

27/11/2562

ไม้เท้ายอดครุฑ


ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก เพื่อทรงรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส ประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่คนไทยได้เห็น. “ไม้เท้ายอดครุฑ”ที่สมุหราชมณเฑียร หรือรองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายที่ประทับ ถือนำเสด็จสมเด็จพระสันตปะปาเข้าเฝ้า “ไม้เท้ายอดครุฑ” เป็นไม้กลมยาวทำด้วยไม้มะเกลือสีดำ ที่หัวไม้เป็นรูปครุฑทำด้วยโลหะสีทอง ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะใช้เป็นไม้ถือประจำตำแหน่งของสมุหราชมณเฑียรหรือสมุหพระราชพิธี ตำแหน่งนี้เข้าใจว่าเริ่มมีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยได้แบบอย่างมาจากราชสำนักอังกฤษ นอกจากการนำออกมารับเสด็จบุคคลสำคัญแล้ว “ไม้เท้ายอดครุฑ” ยังนำมาใช้เมื่อมีเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการถวายอักษรสาส์นตราตั้ง โดบมุหราชมณเฑียร หรือรองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายที่ประทับ จะปฏิบัติหน้าที่ถือไม้เท้ายอดครุฑ นำอกอัครราชทูตเข้าเฝ้าฯ เสมอ สำหรับพิธีการนำเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายอักษรสาร์นตราตั้งนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดวันให้เอกอัครราชทูตเข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์แล้ว คณะทูตจะต้องมารอที่กระทรวงการต่างประเทศ สำนักพระราชวังจะจัดขบวนรถพระประเทียบไปรับมายังพระบรมมหาราชวัง โดยมีอธิบดีกรมพิธีการทูตและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมาร่วมในขบวนด้วย เมื่อเข้ามาถึงพระบรมมหาราชวังแล้วขบวนรถของคณะทูตจะจอดเทียบชาลาอัฒจันทร์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้านตะวันออก สมุหพระราชมณเฑียรยืนถือไม้เท้ายอดครุฑรอรับอยู่พร้อมด้วยกรมวังผู้ใหญ่และราชองครักษ์ จากนั้นสมุหพระราชมณเฑียรจะนำเอกอัครราชทูตและคณะไปพักที่ห้องมุขกระสันด้านทิศตะวันออก ในขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังพระบรมมหาราชวังเข้าทางประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ และผ่านประตูราชสำราญเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน แล้วเทียบรถพระที่นั่งที่ชาลาอัฒจันทร์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้านตะวันออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและทรงประทับพัก ณ ห้องเฉลียงท้องพระโรงหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินสู่ท้องพระโรงกลาง ประทับยืนหน้าพระแท่นบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในท้องพระโรงกลางมีข้าราชการยืนเฝ้ารับเสด็จอยู่ดังนี้คือ ๑.สมุหราชองครักษ์ ๒.ราชเลขาธิการ ๓.เลขาธิการสำนักพระราชวัง ๔.ราชองครักษ์ ๕.หัวหน้ากองวัง ๖.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินสู่ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประทับยืนหน้าพระแท่นบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตรแล้ว มหาดเล็กเวรแย้มพระทวารเพื่อให้สมุหราชองครักษ์เดินออกไปบอกคณะทูตว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพร้อมแล้ว สมุหพระราชมณเฑียรจะจัดแถวคณะทูต แล้วเดินนำออกจากมุขกระสันด้านตะวันออก ไปตามทางเข้าสู่ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สมุหพระราชมณเฑียรหยุดหน้าพระทวาร และให้สัญญาณต่อมหาดเล็กหลวงหับเผยพระทวาร โดยใช้ไม้เท้ายอดครุฑเคาะตรงประตูมหาดเล็กจึงเผยพระทวารออกให้สมุหพระราชมณเฑียรนำคณะทูตเข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์ต่อไป

Read More

27/11/2562

ชุดเครื่องเขียนเงินลงถมตะทอง ของขวัญถวายพระสันตประปา


เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จลง ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงออกรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งนครรัฐวาติกันในโอกาสเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ถวาย"ชุดเครื่องเขียนเงินลงถมตะทอง ประดับอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ชุดใหญ่" เป็นของขวัญแด่องค์พระสันตประปาด้วย นอกจาก"ชุดเครื่องเขียนเงินลงถมตะทอง ประดับอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ชุดใหญ่" แล้วยังมีเหรียญที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 แผ่นคำจารึกของขวัญประดับพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และอักษรพระนามาภิไธย ส.ท.ทองคำลงยาติดบนแท่นไม้มะค่า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ถวายเทียนหอม ในส่วนของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิสทรงถวายภาพวาดบนกระเบื้องสีโมเสก สร้างจากภาพต้นแบบ "การอวยพรของสมเด็จพระสันตะปาปา ณ ลานมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์", เหรียญที่ระลึกในโอกาส ครบ 7 ปี การสมณภิเษกของสมเด็จพระสันตะปาปา และหนังสือที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเหรียญที่ระลึกในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทย และญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 19-26 พ.ย.2562 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เป็นการแลกเปลี่ยนด้วย ศิลปะการทำถมตะทอง หมายถึง วิธีการระบายทองคำ ละลายปรอท หรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบาย จนเต็มเนื้อที่อย่างเดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอท ที่มีทองคำละลายปนอยู่ ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอท จะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหลุดออกมา เหลือเนื้อทองติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้ม ทองนั้น การแต้มทองหรือระบายทองในที่บาง แห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการ แสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถม ตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือถมทอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมในถมตะทอง มากกว่าถมทอง สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงได้รับแต่งตั้งและทรงเข้าดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา เป็นองค์พระประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก พระองค์ที่ 266 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 สืบต่อจากอดีตสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ที่ทรงสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่ายเสมอมา การเสด็จมาเยือนประเทศไทยของพระสันตะปาปาฟรานซิส นับเป็นการเสด็จมาเยือนขององค์พระประมุขคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกครั้งแรกในรอบ 35 ปี นับตั้งแต่พระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2 ได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย เมื่อปี 2527 เพื่อทรงต้องการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์กับชาวพุทธ ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น สำหรับการเสด็จมาเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ได้นำมาซึ่งความปลื้มปีติยินดีแก่ปวงชนชาวไทยทุกเชื้อชาติศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย ที่ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 ระบุว่า มีจำนวน 814,508 คน ของประชากรในประเทศไทย 64,076,033 ล้านคน และในจำนวนคริสต์ศาสนิกชนในไทย นับถือนิกายโรมันคาทอลิก 369,636 คน

Read More

27/11/2562

จอกกาลิกส์ เงินกะไล่ทอง มรดกแห่งความสำพันธ์คริสค์จักรในสยาม


ในพิธิมิสซา หรือการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่สนามศุภชลาศัยและอาสนวิหารอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2562 สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้นำจอกเก่าแก่ใบหนึ่งหรือที่เรียกว่าจอกกาลิกส์ ออกมาให้สมเด็จพระสันตะปะปาฟรานซิสใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งจอกใบนี้มีประวัติความเป็นมามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางจิตใจต่อคริสตศาสนิกจนคาทอลิกในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งถ้วยเล็ก ๆ ที่มีก้านยาวเชื่อมต่อระหว่างตัวถ้วยกับฐานรองใบนี้ คือ จอกกาลิกส์ หรือ ถ้วยใส่เหล้าองุ่นเพื่อรำลึกถึงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ ซึ่งจากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าจอกใบนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของพระสังฆราชฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัว มิชชันนารีฝรั่งเศสคนสำคัญที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 173 ปีจอกกาลิกส์ นี้ถูกผลิตขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1846 หรือช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้ที่ชื่อโชเซฟ พิลลิปป์ เดอล์ฌอง ซึ่งเป็นช่างเงินที่มีชื่อเสียงของราชสำนักนโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส มีการแกะสลักลวดลายซึ่งเป็นคริสตศิลป์จำนวนมากปรากฏอยู่ ทำจากเงินแท้ทั้งใบ และใช้กรรมวิธีกะไหล่ทอง คือกรรมวิธีให้เนื้อทองคำซึมเข้าไปในเนื้อเงินด้วยสารปรอท และใช้ความร้อนไล่ปรอทออกมาเพื่อเคลือบจอกด้วยเนื้อทอง เราจึงเห็นบางส่วนของจอกเป็นสีทอง และบางส่วนยังคงความเป็นสีเงินอยู่ ตามลวดลายศิลปะยุคบาโรกที่ใช้การออกแบบจอกกาลิกส์นี้จอกกาลิกส์มีความสำคัญในพิธีมิสซาเพราะ เชื่อกันว่าเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการถวายบูชามิสซา เมื่อเทเหล้าองุ่นลงไปขณะที่อยู่ในพิธีกรรม เหล้าองุ่นนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นพระโลหิตของพระเยซูเจ้า ซึ่งทุกพิธีมิสซาจำเป็นต้องมีจอกกาลิกส์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเสมอ “พิธีมิสซา”คือ พิธีบูชาขอบพระคุณพระเป็นเจ้า (Eucharistic Celebration) เป็นการแสดงออก ซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสต์ศาสนิกชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปมนุษย์ อาศัยพระกายและพระโลหิตที่พระองค์ทรงยอมสละและพลีชีวิต ดังนั้น การร่วมในพิธีมิสซา จึงหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่คริสต์ศาสนิกชนจะขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ ลงมาไถ่บาปของมนุษย์ทุกคน ส่วนฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ผู้สร้างจอกกาลิกส์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน อีกด้วยเนื่องในโอกาส 350 ปีมิสซังสยาม คุณค่าจอกกาลิกส์ใบนี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนของความเชื่อที่บรรดามิชชันนารีได้นำเข้ามาสู่มิสซังสยามในหลายร้อยปีก่อน เป็นมรดกที่มิชชันนารีได้มอบให้กับสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเก็บรักษาที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก

Read More

27/11/2562

อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ ถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปา


ในการเสด็จเยือนประเทศไทยของพระสันตปะปาฟรานซิส ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ (holy vestment) ที่เรียกว่าเสื้อกาสุลา เพื่อเป็นของที่ระลึก และทรงสวมในการประกอบพิธีมิสซา โดยแผนกอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์และศาสนภัณฑ์ คณะภคินีพระหฤทัยแห่งกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดเย็บมี 2 ชุดตือ ชุด“สีทอง”และชุด“สีแดง” ฉลองพระองค์ของพระสันตะปาปาทั้ง 2 ชุด เป็นผ้าไหมไทยซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นุ่ม มีน้ำหนักและมีความมันวาวในตัว ดูสง่างาม โดยชุดสีทองนั้นใช้ในวันงานที่สนามศุภชลาศัยวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เพราะสีทองและสีขาวแสดงถึงความบริสุทธิ์และความชื่นชมยินดี ตรงกับวันระลึกถึงแม่พระถวายพระองค์ที่พระวิหาร ส่วนชุดสีแดงใช้ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ โดยสีแดงเป็นการระลึกถึงนักบุญเซซีลีอา ซึ่งเป็นมรณสักขี หรือนักบุญผู้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในพระเจ้า จึงใช้สีแดงที่สะท้อนถึงความรักและโลหิตที่หลั่งออกมาเพราะความรักต่อพระเจ้า ชุดกาสุลา ของ “สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส”ทั้งสีทองและสีแดงมีความพิเศษ การปักลวดลายกระหนกลงบนเนื้อผ้า เพื่อสื่อถึงความอ่อนช้อยแบบไทย เรียบง่ายแต่สง่างาม สะท้อนวัฒนธรรมไทยให้ทั่วโลกได้เห็น ซึ่งนอกจากอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระสันตะปาปาแล้ว ทีมงานยังต้องตัดเย็บอาภรณ์ของบรรดามุขนายก สีทอง 120 ชุด และ สีแดง 76 ชุด โดยใช้วิธี “พิมพ์แบบซัพพลีเมนชั่น” คือการใช้ความร้อนพิมพ์ลายบนผ้าแทนการปักเพื่อความรวดเร็วในการผลิตและประหยัดต้นทุน นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้จัดทำอาภรณ์ศักด์สิทธิ์เพื่อถวายเป็นที่ระลึดแด่องค์พระสันตประปาอีก 4 ชุดซึ่งออกแบบโดย อธิวัฒน์ ชื่นวุฒิ นักออกแบบอาภรณ์ในพิธีกรรม โดยเลือกใช้ผ้าแพรวาจากอีสาน ในการตัดเย็บเพราะต้องการสนองพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นผู้นำการเผยแพร่ผ้าไหมไทยสู่ประชาคมโลก และเพื่อระลึกถึงบุญราศีและมรณสักขีชาวไทยอีสานทั้ง 7 ท่านแห่งสองคอน (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร) ที่ได้ยืนหยัดในความเชื่อทางศาสนาของตนแม้จะต้องพลีชีวิตก็ตามส่วนลวดลายที่ปักประกอบไปด้วยลายไม้กางเขน รวงข้าว และเถาองุ่น อันเป็นลายสัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์ ไม้กางเขนหมายถึงการไถ่บาปให้มนุษย์ของพระเยซูเจ้าด้วยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนของพระองค์, รวงข้าวและเถาองุ่น ยังเป็นสัญลักษณ์สำคัญในพิธีมิสซา นอกจากนี้ยังมีลวดลายอีสาน และลวดลายไทยประยุกต์ต่างๆ อาทิเช่น ลายขอท้องปุ้ง ลายขอไต่เครือ ลายขอไต่น้อย ลายบันไดสวรรค์ ลายกระหนก ลายประจำยาม ฯลฯ เพื่อสื่อถึงความเป็นไทยสำหรับสีของอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ชุด เป็นสีแบบไทยโบราณหรือที่เรียกกันว่า Thai Tone ได้แก่ • ชุดสีขาว ตัวชุดเลือกใช้ผ้าโทนสีสังข์ ปักแถบกลางและปกคอเป็นสีฝาด ซึ่งสีขาวในคริสตศาสนามีความหมายถึงพระเยซู เแม่พระ และนักบุญที่ไม่เป็นมรณสักขี ใช้สำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาสและอีสเตอร์ • ชุดสีแดงผ้าตัวชุดใช้ผ้าสีแดงตัด ผ้าปักแถบกลางและคอปกเป็นสีก้านดอกกรรณิการ์ ซึ่งสีแดงสื่อความหมายถึงเลือด แสดงถึงความรักและการเสียสละชีวิตเพื่อพระศาสนา • ชุดสีเขียว ผ้าตัวชุดใช้ผ้าสีเขียวตองอ่อน ผ้าปักแถบกลางและคอปกเป็นสีเขียวไพร สีเขียวสื่อถึงความเจริญเติบโต มีชีวิตชีวา ใช้ในเทศกาลธรรมดา • สีม่วงผ้าตัวชุดใช้ผ้าสีม่วงเม็ดมะปราง ผ้าปักแถบกลางและคอปกเป็นสีลูกหว้าเม็ดมะปราง สีม่วงเป็นสีที่ใช้ในพิธีมิสซา เทศกาลมหาพรต ทั้งนี้ปกตินักบวชในศาสนาคริสต์จะใส่ชุดเสื้อผ้าสีขาว เหมือนกับเป็นเครื่องแบบปกติ แต่ในพิธีกรรมของคาทอลิก จะมีการใช้อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สีต่างๆ 5 สี คือ สีขาว, เขียว, แดง, ม่วง และชมพู ที่มีการใช้แตกต่างกันไปตามที่ปฏิทินคาทอลิกกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีหมวกทรงสูง หรือ Mitre หนึ่งในอาภรณ์ของบรรดามุขนายก ที่ใช้เป็นเครื่องแต่งกายร่วมในพิธีพร้อมกับ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสด้วย สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยระหว่างวันที่ 20-23 พ.ย. 2562 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลไทยและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เนื่องในโอกาสเชิญเฉลิมฉลอง 350 ปี แห่งการสถาปนามิสซังสยาม และฉลอง 50 ปีแห่งสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและนครรัฐวาติกัน

Read More

Loading...
More