บทความทั้งหมด

12/10/2564

ตำหนักทองวัดไทร สร้างเมื่อไหร่กันแน่?


วัดไทร ตั้งอยู่ริมคลองคลองด่าน หรือ คลองสนามชัย ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นในสมัยใด ไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่สันนิษฐานโดยดูจากพุทธลักษณะของพระพุทธรูปในวิหาร พระปรางค์หรือเจดีย์เชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในวัดไทรมีโบราณสถนสำคัญหลังหนึ่งเป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เรียกกันว่า ตำหนักทอง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตำหนักของ "พระเจ้าเสือ" กษัตริย์องค์ที่ 30 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ของกรุงศรีอยุธยา แต่ความจริงยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ตำหนักทอง สร้างขึ้นเมื่อไรกันแน่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในสาส์นสมเด็จ ถึงตำหนักทอง คราวเสด็จไปที่วัดไทรเมื่อวันที่ 23 และ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2464 ไว้ว่า “ เป็นตำหนักไม้ 3 ห้อง ยาว 4 วาศอก กว้าง 9 ศอก ปลูกยาวตามคลอง ทางด้านใต้กั้นฝาทึบห้องหนึ่ง มีหน้าต่างกรอบจำหลักเป็นซุ้มยอด ทางด้านเหนือฝาเป็นช่องโถงสำหรับผูกม่านไม่มีบาน 2 ห้อง เสาและเครื่องบนของเดิมผุเปลี่ยนใหม่เสียหมดแล้ว ยังเหลือแต่ฝา ฝานั้นข้างนอกเขียนทองรดน้ำพื้นดำเป็นกระหนกเครือ แต่ลายทองยังคงเหลืออยู่เพียงด้านข้างบนที่ชายคาบังฝน ตอนล่างที่ถูกแดดถูกฝนนั้นลายทองชำรุดซ่อมทาสีเสียแล้ว เครื่องบนยังมีของเดิมแต่กรอบกระจังจำหลักที่หน้าบรรณเหลืออยู่ท่อนหนึ่ง”“ข้างในตำหนักฝารอบทาสีพื้นขาวเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สงสัยว่าจะเขียนเปลี่ยนลายเมื่อซ่อมชั้นหลังบ้าง พระบอกว่า เสาเดิมเป็นลายรดน้ำปิดทองเหมือนกับฝาด้านนอก ฝาประจันห้องที่ยังคงเหลืออยู่จนบัดนี้ เขียนทองลายรดน้ำเหมือนฝาด้านนอก มีประตูฝาประจันห้อง 2 ช่องที่บานเขียนทองรูปเทวดา แต่ดูจะเป็นฝีมือช่างกรุงเทพ ซ่อมชั้นหลัง”“ลักษณะของตำหนักเป็นดังกล่าวมานี้ พิเคราะห์ดูเห็นว่าเดิมคงเป็นตำหนักของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่งได้ทรงสร้างไว้จริง อย่างนี้ที่เรียกว่า ตำหนักทอง ซึ่งผู้อื่นจะสร้างอยู่นั้นไม่ได้ โดยถ้าสร้างถวายวัดเป็นพุทธบูชา ก็ได้แต่เป็นโบสถ์วิหาร หรือหอไตร ที่ผู้อื่นจะทำเป็นเรือนทองถวายเป็นเสนาสนสงฆ์ หรือเป็นศาลาอาศัยนั้น หามีอย่างธรรมเนียมไม่ ““ในระยะเวลา 55 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2246 ถึง พ.ศ. 2301 คลองสนามชัยนี้เป็นทางที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จผ่านไปมาเนืองๆทั้ง 3 รัชกาล คงต้องมีตำหนัก พลับพลาที่ประทับร้อนประทับแรมไว้ในระยะทางหลายแห่ง….แบบอย่างตำหนักทองที่วัดไทร ซึ่งทำเป็นตำหนัก 3 ห้อง และโถง 2 ห้อง ดูสมจะเป็นตำหนักที่ประทับร้อน คงสร้างในครั้งรัชกาลพระเจ้าเสือดังที่พวกชาวบ้านว่า หรือมิฉะนั้นก็สร้างใน 2 รัชกาลหลังต่อมาเมื่อครั้งกรุงเก่าเป็นแน่” ปัจจุบันตำหนักทอง วัดไทร กำลังอยู่ในช่วงการบูรณะโดยกรมศิลปากร

Read More

11/10/2564

ตลาดเครื่องประดับทองทั่วโลกจะเดินไปในทิศทางใด


สภาทองคำโลก (World Gold Council : WGC) คาดการณ์ความต้องการเครื่องประดับทองจากทั่วโลกในปี 2021 นี้ว่าอาจอยู่ในช่วงระหว่าง 1,600 ตันถึง 1,800 ตัน สูงกว่าในช่วงปี 2020 ที่มีอุปสงค์เครื่องประดับทอง 1,401 ตัน โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกตลอดปีนี้สำหรับตลาดเครื่องประดับทองของจีน ในไตรมาสที่ 2 ให้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 147 ตัน นับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ด้วยอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 62 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 ส่วนอินเดีย ความต้องการเครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 มาอยู่ที่ 55.1 ตัน จากช่วงเดียวกันของปี 2020 ที่มีความต้องการเพียง 44 ตัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 กลับลดลงถึงร้อยละ 67 เนื่องจากการระบาดรอบที่ 2 ของ Covid-19 ส่งผลให้อุปสงค์เครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ปรับลดลงจากไตรมาสแรกของปีนี้ถึงร้อยละ 46 อย่างไรก็ดี WGC คาดว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 นั้นมีวันมงคลสำหรับการแต่งงานอยู่ 13 วัน มากกว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 ที่มีเพียง 7 วัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้อุปสงค์เครื่องประดับทองในตลาดนี้อาจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ก็เป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองที่มีอุปสงค์เป็นอันดับต้นๆ ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดยความต้องการสูงขึ้นถึง 1.03 เท่า เพิ่มเป็น 37.7 ตัน นับว่าเป็นตัวเลขสูงสุดสำหรับไตรมาสที่ 2 นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมาทั้งนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ ปี 2015-2019 ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,235 ตันต่อปี แต่การหยุดชะงักของตลาดอันเนื่องมาจากการระบาดของ Covid-19 ในตลาดใหญ่ๆอย่างอินเดีย และจีน อีกทั้งราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาในช่วงที่ผ่านมาทำให้ความต้องการเครื่องประดับทองลดต่ำลงไปมากในช่วง 2 ปีนี้ โดยเฉพาะในปี 2020 ที่ความต้องการเครื่องประดับทองลดลงไปเกือบเท่าตัว

Read More

10/10/2564

ความต้องการเครื่องประดับทองฟื้นตัวหลังซบเซาข้ามปี


สภาทองคำโลก หรือ (World Gold Council (WGC) รายงานแนวโน้มความต้องการทองคำในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ว่าความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบหับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 390.7 ตัน โดยเฉพาะตลาดในจีนและสหรัฐที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ในรายงานฉบับเดียวกันของ WGC ระบุว่า ความต้องการเครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจาก 244.5 ตันเป็น390.7 ตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 โดยอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จาก 44.0 ตัน ไปอยู่ที่ 55.1 ตัน ขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจากก 90.7 ตัน เป็น 146.9 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 62 อย่างไรก็ตาม WGC เผยว่า แม้ว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองจะมีการเติบโตขึ้นมาก แต่ก็เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในปี 2020 ทำให้ความต้องการเครื่องประดับทองของปีก่อนน้อยมากแต่ถ้าเทียบกับปี 2019 จะเห็นได้ว่าความต้องการเครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 นั้นต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2019 ที่มีปริมาณความต้องการ 529.8 ตัน หรือปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 26 ขณะที่ความต้องการเครื่องประดับทองช่วงครึ่งปีแรกในปีนี้อยู่ที่ 873.7 ตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2020 ที่ความต้องการเพียง 558.0 ตัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2019 กลับลดลงร้อยละ 18 เนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2019 มีความต้องการเครื่องประดับทองสูงถึง 1,065.0 ตัน สำหรับตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองที่สำคัญของโลกยังคงเป็น จีน อินเดีย และสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศจีนที่ปรับตัวดีขึ้นช่วยกระตุ้นอุปสงค์เครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ให้เพิ่มโดยเครื่องประดับทองแบบดั้งเดิมยังคงดึงดูดความสนใจผู้บริโภคในตลาดจีน ขณะที่เครื่องประดับแฟชั่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีนผสมผสานกับสไตล์ของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ในการออกแบบสินค้าต่างๆ รวมถึงเครื่องประดับที่สร้างสรรค์โดยแบรนด์เครื่อง ประดับในท้องถิ่นก็ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ซื้อหนุ่มสาวชาวจีนเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

Read More

09/10/2564

เงินตราของไทย จากสุโขทัย-รัตนโกสินทร์


การซื้อขายแลกเปลี่ยนในสมัยโบราณ หรือที่เรียกว่าระบบมาตราเงินของไทยนั้น มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนมาถึงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่เบี้ย หอย พดด้วง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง เหรียญทองคำ จนมาถึงเหรียญกษาปณ์ ซึ่งมีมูลค่าและอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่างกันดังนี้ในสมัยสุโขทัย 1 ชั่ง = 20 ตำลึง 1 ตำลึง = 4 บาท 1 บาท= 4 สลึง 1 สลึง = 2 เฟื้อง ถัดจากเฟื้องมาก็เป็นเบี้ย โดย 1 เฟื้อง= 400 เบี้ย ในสมัยอยุธยา มาตราเงินคงเป็นแบบเดียวกับสมัยสุโขทัย แต่ 1 เฟื้องหนึ่งเท่ากับ 800 เบี้ย เงินที่ใช้มาแต่โบราณเป็นเงินกลม เรียกว่า เงินพดด้วง ในสมัยสุโขทัยมีขนาด 1 ตำลึง และ 1 บาท สมัยอยุธยาใช้เงินพดด้วงอย่างเดียว มีสี่ขนาดคือ 1 บาท 2 สลึง 1 สลึง และ 1 เฟื้องสมัยรัตนโกสินทร์ มาตราเงินคงเป็นอย่างเดียวกับสมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยรัชกาลที่4 โปรดให้ตั้ง โรงกษาปณ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2403 และทำเงินตราใหม่เป็นรูปแบบกลมเรียกกันว่า เงินเหรียญ มีทั้งหมด 4 ขนาดคือ 1 บาท 2 สลึง และขนาด 1 เฟื้อง โดยทำเหรียญขนาด 1 ตำลึง กึ่งตำลึง และกึ่งเฟื้อง ไว้ด้วย แต่ไม่ได้นำไปใช้ในท้องตลาด ต่อมาในปี พ.ศ.2405 โปรดเกล้า ฯ ให้ทำเหรียญดีบุก เป็นเงินปลีกขึ้นใช้แทนเบี้ยอีกสองขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "อัฐ" กำหนดให้ 8 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง ขนาดเล็กเรียกว่า "โสฬส" กำหนดให้ 16 โสฬส เป็น 1 เฟื้องพ.ศ.2406 โปรดให้ทำเหรียญทองคำขึ้นสามขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "ทศ" ราคา 10 อัน ต่อ 1 ชั่ง คือ อันละ 8 บาท ขนาดกลางเรียกว่า "พิศ" ราคาอันละ 4 บาท ขนาดเล็กเรียกว่า "พัดดึงส์" ราคาอันละ 10 สลึง ต่อมาในปี พ.ศ.2408 โปรดให้ทำเหรียญทองแดงขึ้นใช้เป็นเงินปลีกมีสองขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "ซีก" สองอันเป็น 1 เฟื้อง และขนาดเล็ก เรียกว่า "เสี้ยว" สี่อันเป็น 1 เฟื้อง

Read More

08/10/2564

เหรียญเงินในถุงแดง


เงินถุงแดง คือ เงินกำไรจากการค้าขายโดยกองเรือสำเภาส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ซึ่งทรงเก็บสะสมไว้ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ โดยเก็บไว้ในถุงผ้าสีแดงและเอาไว้ข้างพระแท่นบรรทม เป็นที่มาของคำว่าเงินถุงแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระคลังข้างที่ มีทั้งเงินสกุลต่างประเทศ เหรียญนก และเหรียญทองแมกซิโก วิธีการหารายได้ของรัชกาลที่3 คือ จัดแต่งเรือสำเภานำสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ อย่างเช่นจีน อินเดียและประเทศแถบเปอร์เซีย เงินที่ได้มาในส่วนของสำเภาหลวงก็ส่งเข้าคลังหลวง ส่วนสำเภาส่วนพระองค์ แบ่งส่วนหนึ่งถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อนำเข้าพระคลังหลวง อีกส่วนหนึ่งทรงเก็บไว้เป็นเงินส่วนพระองค์ที่ทรงใส่ไว้ในถุงแดงข้างที่พระบรรทม เมื่อเงินเต็มถุงก็จะทรงนำเข้า พระคลังหลวงไว้เป็นสมบัติแผ่นดินทั้งหมด ส่วนการใช้ถุงสีแดงใส่เงินนั้นน่าจะมาจากคติความเชื่อของชาวจีนที่นิยมนำเงินใส่ซองสีแดงมอบให้ลูกหลานในเทศกาล หรืองานมงคลเพื่อความมั่งคั่งร่ำรวยและมีโชคดีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีสกุลเงินต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันในไทย เช่น เงินเม็กซิโก เงินเปรู และเงินรูปีของอินเดีย เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าเงินในถุงแดงน่าจะเป็นเงินต่างประเทศที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยนั้น ดังเช่น เหรียญรูปนกของเม็กซิโก ซึ่งใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายชาติให้การยอมรับโดยเหรียญนกเม็กซิโกมีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนมีรูปนกอินทรีย์อยู่ด้านหนึ่ง ไทยจึงเรียกเหรียญนี้ว่า “เหรียญนก” ในปีพ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112 ไทยมีข้อพิพาทกับฝรั่งเศส เรือรบฝรั่งเศสได้รุกเข้ามาจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเทียบท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสโดยหันปืนใหญ่เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง และเรียกเงินค่าปรับเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ จากไทยเป็นเงิน 3 ล้านฟรังก์ โดยให้ชำระเป็นเงินเหรียญภายใน 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะปิดอ่าวไทยและสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากไทย ซึ่งอาจทำให้ไทยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ ด้วยเหตุนี้เงินเงินถุงแดงจึงถูกนำไปสมทบกับเงินในท้องพระคลังหลวงที่มีอยู่เพื่อนำไปเป็นค่าปรับสงครามแก่ฝรั่งเศส แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับเงิน 3 ล้านฟรังก์ ทำให้เจ้านายฝ่ายในและข้าราชการต้องช่วยกันถวายเงิน ทอง เครื่องประดับและของมีค่า นำไปแลกเป็นเงินเหรียญรวบรวมใส่ถุงขนออกจากพระบรมมหาราชวัง ว่ากันว่าเงินค่าปรับที่จ่ายให้ฝรั่งเศสนั้น เป็นเหรียญทองเม็กซิโกรวมทั้งหมด 801,282 เหรียญ ซึ่ง 1 เหรียญเท่ากับ 3.2 ฟรังก์ น้ำหนักของเงินเหรียญทั้งหมดรวมกันกว่า 23 ตันเลยทีเดียว

Read More

07/10/2564

พลายเอกชัย..ช้างเผือกแห่งศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ


พลายเอกชัย เป็นช้างเผือกหนุ่มวัย 35 ปี มีลักษณะตรงตามคชลักษณ์ 7 ประการ ทางศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ ผู้ดูแลพลายเอกชัยจึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายช้างที่มีคชลักษณ์พิเศษเชือกนี้ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเพื่อเป็นช้างเผือกคู่บารมีเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2553 หลวงปู่ครูบาคำมุนี ผู้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้าง ช้างทองคำ ได้ไปพบพลายเอกชัย ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นชาวบ้านในจังหวัดกระบี่ประกาศขายไว้นานกว่า 4 ปี เพราะไม่ยอมลากไม้และไม่ยอมให้นักท่องเที่ยวขี่หลัง เมื่อหลวงปู่ฯได้เจอกับพลายเอกชัยและตรวจดูก็พบว่ามีลักษณะดีหลายประการจึงตกลงซื้อมาในราคา 1.5 ล้านบาท พลายเอกชัยจึงย้ายจากกระบี่มาอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ จ.มหาสารครามตั้งแต่นั้นมาจนเมื่อ 5 ปีก่อน พลายเอกชัยก็เริ่มปรากฏลักษณะตรงตามคชลักษณ์ 7 ประการคือ ตาขาว, เพดานขาว, เล็บขาว, ขนขาว, พื้นหนังขาว หรือ สีคล้ายหม้อใหม่, ขนหางขาว, อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ โดยเมื่อช่วงปลายปี 2561 เจ้าหน้าที่หน่วยราชการ และสำนักพระราชวังได้ติดต่อเข้ามาตรวจสอบเบื้องต้น และพบว่าพลายเอกชัย มีลักษณะพิเศษ จึงได้เตรียม ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 10 ปัจจุบัน พลายเอกชัย อายุ 35 ปี มีความสูง 2 เมตร 60 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 3 ตัน งายาว 1 เมตร 6 เซนติเมตร โคนงาเส้นรอบวง 33 เซนติเมตร เป็นช้างหนุ่มที่มีรูปร่างสมบูรณ์ สวยงาม โดยศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายช้างที่มีคชลักษณ์พิเศษเชือกนี้ แด่พระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว รักาลที่10 ซึ่งขณะนี้ถูกเลี้ยงไว้ภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างทองคำ และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ด้วย ศูนย์อนุรักษ์ช้างช้างทองคำตั้งอยู่บนเนื้อที่กวา 30 ไร่ ในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยหลวงปู่ครูบาธรรมมุณี เมื่อปี 2551 เริ่มแรกเลี้ยงช้างเพียง 1 เชือก เป็นช้างที่ควาญช้างมาขอให้ช่วยไถ่ชีวิต จากนั้นหลวงปู่ครูบาธรรมมุณีเกิดความผูกพันกับช้าง จึงเริ่มช่วยเหลือช้างที่ลำบาก ทั้งช้างแก่ ช้างป่วย ด้วยการซื้อเข้ามาเลี้ยง โดยให้อยู่อย่างอิสระไม่ต้องทำงาน ปัจจุบัน ศูนย์อนุรักษ์ช้างช้างทองคำ ช่วยเหลือช้างมาแล้วกว่า 20 เชือก ปัจจุบันมีช้างในความดูแล 9 เชือก ช้างที่อายุมากที่สุดที่ดูแลอยู่ชื่อพลายปู่บูญ อายุ 93 ปี

Read More

11/09/2564

Bitcoin กำลังกลายเป็นทองคำดิจิทัล จริงหรือ


สตีฟ วอซเนียก กล่าวว่า Bitcoin มีศักยภาพที่จะกลายเป็นทองคำดิจิทัลได้ในอนาคต และยังมองว่า Bitcoin เป็นผลผลิตอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์การชื่นชม Bitcoin ของวอซเนียกครั้งนี้เกิดขึ้นในจังหวะที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ ทะยานสูงขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด และยังมีการเคลื่อนไหวของนักลงทุนสถาบันที่เข้าไปซื้อคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อกันความเสี่ยงจากการเสื่อมค่าของสกุลเงินดอลลาร์เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งเเรกที่วอซเนียกออกมาพูดถึง Bitcoin เมื่อปี 2018 เขาเคยกล่าวถึง Bitcoin เอาไว้ว่า “มนุษย์สร้างเงินตรา ควบคุมมัน เเละสร้างเงินดอลลาร์ออกมาเพิ่มทุกปี เเต่ BTC ต่อต้านสิ่งเหล่านั้น” ต่อมาในปี 2019 เขาได้พูดในงาน Nordic Business Forum ว่า เขาได้ขาย Bitcoin ที่ซื้อมาในต้นทุนราว 700 ดอลลาร์ หรือประมาณ 21,000 บาท ต่อ BTC ออกไปเเล้ว เนื่องจากเขาเพียงต้องการทดลองซื้อขายในสินทรัพย์นี้เพียงช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อราคาเหรียญปรับตัวสูงขึ้นจึงขายออก เพราะไม่อยากวิตกกังวลกับราคาเหรียญที่เหวี่ยงขึ้นลงเเรงเหมือนกับนักลงทุนรายอื่นๆ สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak) ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple หนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงเทคโนโลยี ที่มา : The Standard

Read More

10/09/2564

มรกต...อัญมณีที่น่าลทุน


นอกจากทองคำแล้ว การลงทุนในอัญมณีก็อยู่ในความสนใจของนักลงทุนไม่น้อย โดยเฉพาะBIG 4 หรืออัญมณี 4 ชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดประกอบด้วยเพชร ทับทิม ไพลิน และมรกตมรกตเป็นแร่ในตระกูลเบริลที่มีสีเขียวมีลักษณะโปร่งแสงถึงโปร่งใส พบมากที่ประเทศโคลอมเบีย บราซิล แซมเบีย และซิมบับเว นอกจากนี้ยังพบมรกตได้ในไนจีเรีย อัฟกานิสถาน และรัสเซีย เป็นต้น มรกตมีความแข็ง 7.5 – 8.0 ตามสเกลของโมห์ แต่ก็แตกง่ายกว่าอัญมณีชนิดอื่นๆเพราะมีรอยร้าวภายในค่อนข้างมาก จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพโดยนิยมใส่สารเพื่อช่วยบดบังรอยแตก เช่น น้ำมันพืช น้ำมันจากแร่ และยางสนธรรมชาติที่เรียกว่า Canada Balsam เป็นต้น ราคาเฉลี่ยมรกตธรรมชาติปัจจุบัน(2020) อยู่ที่ราว 169 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต โดยมรกตจากเขตมูโซในโคลอมเบียจะมีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะมีสีเขียวสดค่อนข้างใส ถือเป็นสีที่สวยเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยมีราคาเริ่มตั้งแต่ 200 ดอลลาร์สหรัฐไปจนถึง 18,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลอยนั้น ในขณะที่มรกตสังเคราะห์จะมีราคาถูกกว่ามาก ซึ่งมรกตสังเคราะห์ที่มีคุณภาพดีที่สุดจะมีราคาสูงสุดอยู่ที่ 350 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต มรกตสังเคราะห์เป็นอัญมณีสังเคราะห์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในกลุ่มอัญมณีสังเคราะห์ทั้งหมด เนื่องจากกระบวนการที่ใช้ผลิตมรกตสังเคราะห์นั้นซับซ้อนและใช้เวลามาก โดยมรกตของโคลอมเบียขนาด 3 กะรัต จะมีราคาสูงกว่าเพชรโคลอมเบียขนาด 1 กะรัต 3 เม็ดที่มีคุณภาพเท่ากันถึง 6 เท่า มีการประเมินว่ามูลค่าของมรกตคุณภาพดีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 10 – 20% ต่อปี มรกตมักนิยมเจียระไนเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าเหลี่ยมมรกต (emerald cut) หากมรกตมีตำหนิมลทินมากและมีเนื้อทึบ มักเจียระไนเป็นแบบหลังเบี้ย สำหรับการเลือกซื้อมรกตควรพิจารณาที่สีต้องเขียวเข้มปานกลางถึงเขียวเข้ม สดใส ติดเหลืองหรือน้ำเงินเพียงเล็กน้อย สีสม่ำเสมอทั่วทั้งเม็ด มีประกายนุ่มนวลเหมือนกำมะหยี่ มีความโปร่งใส ดูมีประกายและมีสีสัน มรกตส่วนใหญ่จะมีมลทินและตำหนิ ถ้ามรกตชิ้นไหนมีความใสจนไร้ตำหนิ อาจเป็นของปลอม โดยตำหนิส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะคล้ายกิ่งไม้ หรือรากไม้ มรกตส่วนใหญ่มักเจียระไนแบบเหลี่ยมมรกต หรือที่เรียกว่า เหลี่ยมชั้น มรกตที่ดีควรมีการเจียระไนที่ได้สัดส่วนสวยงาม มีความสมดุล ซึ่งจะสังเกตได้จากความมีประกายสวย หากสัดส่วนสมดุลดีจะทำให้มีประกายสูงและมีสีสวยงามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อมรกตควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นมรกตธรรมชาติ โดยเลือกซื้อจากร้านหรือแหล่งที่เชื่อถือได้ และควรผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานสากลเสียก่อน

Read More

09/09/2564

5 การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ


มั่งคั่ง /กลุ่มตลาดเกิดใหม่หรือกลุ่มที่มองเครื่องประดับเป็นแรงบันดาลใจ/ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการแสดงความเป็นตัวของตัวเอง อุตสาหกรรมเครื่องประดับในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5-6 ต่อปี แต่เมื่อมาเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเครื่องประดับต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต อุตสาหกรรมเครื่องประดับกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายที่ต้องปรับตัวมาตลอดช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 5 อย่างคือ ความเป็นสากลและการควบรวมต่างๆ (Internationalization and Consolidation) การเติบโตของสินค้าที่มีแบรนด์ชัดเจน (The Growth of Branded Products) มุมใหม่ของช่องทางการจัดจำหน่าย (Reconfigured Channel Landscape) การบริโภคแบบลูกผสม (Polarization and Hybrid Consumption) และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกแฟชั่น (Fast Fashion) ความเป็นสากลและการควบรวมต่างๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ มีเพียงสองแบรนด์ใหญ่อย่าง Cartier และ Tiffany & Co. ที่ถูกจัดอับดับเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก นอกนั้นยังเป็นแบรนด์ที่อยู่ในระดับประเทศ เช่น Christ ในเยอรมนี หรือ Chow Tai Fook ในฮ่องกง แต่แบรนด์อื่นๆก็เริ่มนำตัวเองเข้าสู่ความเป็นสากลหรือเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น เช่น Swarovski นอกจากนี้แล้วจะมีการควบรวมหรือการเข้าซื้อธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องประดับด้วยเช่นกันการเติบโตของสินค้าที่มีแบรนด์ชัดเจน มีเพียงนาฬิกาเท่านั้นที่มีแบรนด์ชัดเจนและมีผลต่อยอดขายถึงร้อยละ60 แต่สำหรับเครื่องประดับมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น มีการศึกษาพบว่าเครื่องประดับที่มีแบรนด์ชัดเจนมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น (อาจถึงร้อยละ 40) จากผู้บริโภคกลุ่มเศรษฐีใหม่หรือกลุ่มที่มีเครื่องประดับเพื่อแสดงความมุมใหม่ของช่องทางการจัดจำหน่าย การขายเครื่องประดับออนไลน์จะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกายออนไลน์ แต่อาจไม่มากเท่า เนื่องจากเครื่องประดับที่มีราคาสูง ผู้บริโภคยังต้องการประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้เห็นและได้สัมผัสจากของจริงอยู่ การบริโภคแบบลูกผสม เริ่มมีลักษณะการบริโภคในตลาดแบบลูกผสม คือ การผสมกันระหว่างตลาดบนและตลาดล่าง เห็นได้จากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการซื้อเพชรขนาดมาตรฐานในจุดที่มีการลดราคาตามห้างสรรพสินค้ามากขึ้น ถ้าสามารถสร้างส่วนผสมของการขายสินค้าราคาสูงและราคาต่ำเข้าด้วยกันได้จะทำให้ได้ฐานของผู้บริโภคมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกแฟชั่น สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับแล้ว คำว่า Fast Fashion อาจเห็นภาพยากไปสักหน่อย แต่ถ้าธุรกิจสามารถยืดหยุ่นและปรับตัวได้ รวมไปถึงการร่วมงานกับพันธมิตรที่มีได้ ก็จะทำให้สามารถตอบสนองความรวดเร็วที่เกิดขึ้นได้แน่นอน การเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย จะช่วยเตรียมความพร้อมและรับมือ การเปลี่ยนแปลงที่จะได้เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการยื่นอยู่ในธุรกิจเครื่องประดับได้อย่างมั่นคง

Read More

08/09/2564

ทองตาปาน ของดีเมืองพังงา


ทองตาปาน เป็นพันธุ์จำปาดะสีทอง ของดีของอำเภอกะปง จังหวัดพังงา มีจุดเด่นที่ผลใหญ่สีทอง เนื้อหนา รสชาติหวาน และกลิ่นหอมละมุนไม่แรงเหมือนจำปาดะทั่วไปที่หอมฉุนจำปาดะ เป็นผลไม้ที่ชาวปักษ์ใต้นิยมรับประทาน มีลักษณะผลคล้ายกับขนุนแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลจำปาดะเป็นรูปทรงกระบอก ผลอ่อนจะมีสีน้ำตาลปนเหลืองเปลือกแข็งมียางมาก เมื่อสุกเปลือกจะนิ่มและมียางน้อยลง จำปาดะจะมีเนื้อนิ่ม ไม่แข็งกรอบเหมือนขนุน รสชาติหวานจัดและกลิ่นจะแรงกว่าขนุนในพื้นที่จังหวัดพังงา ถ้าพูดถึงเรื่องจำปาดะต้องยกให้ จำปาดะทองตาปาน ของตำบลเหมาะ อำเภอกะปง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจำปาดะ เบอร์ 1 ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในภาคใต้และภาคกลาง มีจุดเด่นที่ผลใหญ่สีทอง เนื้อหนาสีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน กลิ่นหอมละมุน จึงได้รับความนิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่า “ทองตาปาน” เป็นจำปาดะพันธุ์ดีอันดับต้นๆของประเทศไทยความเป็นมาของจำปาดะทองตาปานนั้นเริ่มต้นเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ที่สวนจำปาดะ ในพื้นที่ ม.1 ต.เหมาะ อ.กะปง จ.พังงา มีจำปาดะต้นหนึ่งที่มีลักษณะที่โดดเด่น ไม่เหมือนกับจำปาดะพื้นบ้านทั่วไป เจ้าของสวนจึง นำมาขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด โดยขยายพันธุ์ได้กว่า 200 นำมาปลูกจนเต็มพื้นที่สวนประมาณ 9 ไร่เมื่อผลผลิตออกมามีผลและเนื้อในเป็นสีเหลืองทอง จึงตั้งชื่อกันว่า “ทองตาปาน” ตามชื่อเจ้าของสวน ซึ่งจำปดะในสวนนี้มีการดูแลจัดการสวนเป็นอย่างดี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงจำปาดะทุกลูกจะห่อด้วยถุงพลาสติกสีดำป้องกันพวกสัตว์และแมลงมาทำลาย ทำให้คุณภาพจึงออกมาดีกว่าของทั่ว ๆ ไป

Read More

07/09/2564

คาโชเรโอ โชคชะตาคนงานเหมืองทอง


ในเหมืองทอง ที่สูงสุดในโลก บนเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรู คนงานเหมืองหลายหมื่นชีวิตยอมทำงานให้เจ้าของเหมืองฟรีๆเพื่อแลกกับเวลา 1-2 วันที่พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้ทำงานในเหมืองและเก็บสิ่งที่พบได้ เป็นระบบที่เรียกว่า คาโชเรโอ ถ้าไม่พบอะไรเลย ก็เท่ากับว่าพวกเขาทำงานให้เหมืองฟรีๆห้ากิโลเมตรเหนือพื้นดิน บนเทือกเขาแอนดีสของเปรู คือที่ตั้งของลารินกอนาดา ชุมชนสูงที่สุดในโลก ที่อยู่กันอย่างแร้นแค้นกันดาร และฝากความหวังไว้กับ ทองคำ ใน เหมืองทองที่สูงที่สุด ที่ซึ่งมีออกซิเจนเบาบาง ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่ชั่วคราวราว 30,000 ถึง 50,000 คน และเต็มไปด้วยขยะ อาชญากรรมและการลวงละเมิดทางเพศเหมืองส่วนใหญ่ของที่นี่ดำเนินการภายใต้สัญญาแบบ “ไม่เป็นทางการ” หรือนอกระบบ หมายถึง เหมืองมีสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ได้รับอนุญาตโดยรัฐบาลให้ดำเนินการได้เจ้าของสัญญาทำเหมืองนอกระบบมักอาศัยอยู่นอกลารินกอนาดาและ ปล่อยกิจการให้อยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้างานที่ ไว้ใจได้ ให้ทำหน้าที่จัดการแรงงาน ข้อตกลงสำหรับแรงงานมักกระทำด้วยวาจา หัวหน้าคนงานจะจ้างคนงานตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับสายแร่ที่พบในขณะนั้น พวกคนงานอาจได้รับอาหารและที่พัก โดยไม่มีผลประโยชน์หรือค่าจ้างตอบแทน แม้คนทำเหมืองจะไม่ยเห็ด้วยกับระบบนี้ แต่ไม่มีใครอยากจะเปลี่ยนแปลงจริงจัง สำหรับเจ้าของสัญญาเช่าแล้ว มันจ่ายถูกกว่า และก็ง่ายกว่าและสำหรับคนงานก็ง่าน ถ้าจะทิ้งงานไป หากชั่งใจว่าได้มากพอแล้ว แต่ส่วนใหญ่เลือกจะ อยู่ต่อ เพราะหวังว่าจะเจอโชคครั้งใหญ่จากวันหรือสองวันต่อเดือนนั้นในการทำเหมือวงทองจะใช้การขุดขุดสายแร่ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าระเบิดไดนาไมต์และสว่านอัดอากาศ โรงถลุงแร่ขนาดเล็กจะบดสินแร่ แล้วเติมปรอทหรือไซยาไนด์เพื่อสกัดเอาทองคำ จากนั้น เครือข่ายนายหน้าจะเข้าไปซื้อขายทองคำเหล่านี้ ซึ่งทองคำส่วนใหญ่จากเปรูจะถูกส่งออกไปยังโรงผลิตทองคำในต่างประเทศ ในจำนวนนี้ หนึ่งในสามถูกส่งไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตทองคำมากถึงร้อยละ 70 ของโลก

Read More

06/09/2564

ม้านั่งทองคำ รางวัลเทรนเนอร์ยอดเยี่ยมแห่งเซเรีย อา


จาน ปิเอโร่ กัสเปรินี่ ผู้พา อตาลันต้า จบอันดับ 4 ในเซเรีย อา พร้อมกับที่เป็นรองแชมป์โคปปา อิตาเลีย และพาอตาลันต้าเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก คว้ารางวัล คว้ารางัล ม้านั่งทองคำ รางวัล หรือ เทรนเนอร์ยอดเยี่ยมประจำปีแห่งศึกกัลป์โซ่ เซเรีย อา เป็นปีที่2 ติดต่อกันสมาคมโค้ชอิตาเลี่ยน ได้มอบรางวัลม้านั่งทองคำ หรือโค้ชยอดเยี่ยมแห่งปีให้กับ จาน ปิเอโร่ กาสเปรินี่ นายใหญ่ของ อตาลันต้า จากการโหวตของเพื่อนผู้จัดการทีมร่วมลีก โดยเขานำทีมทำผลงานได้อย่างสุดยอดต่อเนื่อง และช่วยให้อตาลันต้าจบในอันดับที่ 3 ของเซเรีย อาเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ขณะเดียวกันผลงานในฟุตบอลยุโรปก็ถือว่ายอดเยี่ยม เมื่อนำอตาลันต้าผ่านเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสรเทรนเนอร์วัย 63 ปีเข้ามาคุมทีมอตาลันต้าครั้งแรกเมื่อปี 2016 ก่อนจะสร้างทีมขึ้นมากลายเป็นสโมสรชั้นนำของลีกและมีลุ้นไปเตะแชมเปี้ยนส์ ลีกเป็นฤดูกาลที่ 3 ติดต่อกัน เขาคืออีกคนที่แสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องได้แชมป์ซีเรีย อา ก็สามารถรับรางวัลนี้ได้หากมีฝีมือพอ นอกจากความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว อตาลันต้า ยังได้ชื่อว่าเป็นบอลที่ไม่เน้นสตาร์ อาศัยการเล่นเป็นทีม ทุกคนช่วยกันวิ่งช่วยกันเล่น เป็นฟุตบอลเกมรุกที่เล่นได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ย้อนกลับไปในช่วงต้นฤดูกาล 2016-17 ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของ กัสเปรินี่ ที่ทำให้ทีมอตาลันต้า มาถึงตรงนี้ได้ คือการออกสตาร์ทที่ย่ำแย่ชนะเพียง 2 นัด จาก 6 นัดแรก ว่ากันว่าหากนัดที่ 7 ยังแพ้อีกคงต้องโดนเด้งออกจากตำแหน่งอย่างแน่นอน ผลปรากฎว่า กัสเปรินี่ สามารถนำลูกทีมชนะทีมแกร่งอย่างนาโปลีได้ 1 ประตูต่อ 0 ด้วยผู้เล่นดาวรุ่งที่ถูกส่งลงสนามแทนตัวเก๋าเกือบหมด ผลการแข่งขันในวันนั้น ทำให้พวกเขาบินสูงมาจนถึงวันนี้ จากการตัดสินใจของกัสเปรินี่ ที่กล้าเลือกใช้ดาวรุ่งลงสนาม ทำให้ทีมสามารถจบอันดับ 7 และอันดับ 3 ติดต่อกัน 2 ปี ได้สิทธิ์

Read More

05/09/2564

WGC ประมาณความต้องการทองคำ Q2/64 ทรงตัว


สภาทองคำโลก (WGC) ประเมินว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ระดับ 955.1 ตัน ซึ่งทรงตัวเมื่อเทียบเป็นรายปี แต่เพิ่มขึ้นราว 17% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนและธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มการเข้าซื้อทองคำอย่างไรก็ดี ผลกระทบของโรคโควิด-19 ก็ทำให้ความต้องการทองคำเพื่อนำมาใช้ในการทำอัญมณีชะลอตัวลง โดย6 เดือนแรกของปี 2564 ความต้องการปรับตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปีอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ความต้องการทองคำของผู้ผลิตอัญมณี ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน และทำให้ร้านอัญมณีต้องปิดตัวลง และส่งผลกระทบทำให้ประชาชนขาดนรายได้ทั้งนี้ WGC ระบุด้วยว่า ความต้องการทองคำในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 1,833.1 ตัน ลดลงจากระดับ 2,044 ตันในปี 2563 และลดลงจากระดับ 2,195.5 ตันในปี 2562 ขณะทีกองทุน ETF ซึ่งเป็นสถาบันที่เก็บรักษาทองคำสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ ได้เพิ่มการถือครองทองคำในไตรมาส 2/2564 หลังจากที่ปรับลดการถือครองทองคำในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้านั้น ในส่วนของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกได้เข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2/2564 มากกว่าไตรมาสใดๆ ในช่วงเวลา 2 ปี และความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำจากบรรดาผู้ผลิตอัญมณีและนักลงทุนได้ปรับตัวลงต่ำกว่าในช่วงไตรมาส 1/2564 แต่ก็ยังคงสูงกว่าในไตรมาส 2/2563 WGC คาดการณ์ว่า ความต้องการอัญมณีทั่วโลกตลอดทั้งปี 2564 จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอยู่ในช่วง 1,600-1,800 ตัน ส่วนความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองของทั้งนักลงทุนและ ETF จะอยู่ที่ 1,250-1,400 ตันในปี 2564 ลดลงจากระดับของปี 2563 แต่ก็ยังอยู่ที่ราวระดับเฉลี่ยของช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

Read More

04/09/2564

การลงทุนทองคำในระยะยาวยังสดใส


ในปี 2563 ราคาทองคำปรับขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 2,075 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัจจุบันทองคำก็ยังได้รับความนิยมอยู่สำหรับนักลงทุน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ได้แม้ราคาทองคำจะปรับลดลงมาบ้างแต่เชื่อว่าก็ยังคงอยู่ราคาอยู่ในระดับสูงต่อไป ในเรื่องนี้ สภาทองคำโลก ได้อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้ทิศทางราคาทองคำจะยังคงเป็นขาขึ้นต่อไป ว่าเป็นเพราะ ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาผันผวนน้อย ขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ ประกอบกับนักลงทุนยังคงมองว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่นยังคงมีความเสี่ยงสูง ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว จึงทำให้กระแสเงินลงทุนไหลเข้าสู่ตลาดทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการจากผู้บริโภคชาวจีนและอินเดีย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยบวกต่อทิศทางราคาทองคำทั้งสิ้นสำหรับนักลงทุนที่กำลังตัดสินใจลงทุนหรือว่าถือทองคำอยู่แล้วและเน้นลงทุนระยะยาว ยังสามารถลงทุนและถือต่อไปได้ โดยพฤติกรรมการลงทุนทองคำในระยะยาวจะลงทุนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป หรืออาจถือข้ามปี ซึ่งกลยุทธ์ในการลงทุน ก็คือ ทยอยซื้อในช่วงต้นปีหรือช่วงตรุษจีน จากนั้นให้ถือและรอจังหวะทยอยขายในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือ ก่อนสิ้นปี นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักลงทุนทองคำที่ทยอยลงทุนไปเรื่อย ๆ และถือเป็นระยะเวลาหลายปีหรือสะสมเพื่อเป็นมรดก เพราะเชื่อว่าการถือทองคำเกิน 10 ปี จะมีแต่กำไร อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่าในการลงทุนนั้น นักลงทุนควรพิจารณาราคาทองคำย้อนหลังในอดีต ประมาณ 7-10 ปีควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เห็นภาพทิศทางราคาทองคำที่แม่นยำมากขึ้น เช่น สถิติราคาทองคำ 7 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงต้นปี 2564 พบว่าราคาทองคำ (Gold Spot) ในระดับต่ำสุดของแต่ละปี จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้นักวิเคราะห์ทองคำทั่วโลกประเมินว่าทิศทางราคาทองคำยังเป็นขาขึ้นในระยะยาวค่อนข้างชัดเจน

Read More

03/09/2564

เรื่องทองคำ คุยเท่าไหร่ก็ไม่จบ


ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ทองคำ ก็ยังคงถูกพูดถึงและมีความสำคัญไม่เสื่อมคลาย ไม่ว่าจะในบทบาทของเครื่องประดับ ความเชื่อ วัฒนธรรม เครื่องหมายแสดงสถานะทางสังคม สินทรัพย์ และการลงทุน และนี่คือประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับทองคำ ทองคำอยู่กับมนุษย์มานาน ทองคำ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Gold มาจากคำว่า “geolo” ซึ่งหมายถึงสีเหลือง สันนิฐานว่าอยู่กับมนุษย์ยาวนานกว่า 5,000 ปี มีค้นพบครั้งแรกในแถบพื้นที่เอเชียตะวันตก รวมถึงประเทศอียิปต์ ทองคำในสมัยโบราณถูกนำมาใช้ในแง่ของการตกแต่งและพิธีกรรมทางศาสนา ทองคำกับประเทศไทย ในประเทศไทยมีการใช้ทองคำอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา คนไทยในสมัยนั้น นิยมใช้ทองคำทำเป็นเครื่องใช้เครื่องประดับ ทำเสื้อผ้าอาภรณ์ ทำเป็นรูปเคารพ ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมชั้นสูง ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงินตรา หรือใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ การเปลี่ยนสถานะทองคำจากเครื่องประดับมาเป็นเครื่องมือทาง “การค้า”ในประเทศไทย ข้อมูลจากสมาคมค้าทองคำระบุว่า ในอดีต การค้าทองคำมีลักษณะต่างคนต่างทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำ เช่น ค่ากำเหน็จ การกำหนดเวลาเปิด - ปิด รวมถึงการผลิตที่บางรายผลิตทอง 99% บางรายก็ผลิตทอง 97% เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวถูกจัดการด้วยการรวมตัวผู้ประกอบการร้านค้าทองรายใหญ่ในย่านถนนเยาวราชตั้งเป็น ชมรมร้านค้าทอง 11 ห้าง และยกระดับสู่การเป็น สมาคมค้าทองคำ ในปัจจุบัน มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทที่เกี่ยวกับ การค้าทองคำ ตัวแปรสำคัญในการกำหนดราคาทองของไทย มี 4 ปัจจัย คือ 1.ราคาทองต่างประเทศ (Gold spot) 2.ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้า/ส่งออกทองคำ 3.ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 4.Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ

Read More

02/09/2564

ย้อนรอยราคาทองคำ จากหลักร้อย ถึงหลักหมื่น


คนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในยุคหลังตั้งแต่ปี 2550 มาจนถึงปัจจุบัน อาจุ้นชิ้นกับราคาทองคำที่ราคาบาทละ10,000 กว่าบาทจนถึงทะลุ 30,000 บาท เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ถ้าย้อนเวลาไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว อาจจินตนาการไม่ได้ว่าทองคำ 1บาทซื้อขายกันในราคาเท่าไหร่ และนี่คือราคาทองคำตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวบรมโดยสมาคมค้าทองคำ พ.ศ. 2508 บาทละ 416 บาทพ.ศ. 2509 บาทละ 414 บาทพ.ศ. 2510 บาทละ 416 บาทพ.ศ. 2511 บาทละ 451 บาทพ.ศ. 2512 บาทละ 476 บาทพ.ศ. 2513 บาทละ 416 บาทพ.ศ. 2514 บาทละ 451 บาทพ.ศ. 2515 บาทละ 576 บาทพ.ศ. 2516 บาทละ 912 บาทพ.ศ. 2517 บาทละ 1,497 บาทพ.ศ. 2518 บาทละ 1,580 บาทพ.ศ. 2519 บาทละ 1,379 บาทพ.ศ. 2520 บาทละ 1,519 บาทพ.ศ. 2521 บาทละ 1,982 บาทพ.ศ. 2522 บาทละ 3,063 บาทพ.ศ. 2523 บาทละ 5,660 บาทพ.ศ. 2524 บาทละ 4,869 บาทพ.ศ. 2525 บาทละ 4,239 บาทพ.ศ. 2526 บาทละ 4,791 บาทพ.ศ. 2527 บาทละ 4,233 บาทพ.ศ. 2528 บาทละ 4,274 บาทพ.ศ. 2529 บาทละ 4,708 บาทพ.ศ. 2530 บาทละ 5,614 บาทพ.ศ. 2531 บาทละ 5,644 บาทพ.ศ. 2532 บาทละ 5,004 บาท

Read More

28/08/2564

เวียดนาม บริโภคทองคำมากที่สุดในอาเซียน


สภาทองคำโลกรายงานตัวเลขประเทศที่บริโภคทองคำมากที่สุดในอาเซี่ยนในปี2563 คือประเทศเวียดนาม บริโภคทองคำมากถึง19.8 ตัน ส่วนไทยการบริโภคทองคำติดลบสภาทองคำโลกหรือWCG รายงานเพิ่มเติมว่าการบริโภคทองคำของเวียดนามมีการขยายตัวมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่าอินโดนีเซียที่บริโภคทองคำตลอดปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 37.6 ตัน มาเลเซีย 13.1 ตัน และสิงคโปร์ 9.4 ตันทองคำถือเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมในหมู่นักลงทุนเวียดนาม มีการสำรวจพบว่าคนที่เคยซื้อทองคำแล้ว 81% จะกลับมาซื้อเพิ่มเติมซึ่งคิดเป็นเกือบ 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 45% และนอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนให้มีการเปิดบัญชีลงทุนทองคำกับธนาคารเพื่อทำให้การซื้อขายทองคำเป็นทางการมากขึ้นจากปัจจุบันที่ซื้อขายกันผ่านร้านทองผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียนของสภาทองคำโลกกว่าว่า ความต้องการทองคำในเวียดนามแข็งแกร่งมากซึ่งเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่นการซื้อทองคำผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอล การเปิดบัญชีการลงทุนทองคำ เป็นต้นจีนและอินเดียที่เป็นประเทศที่บริโภคทองคำรายใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลก ซึ่งในปี 2563 ความต้องการทองคำจากจีนและอินเดียลดลงถึง 35% และ 42% ตามลำดับ

Read More

27/08/2564

"โต๊ะโมะ" เบื้อหลังป่าอัศจรรย์ใน“เพชรพระอุมา”


เพชรพระอุมา นิยายผจญภัยสุดคลาสสิกยาวที่สุดในเมืองไทยจากปลายปากกาของ “พนมเทียน” มีป่าโต๊ะโมะเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างฉากการผจญภัยการต่อสู้ชวนดิดตาม ด้วยมีความผูกพันกับป่านี้มาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งต้นตระกูลยังเป็นเจ้าของสัมปทาน เหมืองทองคำโต๊ะโมะอีกด้วยพนมเทียน หรือฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เกิดที่ปัตตานี มีบ้านอยู่สายบุรี มีชีวิตผูกพันกับป่ามาตั้งแต่เด็ก “ป่าโต๊ะโมะ” หรือที่ปัจจุบันคือป่าใน ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เป็นสถานที่ๆผูกพันกับพนมเทียนมาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะต้นตระกูลวิเศษสุวรรณภูมิ ตั้งแต่รุ่นคุณทวด “พระวิเศษสุวรรณภูมิ” ได้สัมปทานทำ “เหมืองทองคำโต๊ะโมะ” (บ้านโต๊ะโมะ ต.ภูเขาทอง) มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนส่งต่อให้คุณปู่ คือ “หลวงวิเศษสุวรรณภูมิ”ป่าโต๊ะโมะถือเป็นป่าอันน่ามหัศจรรย์ เพราะใต้ดินที่นี่เต็มไปด้วยแร่ทองคำ แม้ปัจจุบันการทำเหมืองทองจะเลิกไปแล้วแต่ก็ยังมีทองคำจากใต้ดินให้ชาวบ้านได้ร่อนหานำมาขาย สร้างงานสร้างรายได้ จนทำให้บริเวณนี้ได้รับการเรียกขานใหม่ในภายหลังว่า “บ้านภูเขาทอง”ป่าโต๊ะโมะ เป็นโรงเรียนฝึกพรานและการใช้ชีวิตในป่าแห่งแรกของพนมเทียน ซึ่งเขาได้นำประสบการณ์จากป่าแห่งนี้ไปเป็นแรงบันดาลใจต่อยอดจินตนาการ สร้างเป็นฉากผืนป่าอันน่าทึ่งหลากหลายในอมตะนิยาย “เพชรพระอุมา”ปัจจุบัน แม้เหมืองทองคำโต๊ะโมะจะเลิกทำกิจการกลายเป็นเหมืองร้างมากว่า 30 ปีแล้ว แต่ด้วยอดีตอันรุ่งโรจน์ของเหมืองทองแห่งนี้ยังคงอยู่ ด้วยเหตุนี้ชาวชุมชนบ้านภูเขาจึงได้ต่อยอดพัฒนาพื้นที่บริเวณ (อดีต) เหมืองทองคำโต๊ะโมะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเปิด “อุโมงค์ลำเลียง” ที่เป็นอุโมงค์ใต้ภูเขา ใช้สำหรับขนส่งแร่และเครื่องมือต่าง ๆ เมื่อสมัยยังเปิดเหมืองทองคำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศในอดีตกันด้วย

Read More

26/08/2564

ทับทิมสีเลือดนกพิราบ สุดยอดอัญมณีแห่งเมียนมา


ทับทิมสีเลือดนกพิราบจากเหมืองโมกก ได้ชื่อว่าเป็นทับทิมที่สวยงามและมีคุณค่ามาก จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนและนักสะสมทั่วโลก แต่ปัจจุบันการค้าขายทับทิมกับเมียนมาทำได้ยากเนื่องจากสถาณการณ์ทางการเมืองและการโดนคว่ำบาตรจากสหรัฐ จึงทำทับทิมสีเลือดนกพิราบมีราคาสูงขึ้นทับทิมที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 5 กะรัตขึ้นไปเป็นทับทิมที่เป็นความต้องการของนักสะสมและนักลงทุนมากที่สุด หากเปรียบเทียบกับทับทิมโมซัมบิกที่มีขนาดเท่ากันและไม่ผ่านการเผาเหมอนกัน ทับทิมเมียนมาจะมีราคาสูงกว่า 7 – 10 เท่าตัว นอกจากนี้ทับทิมเกรดพรีเมียมขนาดต่างๆ ของเมียนมาก็มีราคาสูงกว่าทับทิมจากแหล่งอื่นๆ ราว 2 – 10 เท่าตัว ปัจจุบันผู้ค้าส่วนใหญ่จะนำทับทิมที่เก็บไว้ในสต๊อกออกมาขาย ฉะนั้น ผู้ที่เก็บสะสมทับทิมเมียนมาไว้จำนวนมากจะได้เปรียบในการทำกำไรจากการขายทับทิม ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอัญมณีคาดการณ์ว่า ทับทิมเมียนมาที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนจะมีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดที่นิยมทับทิมไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ จีนและยุโรป เหมืองโมกก อยู่ในจังหวัดโมกก ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ในหุบเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,850 ฟุต มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นที่ได้รับการยอมรับกันว่าทับทิมที่ดีที่สุดของโลกได้มาจากเหมืองโมกก ที่นี่เป็นทั้งแหล่งผลิต ขุด เจียระไน และขายพลอย ภูเขาต่างๆที่เรียงรายรอบโมกก เป็นแหล่งทำพลอยเกือบทั้งสิ้น แม้แต่หลังบ้านของชาวบ้านก็มีบ่อพลอย อาจจะเรียกว่าที่นี่ยังมีสายแร่พลอยที่อุดมสมบูรณ์มาก

Read More

24/08/2564

ธปท.ซื้อทองคำสำรองเพิ่มกว่า 90 ตัน


มีรายงานว่าในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซื้อทองคำสำรองเพิ่มขึ้นกว่า 90 ตัน มาติดอันดับโลกในปีนี้ เช่นเดียวกับธนาคารกลางของฮังการี ที่ประกาศซื้อทองคำมากถึง 63 ตันในช่วงเวลาเดียวกันทำให้ทองคำสำรองของฮังการีเพิ่มขึ้นสามเท่าจาก 31.5 ตันเป็น 94.5 ตันในขณะที่การซื้อทองคำจำนวน 63.5 ตันของฮังการีถือเป็นการซื้อทองคำล็อตใหญ่ที่สุด ที่สร้างความสนใจให้ตลาดทองคำได้ไม่น้อย การเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงการสำรองทองคำเพิ่มขึ้นกว่า 90 ตันของนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะการซื้อทองคำสำรอง 90 ตันของไทย (เพิ่มขึ้น 43.5 ตัน ในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้นอีก 46.5 ตันในเดือนพฤษภาคม) ทำให้ไทยมีทองคำสำรองรวมจาก 154 ตันเป็น 244 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 58.4%มูลค่าทองคำของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมกราคม มีทองคำรวมมูลค่า 273,869.68 ล้านบาทกุมภาพันธ์ มีทองคำรวมมูลค่า 257,649.29 ล้านบาทมีนาคม มีทองคำรวมมูลค่า 264,808.71 ล้านบาทเมษายน มีทองคำรวมมูลค่า 350,293.43 ล้านบาท พฤษภาคม มีทองคำรวมมูลค่า 467,614.67 ล้านบาทและล่าสุดเดือนมิถุนายน มีทองคำรวมมูลค่า 445,226.54 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา การซื้อทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการสะสมทองคำระยะสั้นที่สูงที่สุด นับตั้งแต่โปแลนด์ ซื้อทองคำ 100 ตัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 สันนิษฐานว่าการซื้อทองคำจำนวนมากของธปท.ในเวลานี้ อาจเป็นเหตุผลเดียวกับที่ฮังการีและโปแลนด์ที่ว่าทองคำ “เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย” และ“ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ปลอดภัยที่สุดในโลก”ทั้งนี้ธนาคารกลางของโปแลนด์กล่าว ไว้ว่า “ได้ซื้อทองคำเนื่องจากเป็นสินทรัพย์กระจายความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และเป็นจุดยึดความเชื่อมั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของความตึงเครียดและวิกฤต” และเป็น“การเพิ่มความมั่นคงทางการเงินเชิงกลยุทธ์ของประเทศ ”.นอกจากนี้เชื่อว่าแรงจูงใจในการซื้อทองคำของธนาคารกลางน่าจะมาจากเหตุผลเหล่านี้ •ป้องกันในช่วงวิกฤต•เป็นเครื่องเก็บมูลค่าระยะยาว•เป็นตัวกระจายพอร์ตการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ•ขาดความเสี่ยงในการผิดนัดและความเสี่ยงทางการเมือง•มีสภาพคล่องสูงและในขั้นวิกฤต ทองคำคือ “ความคาดหมายของการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินระหว่างประเทศ ”โดยธนาคารกลาง

Read More

23/08/2564

ตลาดเครื่องประดับเงินส่งสัญญาณฟื้นตัวในปีนี้


รายงาน World Silver Survey 2021 ระบุว่าความต้องการโลหะเงินเพื่อการผลิตเครื่องประดับจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ในปีนี้ เหตุผลมาจากการเพิ่มสต็อกของร้านค้าปลีกเครื่องประดับ มาตรการควบคุม Covid-19 ที่ผ่อนคลายลง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในปี 2020 การผลิตเครื่องประดับเงินลดลงร้อยละ 26 จาก 200.3 ล้านออนซ์เมื่อปี 2019 มาอยู่ที่ 148.6 ล้านออนซ์ในปี 2020 โดยมีสาเหตุมาจากผลกระทบของ Covid-19 ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค อีกทั้งผู้บริโภคราบใหญ่อย่างอินเดียนั้นมีปริมาณการผลิตลดลง ส่วนการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปีเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรปนั้นได้รับผลกระทบจาก Covid-19 หากแต่ไทยก็ยังเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินในอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1,300ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การผลิตเครื่องประดับเงินของจีนก็ลดต่ำลงมากเช่นกันในปี 2020 เนื่องจาก Covid-19 ส่งผลต่อธุรกิจในช่วงเทศกาลจับจ่ายซื้อสินค้าระหว่างไตรมาสที่หนึ่งของปีที่ผ่านมา และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังไม่มากนักตลอดทั้งปี แต่ในปีนี้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง ตลาดเครื่องประดับจีนจึงกลับมาฟื้นตัวขึ้นจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือก็ได้รับความสูญเสียอย่างหนักจากการบริโภคที่ลดลงและการที่ร้านค้าปลีกเครื่องประดับลดปริมาณสินค้าคงคลังค่อนข้างมากกันทุกร้าน ตามรายงาน World Silver Survey 2021 คาดการว่าปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินในปี 2021 จะขยายดัวขึ้นโดยอินเดียผู้ผลิตรายสำคัญจะเติบโตถึงร้อยละ 50 ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างไทยและจีน คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ขณะที่ประเทศยุโรปจะเติบโตถึงร้อยละ 20 สำหรับอเมริกาเหนือคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12 ซึ่งปริมาณการผลิตเครื่องประดับเงินของประเทศต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความต้องของผู้บริโภคในตลาดที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง นอกจากนี้ยังคาดว่าราคาโลหะเงินจะเพิ่มขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 32 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ในช่วงหลังของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเฉลี่ยโดยรวมตลอดปี 2021 อยู่ที่ 27.30 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากราคาเงินเฉลี่ยในปี 2020 ที่ 20.55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ที่มา:ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

Read More

22/08/2564

การลงทุนอัญมณีและเครื่องประดับที่น่าสนใจ ในปี 2021 (2)


(ต่อ) 5. แซปไฟร์แคชเมียร์ จากประเทศอินเดียเป็นแซปไฟร์ที่ตลาดให้ความนิยมและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มีความนิยมใช้แหวนหมั้นประดับด้วยแซปไฟร์กันอย่างกว้างขวาง เมื่อ 50 ปีก่อนแซฟไฟร์แคชเมียร์ 1 กะรัต ราคาราว 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันราคาสูงถึง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กะรัต 6. มรกตโคลอมเบีย เป็นอัญมณีอีกชนิดหนึ่งที่นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้ามาลงทุนได้ด้วยเงินลงทุนไม่ ราคาเฉลี่ยของมรกตโคลอมเบียคุณภาพดีต่อ 1 กะรัต อยู่ที่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ 7. สปิเนลสีแดง จากเหมืองโมกก ในเมียนมา ซีลอน ศรีลังกา หรือจากแทนซาเนีย จึงคุ้มค่าการลงทุน อีกทั้งราคาของสปิเนลยังไม่สูงมากทำให้นักลงทุนไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเหมือนอัญมณีหรือเครื่องประดับอื่นๆ ในปี 2021 ราคาโดยเฉลี่ยต่อ 1 กะรัต อยู่ที่ 600-1,800 ดอลลาร์สหรัฐ 8. ทองคำและแพลทินัม เป็นโลหะมีค่าที่เป็นทั้งสินค้าโภคภัณฑ์และเครื่องประดับ ซึ่งมีราคาขึ้น-ลงตามการเก็งกำไรจากนักลงทุน แต่มักให้ผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่โลหะมีค่าทั้งสองนี้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุน โดยปีนี้ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักความน่าสนใจที่แพลทินัมมากกว่าทองคำ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแอฟริกาใต้ที่เป็นประเทศผู้ผลิตแพลทินัมรายใหญ่ของโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 73% ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแพลทินัม ขณะที่มีแรงซื้อจากหลายอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แพลทินัมในการผลิตกลับคืนมา 9. เครื่องประดับที่ประทับตราแบรนด์ชื่อดัง อย่าง Bvlgari หรือ Cartier สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้นับพันดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจัยที่สร้างคุณค่านี้มาจากการออกแบบที่โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว และความหายากของเครื่องประดับในคอลเลคชั่นที่ผ่านการออกแบบจากดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียง เมื่อเวลาผ่านไปเครื่องประดับเหล่านี้จะมีคุณค่าและราคาสูงขึ้นตามลำดับ 10. แหวนวินเทจหายาก เป็นอีกหนึ่งความชื่นชอบของนักสะสมเช่นเดียวกับเครื่องประดับแนววินเทจอื่นๆ แหวนแนวนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง 80% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การลงทุนต้องไม่ลืมว่ามีความเสี่ยงตามมาด้วย การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอาจมีผลตอบแทนที่สูงและน่าสนใจ ก็ต้องยอมรับในความเสี่ยงทีอาจเกิดขึ้นได้

Read More

21/08/2564

การลงทุนอัญมณีและเครื่องประดับที่น่าสนใจ ในปี 2021 (1)


สินทรัพย์อย่างอัญมณีและเครื่องประดับนั้น นอกจากสวยงามชวนหลงใหลแล้ว ยังสามารถให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาว ในปี 2021 นี้บริษัท Estate Diamond Jewelry บริษัทอัญมณีและเครื่องประดับ ได้มีการรวบรวมเครื่องประดับที่น่าลงทุนที่สุด 10 อันดับ (เรียงตามพิกัดศุลกากร 71) ไว้ดังนี้ 1. ไข่มุกธรรมชาติน้ำเค็ม ไข่มุกน้ำเค็มที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นนอกจากความหายากและเสี่ยงอันตรายในการงมหาแล้ว ยังมีเพียง 1 ในหมื่นของหอยมุกในธรรรมชาติที่มีคุณภาพเพียงพอมาทำเครื่องประดับ จึงทำให้ราคาของไข่มุกน้ำเค็มตามธรรมชาติมีราคาสูงกว่าไข่มุกน้ำจืดและไข่มุกเลี้ยง สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ควรเลือกเครื่องประดับมุกประเภทนี้ที่เป็นงานของเก่าโบราณและมาจากงานออกแบบของดีไซน์เนอร์มีชื่อ จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปอีกในอนาคต ข้อมูลจาก www.gemsociety.org ระบุว่า ราคาของไข่มุกธรรมชาติน้ำเค็มแพงกว่าไข่มุกเลี้ยงอะโกย่า 10-20 เท่า (ปัจจุบัน สร้อยไข่มุกอะโกย่า ราคาประมาณ 300-10,000 ดอลลาร์สหรัฐ) 2. เพชร Type II 1 เพชรที่ขุดพบส่วนใหญ่ราว 98% ของเพชรทั้งหมดจะมีการเจือปนของมลทินในเพชร ทำให้ถูกจัดในประเภทเพชร Type Ia และ Ib ขณะที่อีก 2% เป็นเพชรที่มีความสะอาดมากกว่า ถูกจัดไว้ในประเภท Type II ที่มีความสะอาดของเพชรสูงมีมลทินน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย โดยราคาของเพชรประเภทนี้จะสูงกว่าเพชร Type I ประมาณ 2-3% ดังนั้น ด้วยความหายากและความสะอาดของเพชร ที่สูงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุน 3. เพชรสีแฟนซี เพชรสีนั้นสามารถพบได้ยากกว่าเพชรใสไม่มีสี ในเพชรที่ขุดพบหมื่นเม็ดมีเพชรสีเพียง 1 เม็ดเท่านั้น ขณะที่ราคาเพชรสีขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในเอเชียที่มีเทรนด์จากคนรุ่นใหม่ซึ่งต้องการเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีรูปแบบและสีสันที่แตกต่างไปจากแบบเดิมๆ เพชรสีจึงตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว โดยสีที่นิยมได้แก่ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีชมพู และสีเขียว 4. ทับทิมเมียนมาที่ไม่ผ่านการเผา ทับทิมจากเมียนมา มีคุณภาพดีที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เป็นที่ต้องการของนักสะสม มีจุดเด่นที่มีสีแดงสดเสมือนสีของเลือดนกพิราบ ทำให้ทับทิมจากเมียนมามีราคาสูงและหากเป็นทับทิมที่ไม่ผ่านการเผาเพื่อปรับปรุงคุณภาพแล้ว ยิ่งสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย

Read More

20/08/2564

อัญมณีและเครื่องประดับ การลงทุนที่ยั่งยืน


อัญมณีและเครื่องประดับอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในสมัยอารยธรรมกรีกและโรมัน มีการใช้เครื่องประดับแทนเงินตราและการลงทุนหากำไร ในขณะที่ปัจจุบันมีการนำเครื่องประดับมาใช้ในหลายรูปแบบทั้งเพื่อสวมใส่และเพื่อการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จึงอาจกล่าวได้ว่าเครื่องประดับและของมีค่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในอัญมณีและเครื่องประดับนั้นแตกต่างจากสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ เพราะความสวยงามของแต่ละชิ้นงานสามารถสร้างความหลงใหลให้แก่ผู้พบเห็น ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นด้วย โดยความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นจากการลงทุน แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ 1. อัญมณีและโลหะมีค่า มีความเสถียรมากกว่า เมื่อเทียบกับมูลค่าของเงินตราที่มีความผันผวน ทองคำ เพชร หรือโลหะมีค่า ค่อนข้างมีเสถียรภาพในมูลค่ามากกว่า แม้ว่าการซื้อ-ขายทองคำที่นักลงทุนนิยม ราคาจะขึ้นลงตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ทองคำยังคงความน่าเชื่อถือมายาวนานยิ่งกว่าสกุลเงินตราของแต่ละประเทศ สำหรับเพชรและโลหะมีค่านั้นก็มีการกำหนดราคากลางที่ทั่วโลกสามารถใช้อ้างอิงเพื่อการลงทุนได้จากหลายองค์กรที่มี 2. การลงทุนในอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด ในสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจพบว่า การเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์หรือตลาดทุนมีความผันผวนสูงและแปรผันไปในทิศทางเดียวกันกับสภาพเศรษฐกิจ ข้อมูลจาก บริษัทให้บริการทางการเงินชี้ว่า สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสวนกระแสดีที่สุดในช่วงวิกฤต 3 อันดับแรก คือ กองทุน Hedge Fund พันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ และทองคำ โดยให้ผลตอบแทน 25%, 18% และ 11% ตามลำดับ ไม่เพียงแต่ทองคำเท่านั้น การถือครองอัญมณีและสินทรัพย์มีค่าในระยะยาวก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพมากกว่าสินทรัพย์อื่นเช่นกัน 3. อัญมณีและเครื่องประดับเป็นการลงทุนทางใจ เมื่อเราพูดถึงอัญมณีและเครื่องประดับ คนส่วนมากมักนึกถึงช่วงเวลาที่สำคัญ ความทรงจำดีๆ คนที่เรารัก หรือวันครบรอบเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่มีสินทรัพย์อื่นสามารถทำได้อย่างอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะนี่เป็นการลงทุนทางใจให้กับครอบครัว คำสัญญา ความสัมพันธ์ และสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตการลงทุนในเครื่องประดับและอัญมณีจึงยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนมาทุกยุคสมัยและไม่เคยตกจากกระแสแม้โลกจะเจอกับวิกฤติจากเศรษฐกิจก็ตาม

Read More

19/08/2564

4 สินทรัพย์ทางเลือกในการลงทุนของไทย


การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกของไทยพบว่า ในปี 2021 นอกจากสินทรัพย์พื้นฐานที่เราคุ้นเคยกันอย่างพันธบัตร และตลาดหุ้น ยังมีข้อมูลสินทรัพย์ทางเลือกอีก 4 ประเภทที่นักลงทุนไทยให้ความสนใจ จากรายงานของธนาคารออมสินคือ 1. อสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโด โดยพิจารณาปัจจัยจากทำเลที่ตั้ง มีการคมนาคม ไม่ว่าจะซื้อเพื่อให้เช่าหรือรอขาย ทั้งนี้เพราะที่ดินที่ทำเลดีจะมีการขยับของราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 2. ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มเรื่อยๆ สามารถเก็บออมไว้สร้างผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ แม้ราคาในปัจจุบันจะปรับตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแต่ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมเสมอ 3. อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินทรัพย์ที่นอกจากมีความสวยงามให้คุณค่าทางจิตใจ ยังเก็บไว้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้สำหรับคอลเลคชั่นหายากหากมาจากแบรนด์ดังชั้นนำด้วยแล้ว ย่อมเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก 4. ของเก่าหายาก ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ วัตถุโบราณ พระเครื่อง และของสะสมอื่นๆ ล้วนเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสมและผู้ชื่นชอบ การเก็บรักษาไว้นอกจากความสวยงามแล้วยังสร้างกำไรจากการขายได้อีกด้วย บริษัทผู้ให้คำปรึกษาและบริการด้านการลงทุนในประเทศไทย รายงานผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในประเทศไทยไว้ว่า สินทรัพย์ประเภทของสะสมให้ผลตอบแทนต่อปีสูงที่สุดถึง 11% ตามมาด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้ผลตอบแทนประมาณ 7-10% ขณะที่สินทรัพย์ทางการเงินอย่างหุ้นกู้ พันธบัตร หุ้น หรืออนุพันธ์ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างผันผวนอยู่ในช่วง 3%-12%

Read More

18/08/2564

ทางเลือกทางรอดของนักลงทุน ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ


ในปีที่ผ่านมา(2020) นักลงทุนต้องปรับตัวอย่างมากเนื่องจากความผันผันทางเศรษฐกิจ การลงทุนในสินทรัพย์แบบเดิมอย่างตลาดหุ้น ตลาดเงินไม่ปลอดภัยอีกต่อไป นักลงทุนส่วนใหญ่จึงหันไปลงทุนกับ ทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า ทำให้มีแรงซื้อจากนักลงทุนรายย่อยและสถาบันทางการเงินจากทั่วโลกต่อเนื่องตลอดทั้งปี นอกจากนี้สินทรัพย์ทางเลือกอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ งานศิลปะ หรือสินค้าหรู ก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้น ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีและเป็นการกระจายความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง การลงทุนในสินทรัพย์หรูแตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิมที่เรารู้จักอย่างเงินฝากธนาคาร พันธบัตร หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ ที่มักอยู่ในรูปแบบของเอกสารสัญญา แต่สินทรัพย์ทางเลือกที่จับต้องได้อย่างเช่นงานศิลปะ อาจไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดให้เกิดขึ้นได้ในทันที แต่มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณสำหรับตลาดที่มีความต้องการเหมือนกัน ข้อมูลจากบริษัทให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินเพื่อการลงทุน (Knight Frank)ระบุว่า งานศิลปะเป็นสินทรัพย์ทางเลือกยอดนิยมในเกือบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นในเอเชียและแอฟริกา ที่นาฬิกาหรู เป็นสินทรัพย์ยอดนิยมอันดับ 1 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในตลาด ปีที่ผ่านมาการนำเข้านาฬิกาหรูจากสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น 17.1% เมื่อเทียบกับปี 2019 ขณะที่ภูมิภาคแอฟริกาก็มีอัตราการเติบโตของการบริโภคสินค้าหรูเพิ่มขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า นาฬิกา และกระเป๋าแบรนด์เนม เป็นต้น ทั้งนี้หากพิจารณาอันดับความนิยมการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกของทุกภูมิภาคทั่วโลกโดยรวม ปรากฏว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ งานศิลปะ รถยนต์คลาสสิก นาฬิกาหรู ไวน์ และเครื่องประดับ ซึ่งให้ผลตอบแทนเมื่อถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปี เท่ากับ 71%, 193%, 89%, 127% และ 67% ตามลำดับอย่างไรก็ตามสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเมื่อถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปี คือกระเป๋าแบรนด์เนมและวิสกี้หายาก ที่ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถึง108% และ 478% ตามลำดับ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมในอันดับ 6 และ10

Read More

17/08/2564

ตลาดเครื่องประดับในจีนฟื้นก่อนใคร ภายใต้สถานการณ์โควิด


ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีนรางานยอดขายปลีกเครื่องประดับจากบริษัทที่มีรายได้ต่อปีสูงกว่า 5 ล้านหยวน (770,000 เหรียญสหรัฐ) ว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 98.7 เป็น 54,500 ล้านหยวน (8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยของช่วงเดือนเดียวกันในช่วงสองปีที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ร้อยละ 8.2 แสดงให้เห็นว่าตลาดเครื่องประดับจีนกำลังฟื้นตัวจากจากโรคระบาดแล้ว การระบาดของ Covid-19 ในช่วงแรกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงแก่ผู้ขายเครื่องประดับในปี 2020 แต่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคมปีที่ผ่านมา ก็ช่วยชดเชยยอดขายที่ลดลงตอนต้นปีได้ให้ตัวเลขรวมของรายได้ลดลงไม่มากนัก เป็นที่น่าสังเกตุว่า การจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศช่วยกระตุ้นธุรกิจแบรนด์เครื่องประดับหรูหราระดับสากลย่าง Tiffany & Co ให้มียอดขายในจีนแผ่นดินใหญ่เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 70 ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2020 หรือเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 แสดงให้เห็นว่า การซื้อทางออนไลน์ในจีนซึ่งแข็งแกร่งอยู่แล้วมาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโคโรนาไวรัส ยิ่งขยายตัวมากขึ้นในช่วงปิดเมืองและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรายงานจาก บริษัทวิจัยระบุว่า ในปี 2020 ยอดขายอีคอมเมิร์ซผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในจีนอยู่ที่ 1.18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่าสามเท่าของยอดเดียวกันในสหรัฐ บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งของการชำระเงินภายในร้าน ขณะที่การชำระเงินผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี และคาดว่าภายในปี 2024 น่าจะมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 16 และร้อยละ 15 ตามลำดับจากการชำระเงินภายในร้านทั้งหมด ส่วนการใช้เงินสดซึ่งเริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้วนั้นคาดว่าจะเหลือน้อยกว่าร้อยละ 6 ภายในปี 2024 แบรนด์เครื่องประดับจึงหันมาเน้นการนำเสนอผ่านโซเชียลมีเดีย ช่องทางบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และช่องทางดิจิทัลเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและเจาะตลาดในจีน อาทิ Tiffany & Co, Bulgari, Cartier และ Louis Vuitton เป็นหนึ่งในบรรดาแบรนด์ต่างประเทศที่นำเสนอเครื่องประดับและสินค้าหรูหราอื่นๆ ผ่านมินิโปรแกรมในภาษาจีนของ WeChat ซึ่งรองรับการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับของจีนเปลี่ยนโฉมหน้าไปโดยสิ้นเชิงในแง่ของความนิยมในผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ผู้บริโภคจีนยังคงชื่นชอบเครื่องประดับทองล้วน ซึ่งเป็นสินค้าคงคลังที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ในร้านเครื่องประดับหลายแห่ง ตลาดจีนมองว่าเครื่องประดับทองเป็นการลงทุนที่สร้างผลกำไรจากสิ่งที่มีมูลค่าอยู่แล้วในตัวเอง เครื่องประดับกลุ่มนี้ไม่เพียงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคอายุมาก แต่ยังรวมถึงกลุ่มคนหนุ่มสาวซึ่งมีความคาดหวังสูงกว่าในแง่ฝีมือช่างและการออกแบบ โดยเปลี่ยนจากเครื่องประดับทองล้วนน้ำหนักมากไปเป็นเครื่องประดับทองที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีน้ำหนักเบา เน้นงานออกแบบที่ละเอียดประณีต และแสดงให้เห็นนวัตกรรมด้านวัสดุและเทคโนโลยีมากกว่าน้ำหนัก ทั้งนี้ผู้บริโภคชาวจีนจะเริ่มออกเดินทางอีกครั้งในปี 2022 หรือ 2023 จนกว่าจะถึงเวลานั้น แบรนด์สินค้าหรูและธุรกิจเครื่องประดับ จะยังคงได้รับประโยชน์จากการซื้อสินค้าภายในประเทศผ่านออนไลน์ออนไลน์ต่อไป ซึ่งจะทำให้ตลาดเครื่องประดับของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณ์โควิด19 ทั่วโลก

Read More

16/08/2564

เอื้องเข็มทอง


เอื้องเข็มทอง หรือ เอื้องผีเสื้อทอง เป็นกล้วยไม้ป่าสกุลหวายที่อยู่ในกลุ่มพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส เป็นพืชที่ถูกรุกรานและพบเห็นได้ยากในธรรมชาติ การกระจายพันธุ์อยู่ในมาเลเซียและภาคใต้ของไทยเอื้องเข็มทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์Pennilabium struthio Carr ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบรูปรีขนาด 2.5 x 10 เซนติเมตร จำนวน 3-4 ใบ แผ่นใบเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว 2-3 เซนติเมตร มีดอกที่ปลายช่อของแต่ละช่อ ดอกน้อย ทยอยบานทีละดอกเท่านั้น ก้านดอกยาว 1.5 เซนติเมตร ดอกสีเหลือง ขนาด 1.2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่แกมรูปรีงุ้ม ที่ปลายมีสัน ขอบกลีบหยักและมีจุดสีน้ำตาลแดง กลีบปากสั้น มีหูกลีบขนาดใหญ่รูปพัด ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีขาว และปลายหยักเป็นครุย เดือยดอกสีเหลืองครีม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายเดือยโป่งพองประมาณครึ่งหนึ่งของความยาว เส้าเกสรสั้นไม่มีคาง ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคมเอื้องเข็มทอง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบชื้นระดับต่ำ มักพบใกล้ลำธารบนไม้ พุ่มเตี้ยแสงแดดน้อย มีการสำรวจพบเอื้องผีเสื้อทองจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ขึ้นอยู่บนต้นชมพู่น้ำบริเวณริมเขาหินปูนผาเทวดา บริเวณภูเขียวน่าจะเป็นจุดสูงสุดที่เอื้องเข็มทองกระจายพันธุ์มาถึง ในพื้นที่ป่าภาคใต้ พบกล้วยไม้ป่าจำนวน 97 ชนิด 42 สกุล ในจำนวนนี้สกุลหวาย (Dendrobium) พบมากที่สุด จำนวน 23 ชนิด สกุลที่พบรองลงมา คือสกุลสิงโต (Bulbophyllum) จำนวน 20 ชนิด สกุลที่พบเพียง 1 ชนิด มี 31 สกุล บางชนิดเป็นกล้วยไม้ป่าหายาก หลงเหลือในธรรมชาติน้อยมาก เช่น รองเท้านารีม่วงสงขลา กะเรกะร่อน ซิมบิเดียมคลอแรนทัม เอื้องปากนกแก้ว และอีกหลายชนิด

Read More

15/08/2564

เอื้องแมลงปอทอง


เอื้องแมลงปอทอง หรือ หวายเข็ม เป็นกล้วยไม้ในสกุลหวาย ซึ่งเป็นสกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์เอื้องแมลงปอทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Micropera pallida (Roxb.) Lindl. มี ลักษณะลำต้นยาวเรียว ใบรูปแถบ กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 5-8 ซม. ปลายใบเว้า ดอกช่อแบบกระจะ ออกตามข้อ ช่อดอกยาว 4-7 ซม. ดอกในช่อ 2-6 ดอก เกิดค่อนไปทางปลายช่อ ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก ดอกขนาด 0.5-0.6 เซนติเมตร สีเหลืองสด ด้านหลังกลีบเลี้ยงมีแถบสีน้ำตาลแดง กลีบปากมีลักษณะเป็นโพรง ช่วงออกดอกราวเดือน กรกฎาคม – กันยายน เป็นกล้วยไม้ลักษณะอิงอาศัยพบทั้งในป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบแถบอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยกล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆทั้งนี้เอื้องแมลงปอทองเป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส เป็นกล้วยไม้หวายป่าของไทยที่มีสีสวยงาม เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุล“เอื้อง” ต่างๆ เช่น เอื้องผึ้ง เอื้องม่อนไข่ เหลืองจันทบูร พวงหยก เอื้องช้างน้าว เอื้องมัจฉาณุ เอื้องเงินหลวง เอื้องเงินเป็นต้น

Read More

14/08/2564

วิกฤติโควิด19 ทำช่างทองตกงาน


สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ตลาดทองคำซบเซาลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น มีกำลังซื้อลดลงส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังร้านค้าทองคำขนาดเล็ก รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวเนื่องคือช่างทำทอง ที่หลายคนต้องตกงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ทำการสำรวจค่าจ้างของช่างทองส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลวดลาย น้ำหนัก ความยากง่าย เช่น สร้อยข้อมือ สร้อยคอน้ำหนัก 1 บาท งานไม่ยาก ค่าจ้าง 100 บาทต่อเส้น ถ้างานยาก มีความประณีต ค่าจ้าง 200-300 บาทขึ้นไป หากมีออร์เดอร์จำนวนมากจะมีรายได้มากแต่ในช่วงวิกฤติโควิดนี้ ช่างทำทองจำนวนมากได้รับผลกระทบจาก โรงงานทำทองขนาดกลางขนาดเล็กที่ทยอยปิดตัวลง ตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิดรอบแรก รวมถึงปัจจัยจากภาวะราคาทองผันผวน มีทั้งพุ่งขึ้และราคาร่วงลงไม่หยุด เกิดกระแสแห่ขายทองคำแรงซื้อหายเกือบทั้งหมดโดยเฉพาะทองรูปพรรณ เนื่องจากช่างทำทองมีรายได้จากส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์กับหัวหน้างาน ซึ่งจะมีรายได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งผลิตเท่านั้นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ หนึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศมหาศาล กำลังเผชิญสถานการณ์ยากลำบาก จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกำลังซื้อทั่วโลกหดหาย ตลาดทองคำรูปพรรณค่อนข้างซบเซา จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ทั้งระลอกเดิมและระลอกใหม่ ส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยหายไป ประกอบกับสถานการณ์ตลาดทองคำผันผวน ขึ้นแรงและร่วงลงแรงจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ ระบุว่าธุรกิจทองคำจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ หลังจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา กำลังซื้อลดลงจากปีก่อน ไม่มีคนซื้อ มีแต่นำทองมาขาย ส่งผลต่อเนื่องไปยังร้านค้าทองคำขนาดเล็ก รวมถึงอาชีพช่างทำทอง ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 รอบแรก ส่งผลให้โรงงานผลิตทองคำหลายแห่งปิดตัวลง ส่งผลให้ช่างทองตกงานเป็นจำนวนมาก จากจำนวนช่างทำทองในระบบรวมกับกลุ่มจิวเวลรี่ที่มีประมาณ 2 แสนคน ประเมินว่าช่างทองตกงานไปแล้วมากกว่า 50% ที่มา :กรุงเพธุรกิจ

Read More

13/08/2564

สุดยอดพระเครื่องเนื้อทองคำ


สุดยอดพะเครื่องเนื้อทองคำที่ถือว่าเป็นของหายากมีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการของผู้นิยมพระเครื่องโดยแบ่ออกเป็น ๒ ช่วงคือ ช่วงปีพ.ศ.๒๔๖-๒๔๗๐ ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีราคาสูงเพราะมีคนต้องการมาก อีกช่วงก็เป็นหลังปี พ.ศ.๒๗๐ เป็นต้นมาเหรียญหลวงพ่อโสธร ปี๒๔๖๐ ถือเป็นเหรียญพระเครื่องทองคำที่มีคามเก่าแก่มากที่สุด สร้างในสมัยพระอาจารย์หลิน มีขุนศิรินิพัฒน์เป็นมัคทายกวัด โดยการแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการเป็นผู้ดำเนินการสร้าง ได้มีการสร้างเหรียญขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพยงพอสำหรับสมนาคุณแก่ผู้บริจาคมทรัพย์ซ่อมแซมชุกชีขององค์หลวงพ่อโสธร มี ๔ ชนิดคือ เหรียญทอคำ เหรียญนวโลหะหรือสำริด เหรียญทองแดง และเหรียญเงินในส่วนของเหรียญทองคำหลวงพ่อโสธร สร้างขึ้นไม่เกิน ๒๐ เหรียญเพราะต้นทุนสูงและวัดยังไม่มีฐานะเหมือนในปัจจุบัน เดิมทีเหรียญทองคำหลวงพ่อโสธรซึ่งเป็นเหรียญแรกที่มีการบันทึกไว้ไม่เป็นที่ยอมรับ แต่หลังจากศึกษาจนเป็นที่ยอมรับจนปัจจุบันกลายเป็นของหายากและได้รับความนิยมค่อนข้างมาก มีมูลค่าอยู่ที่ ๑๕-๒๐ ล้นบาท ที่นับว่าเป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่ถือได้เป็นเหรียญพระพุทธที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศเหรียญหลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูล จ.ชัยนาท หลวงพ่อธรรมจักรเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชัยนาทและใกล้เคียงต่างภูมิใจและเคารพเลื่อมใสศรัทธาในอิทธิปาฎิหาริย์เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือการขอพรต่างๆ ซึ่งเหรียญที่ได้รับความนิยมแพร่หลายสูงสุดคือ เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร ปี๒๔๖๑ ซึ่งเป็นเหรียญที่มีพิธีการสร้างใหญ่โตมากได้รับการปลุกเสกและลงอัครเลขยันต์จากเกจิอาจารย์ ๓ รูปคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ และหลวงพ่ออยู่ วัดคักคะนน ซึ่งมีชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกะพัน ร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

Read More

12/08/2564

ทองหยิน เจ๊กบ้า


"วาสนาลื้อสูงมาก ลื้อจะได้เป็นกษัตริย์--"น้ำเสียงเขาขาดเป็นห้วงๆ และเน้นคำว่ากษัตริย์ พร้อมกับพูดซ้ำๆว่า"ลื้อจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองเมืองนี้" จากนั้นก็ทรุดตัวลงนั่ง ยกมือขึ้นไหว้ท่วมหัวต่อหน้าสุภาพบุรุษที่ยืนอยู่เบื้องหน้า ด้วยศรัทธาและบารมีอันแก่กล้าประเทศไทยในสมัยนั้นมีสำนักโหรจีนชื่อดังซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "จีนทองหยิน" ว่ากันว่าวิธีการดูดวงชะตาของโหรจีนผู้นี้แตกต่างจากโหรทั่วไปในพระนคร คือแทนที่จะใช้วิธีลงเลขคูณหารตรวจปูมชาตาบนกระดานของโหรก็ใช้เพียงแค่สอบถามวันเดือนปีเกิดเท่านั้น และความแม่นยำก็เลื่องลือจนทำให้เจ้าขุนมูลนายไปจนถึงจ้าวนายและเชื้อพระวงศ์จากวังต่างก็พากันยกย่องนิยมนับถือโหรจีนผู้นี้ อยู่มาวันหนึ่งจีนทองหยินได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะผู้หนึ่งที่เขาไม่เคยพบเจอมาก่อน เป็นบุรุษหนุ่มร่างเล็กแบบบาง หนวดแหย็มประทับเหนือริมฝีปากประปราย ยื่นวันเดือนปีเกิด"วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง" ให้โหรทองหยินช่วงพิเคราะห์ดวงชะตาให้ เมื่อโหรทองหยินเพ่งดวงหน้านั้นอยู่ชั่วขณะหนึ่ง พลางบอกให้ลุกขึ้นเดินกลับไปกลับมาโหรเอกมองดูท่าทางกิริยาวิธีการเดินของเขาอย่างสนใจ และในทันทีที่สุภาพบุรุษเจ้าของดวงชาตาทรุดตัวลงตามเดิม ฉับพลันนั้นโหรเอกก็เบิกตาโพลง ตลึงและงงงวย เขาลอดสายตาเพ่งออกมานอกแว่น จรดจ้องอยู่กับดวงหน้าของอาคันทุกะแปลกหน้า ผู้ซึ่งไม่เคยเห็นมาเลยนับแต่มาเหยียบเมืองไทย เหมือนกับจะไม่เชื่อตัวเองว่า สุภาพบุรุษที่นั่งอยู่เฉพาะหน้าตนนั้น จะมีดวงชาตากำเนิดสูงละลิ่วอย่างเทพเจ้าที่จุติลงมาเพื่อปกครองแผ่นดินไทย เพื่อเป็นจ้าวชีวิตของคนไทยทั้งชาตินี้ พลางระล่ำระลักว่า "วาสนาลื้อสูงมาก ลื้อจะได้เป็นกษัตริย์--"ชายสุภาพบุรุษเพ่งดูใบหน้าสวนสายตาของทองหยินออกไป พลางหัวเราะอยู่ในลำคอ เป็นการหัวเราะที่แสดงความขบขันคล้ายๆ กับจะตั้งคำถามตัวเองว่า"นี่น่ะหรือ ทองหยิน โหรเอกที่คนเลื่องลือกันทั้งเมือง นี่น่ะหรือที่ใครๆ โจษจรรย์กันว่าทำนายทายทักปูมชาตาแม่นยำนัก"แล้วก็หัวเราะให้กับอาการอันงกงันสั่นเทาของทองหยินอีกครั้ง แล้วชำระค่าตอบแทนเมื่ออำลาจากทองหยิน ขับรถยนต์กลับออกไป สุภาพบุรุษคนนั้นไม่ได้เหลียวกลับมาที่สำนักโหรเอกทองหยินอีก จึงไม่เห็นร่างอันสั่นเทาของทองหยิน ที่แง้มประตูห้องแถวเก่าๆ ตรงสี่แยกมองตามรถยนต์ที่ขับออกไป อาคันตุกะหนุ่มผู้นั้น ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๗ แห่งราชวงศ์จักรี นามพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มา: หนังสือเรื่องบุกบรมพิมาน โดย "แหลมสน" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สหกิจ, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์-หากสันนิษฐานได้ว่าราวๆ ปี ๒๔๙๒-๒๔๙๓"แหลมสน" จะเป็นนามปากกาของผู้ใดนั้น ไม่อาจระบุได้ ที่มา : อัษฎางค์ ยมนาค

Read More

11/08/2564

“หาดนางทอง” หาดทรายดำแห่งพังงา


“หาดนางทอง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหาดทรายดำ ตั้งอยู่ที่ ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นหนึ่งในชายหาดที่สวยงามในแหล่งท่องเที่ยวย่านเขาหลัก และเป็นแหล่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ อำเภอตะกั่วป่า ในอดีตถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการทำเหมือแร่ที่สำคัญของไทยแห่งหนึ่งโดยเฉพาะการทำแร่ดีบุก เริ่มตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ.2520 ที่กิจการเหมือแร่เลิกราไป ซึ่งทรายสีดำที่ปรากฏให้เห็นลอดแนวชายหาดนางทองก็มีที่มาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกนั่นเองการทำเหมืองแร่ริมชายฝั่ง ทำให้คลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมาชาวบ้านจะตักมากองรวมกันก่อนจะนำใส่รางและล้างน้ำเพื่อแยกเอาทรายทะเลที่มีน้ำหนักเบากว่าออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขายอีกที หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ จังหวัดพังงาก็เริ่มเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว แต่คลื่นทะเลตามธรรมชาติก็ยังคงซัดเอาแร่ขึ้นบนชายหาดดังกล่าวอยู่เป็นระยะ และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันปัจจุบันหาดนางทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียด ที่พบไม่กี่แห่งในโลกยามเมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดก็จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงความแปลกของหาดทรายที่หาดนางทอง

Read More

10/08/2564

โอกาสของเครื่องประดับไทยในชิลี


ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2021 ชิลีนำเข้าเครื่องประดับและอัญมณีจากไทยมากเป็นอันดับ1 สินค้าสำคัญคือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเทียม เพิ่มขึ้นกว่า 150 % และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีมูลค่าการส่งออกของไทยไปชิลีกลับน้อยมากคิดเป็นเพียง 0.02% ของการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการของไทยจะเข้าไปขยายตลาดในชิลีเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น ท่ามกลางความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศไทยและชิลีมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันมาต่อเนื่อง ที่สำคัญตือข้อตกลงการค้าเสรีในปี 2015 ผลให้ภายในปี 2023 ภาษีนำเข้าเป็น 0 ทุกรายการ (ยกเว้นทองคำพิกัด 7108 บางพิกัดที่ยังเก็บในอัตรา 6%) จึงถือเป็นข้อได้เปรียบที่ผู้ประกอบการควรใช้สิทธิประโยชน์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเข้าสู่ตลาดชิลี และล่าสุดไทยและชิลีบรรลุข้อตกลงในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form TC ด้วยการนำระบบการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการให้บริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อช่วยลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดการสัมผัสเอกสาร สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุค New Normal ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ไลฟ์สไตล์ของคนชิลีโดยเฉาะในเมืองใหญ่นิยมแต่งกายในลักษณะผ่อนคลาย สบายๆ แต่เน้นความพิถีพิถันกับการแต่งกายให้เข้ากับแต่ละโอกาส สำหรับการสวมใส่เครื่องประดับชาวชิลีนิยมรูปแบบที่เรียบง่าย ดีไซน์ไม่หวือหวา สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน หากเป็นแหวนหมั้นนิยมเลือกซื้อแหวนที่ตัวเรือนทำจากแพลทินัมและประดับด้วยเพชรที่มีขนาดกะรัตไม่มาก แต่เน้นจำนวนเพชรหลายๆ เม็ด และแหวนแต่งงานจะเป็นทองคำเกลี้ยงโดยมักจะแกะสลักชื่อบุคคลลงไปด้วย นอกจากนี้ สตรีชาวชิลีอายุระหว่าง 18-45 ปี มีความนิยมเครื่องประดับเงิน เนื่องจากมีราคาไม่สูงนัก สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน ต่างจากผู้มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป มักนิยมเครื่องประดับทองคำ 18-24 กะรัต แต่สีของทองคำที่มีกะรัตสูงมีสีเหลืองมากเกินไปไม่เป็นที่นิยมในชิลี ขณะที่เครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าอื่นๆ อย่าง ทองแดง ทองเหลือง หรือเครื่องประดับที่ตกแต่งด้วยลาพิส ลาซูลี ก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชิลี ซึ่งเครื่องประดับตกแต่งด้วยลาพิส ลาซูลี เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแบบชนพื้นเมืองชาวมาปูเช เป็นของฝากขึ้นชื่อของชิลีสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

Read More

09/08/2564

หัวนะโม...จากความเชื่อสู่เครื่องประดับ


“หัวนะโม” เครื่องรางที่ชาวใต้เชื่อว่าสามารถป้องกันอันตราย หรือป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ กลายมาเป็นเครื่องประดับหลากหลายรูปแบบที่ให้ทั้งความสวยงามและความเป็นสิริมงคลไปพร้อมๆกัน และจากหัวนะโมที่ทำจากเงินยวง ก็ถูกนำไปประกอบและผสมผสานกับเครื่องทอง หรือเครื่องถม เพื่อทำเป็นสร้อยข้อมือ สร้อยคอ แหวน หรือแม้กระทั่งตุ้มหูจุดเริ่มต้นของหัวนะโม ต้องย้อนไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 หัวนะโมเป็นเบี้ยที่ไว้ใช้แทนเงินตราสำหรับแลกเปลี่ยนเปลี่ยนสินค้าของอาณาจักรตามพรลิงค์ หรือจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยทำจากโลหะ เหตุที่ชื่อว่าหัวนะโมนั้น มาจากการจารึกอักษรปัลลวะหรืออักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่าตัว “นะ” ไว้บนเม็ดเงินที่มีลักษณะกลม และเมื่อสมัยของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ เกิดโรคห่าหรืออหิวาตกโรคระบาดขึ้น จึงได้มีการทำพิธีปลุกเสกหัวนะโมขึ้นมาด้วยพิธีกรรมแบบพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าสามพระองค์ ซึ่งได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม แล้วนำไปหว่านยังจุดที่มีโรคระบาด และรอบๆ บริเวณเมือง ปรากฎว่าโรคระบาดได้หายไป และอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ได้เกิดโรคห่าหรืออหิวาตกโรคระบาดในเมืองนครศรีธรรมราชเช่นกัน จึงได้ทำพิธีปลุกเสกหัวนะโมเพื่อนำไปหว่านแบบกาลก่อน ซึ่งโรคระบาดนั้นก็ได้หายไปเหมือนเดิม จึงเป็นเหตุให้ “หัวนะโม” เป็นของมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ของชาวนครศรีธรรมราชที่ส่วนใหญ่จะพกของมงคลนี้ติดตัวการทำหัวนะโมในอดีตเป็นการนำเงินยวง ซึงเป็นโลหะเงินบริสุทธิ์ มีความขาวและนิ่ม มาตอกตรานะโมลงไป และขึ้นรูปเป็นเม็ดกลม ในอดีตมีการใส่ปรอทไว้ด้านในเพราะเชื่อว่าเป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ แต่การทำหัวนะโมในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต ทั้งเรื่องของโลหะเงินที่นำมาใช้ตอกตราหัวนะโมก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้จัดทำ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นโลหะเงินทั่วไป ไม่ได้มีการใส่ปรอทเข้าไปในช่องว่างด้านใน ส่วนในเรื่องของพิธีกรรมก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคลอีกเช่นกัน บางคนนิยมหัวนะโมที่ผ่านพิธีปลุกเสกมาแล้ว แต่บางคนเชื่อว่าขอแค่เป็นหัวนะโมก็มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องผ่านพิธีปลุกเสกใดๆ หรือบางคนก็นำหัวนะโมที่ยังไม่ได้ปลุกเสกไปร่วมงานร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่เคารพนับถือเพื่อเป็นการปลุกเสกก็มี ดังนั้นการใส่หัวนะโมในปัจจุบันไม่ได้ดูเคร่งขรึมเหมือนในอดีต แต่เป็นความเชื่อที่ผสมสานกับความสวยงามที่สวมใส่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย

Read More

06/08/2564

การส่งออกทองคำช่วง 4 เดือนแรกของไทยหดตัวแรง


สถานการณ์การส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปของไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 หดตัวสูงถึง ร้อยละ 89.59 ในขณะที่ การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 1.05 โดยเฉพาะเมษายน 2564 เพียงเดือนเดียว มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าเกินร้อยเปอร์เซ็น (ร้อยละ 106.57)สาเหตุที่ทำให้การส่งออกทองคำของไทยมีมูลค่าลดลงเนื่องจากราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลกยังอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง(1,761.68 ดอลลาร์- สหรัฐต่อออนซ์ในเดือนเมษายน 2564) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์- สหรัฐฯ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น และ เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดีทองคำกึ่งสำเร็จรูปยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 2 ในสัดส่วนร้อยละ 27 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวมสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้คือ เครื่องประดับแท้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.56 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.81 โดยสินค้าส่งออกหลักคือ เครื่องประดับเงิน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 12.51 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรตลาดอันดับ1,3และ5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังเยอรมนีและจีนตลาดในอันดับ 2 และอันดับ 4 หดตัวลงร้อยละ 13.37 และร้อยละ 20.94 การส่งออกเครื่องประดับทองลดลงร้อยละ 9.36 จากการส่งออกไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และญี่ปุ่น ส่วนการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรยังขยายตัวได้ร้อยละ 43.75 และร้อยละ90.63 ตามลำดับ การส่งออกเครื่องประดับแพลทินัมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.08 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดอย่างสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง ต่างขยายตัวสูงขึ้นแม้การส่งออกไปยังญี่ปุ่นตลาดสำคัญอันดับ 2 จะปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 14.35ก็ตาม ในส่วนของเพชรสินค้าส่งออกรายการสำคัญในอันดับ 3คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.40 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีมูลค่าเติบโตร้อยละ 26.43 โดยเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้เติบโตได้ร้อยละ32.78 เนื่องจากการส่งออกไปยังอินเดีย สหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นตลาดหลักปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

Read More

01/06/2564

พระแสงดาบทอคำ ของขวัญจากพระพุทธเจ้าหลวงถวายแด่พระจักรพรรดิออสเตรีย-ฮังการี


ในงานแสดงภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่จัดแสดงในนิทรรศการ“มหัศจรรย์พรรณภาพ”ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คนไทยได้มีโอกาสเห็นพระแสงกระบี่สั้นด้ามทองคำที่พระพุทธเจ้าหลวงถวายแด่สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อคราวเสด็จเยือนยุโรปครั้งที่1 ในปีพ.ศ.2441ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 ของ พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปรากฎบันทึกเหตุการณ์สำคัญเมื่อคราวเสด็จพระราชวังเชินบรูนไว้ว่า“วันที่ ๒๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖...พอเวลาจวนทุ่มหนึ่งเสร็จการเลี้ยง [ณ พระราชวังเชินบรูน] พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับมาทางเดินตามลำดับดังกล่าวมาแล้ว มาพักในห้องแก้วที่ข้าราชการมาพักนั้น มีกาแฟและบุหรี่มาเลี้ยง ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น คือโต๊ะหลวงที่แล้ว ๆ มาเลี้ยงแล้วไม่เคยเลี้ยงบุหรี่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำพระแสงกระบี่สั้น ปรุคร่ำทองฝักทองคำ ด้ามทองคำเป็นหัวนาค ลงยาราชาวดีประดับเพชรพลอย ถวายสมเด็จพระเจ้าเอมเปรอกรุงออสเตรีย ๑ เล่ม และพระราชทานซองพระโอสถลงยาราชาวดีแก่อาชดุ๊กลูวิกวิกตอ สมเด็จพระเจ้าเอมเปรอทรงรับไว้ด้วยทรงยินดี และรับสั่งตอบขอบพระราชหฤทัย...”พระแสงกระบี่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โยเซฟแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในคราวที่เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่1 พ.ศ.2440 โดยเฉพาะในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรียนั้น ได้มีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนพระราชวังเชินบรูนครั้งนั้นได้ถวายพระแสงกระบี่สั้น ปรุคร่ำทองฝักทองคำ ด้ามทองคำเป็นหัวนาค ลงยาราชาวดีประดับเพชรพลอย แด่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โยเซฟแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนอกจากพระแสงกระบี่สั้นแล้วยังมี “ตรีศูลทองคำลงยาสี” ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ส่งไปเป็นของทูลพระขวัญตอบแทนที่พระจักรพรรดิฟรันซ์ โจเซฟ แห่งออสเตรีย ส่งของทูลพระขวัญมาถวาย นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยส่วนใหญ่ได้เห็นตรีศูลทองคำลงยาพร้อมพระแสงกระบี่ ของขวัญล้ำค่าที่แสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างราชวงศ์ไทยและยุโรป

Read More

01/06/2564

ไพไรต์ เหมือนทองแต่ไม่ใช่ทอง


เมื่อหลายเดือนก่อนมีข่าวน่าตื่นเต้นว่ามีชาวบ้านพบก้อนหินปริศนาระหว่างเข้าไปหาของป่าแถวเชิงเขาในพื้นที่ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเหมืองทองอัคราที่อยู่ในเขตอำเภอวังโป่งไม่ถึง 30 กิโลเมตร และเมื่อเอามาทุบดูพบว่าก้อนหินนั้นมีความแวววาว สีคล้ายกับทองคำ จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่าใช่ทองคำหรือไม่ในกรณีนี้นักธรณีวิทยา ระบุว่าก้อนหินที่เจอในป่าเรียกว่า แร่ไพไรต์ มีสารทุกอย่างคล้ายทองคำ แต่ไม่ใช่ทองคำ เป็นแร่ของสารประกอบระหว่างเหล็กและกำมะถัน มีลักษณะเด่นเป็นรูปผลึก คล้ายลูกเต๋าสี่เหลี่ยม มีประกายวาวเป็นโลหะ ถ้าสีสด จะออกเป็นสีเหล็ก เป็นเงินขาวๆถ้าสีหมองจะมีความเป็นสีเหลืองคล้ายทองคำสำหรับแร่ไพไรต์ เป็นแร่ที่ไม่มีราคา แต่จะมีมูลค่า ในกลุ่มนักสะสมแร่ และผู้ชอบการสะสมของเก่า ชอบสะสมแร่ในรูปทรงต่าง ๆ หากมีก้อนแร่รูปทรงเป็นที่สนใจ ก็จะมีราคาสูงขึ้นได้ก่อนหน้านั้นกรมทรัพยากรธรณีเคยออกมาชี้แจงครั้งหนึ่งแล้วกรณีชาวบ้านจังหวัดยโสธรพบหินประหลาดซึ่งเชื่อว่าเป็นทองคำหรือเหล็กไหล ซึ่งผลการตรวจสอบก็พบว่าเป็น แร่ไพไรต์เช่นกัน แต่ก็ยังคงมีชาวบ้านพากันไปขุดหาหินประหลาดบริเวณลำห้วยหินลับ อำเภอเลิงนกทาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปเก็บไว้ตามความเชื่อว่าอาจเป็นแร่ทองคำหรือเหล็กไหล การพบหินประหลาดในครั้งนั้นสืบเนื่องมาจากการที่เทศบาลตำบลกุดแห่นำเครื่องจักรมาขุดก้นลำห้วยลึก 8 เมตร ซึ่งเป็นหินภูเขาเพื่อทำธนาคารน้ำสำหรับเกษตร พอขุดดินขึ้นมากองริมตลิ่งก็มีชาวบ้านมาพบหินประหลาดจนเกิดการพูดปากต่อปากจนข่าวแพร่สะพัดออกไป

Read More

01/06/2564

เหตุใดแม่น้ำอเมซอนจึง(เหมือน)กลายเป็นทองคำ


เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ องค์การนาซ่า (NASA) เผยแพร่รายงานของ Earth Observatory ปรากฏภาพถ่ายภาพดาวเทียมที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2020 โดยนักบินอวกาศ เห็นแม่น้ำอเมซอนที่ไหลพาดผ่าน รัฐมาเดรเดดิโอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู มีสีคล้ายทองคำตลอดสาย โดยสัณนิษฐานว่า อาจเป็นหลุมของเหมืองแร่ทองคำที่ถูกคนงานทิ้งไว้โดยปกติแล้วหลุมจะถูกซ่อนไม่ให้มองเห็นได้ โดยเฉพาะจากบนสถานีอวกาศนานาชาติ แต่ครั้งนี้อาจเป็นเพราะแสงแดดที่สะท้อนลงไปยังพื้นน้ำ ซึ่งภาพที่ถ่ายได้ครั้งนี้เป็นช่วงแม่น้ำ Inambari โดยมีหลุมจำนวนหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่ถูกตัดไม้ทำลายป่าและมีโคลนเน่าเสีย การขุดทองเป็นไปอย่างเสรี ในรัฐมาเดรเดดิโอส (Madre de Dios) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเปรู มีพรมแดนติดกับบราซิลโบลิเวีย เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ไม่มีการจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามรายงานของนาซ่า ซึ่งการขุดแร่เหล่านี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญ ของการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสภาพแวดล้อม ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ เช่น การใช้สารปรอทเพื่อสกัดทองคำก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำในปี 2011 อุตสาหกรรมแร่ทองคำในภูมิภาคนี้ ขยายตัวมากขึ้นนับตั้งแต่การเปิดตัว Southern Interoceanic Highway เนื่องจากทำให้พื้นที่นี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น การเชื่อมต่อด้วยถนนเพียงสายเดียวระหว่างบราซิลและเปรู มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวแต่สิ่งที่เป็นหายนะกว่าคือการทำลายสิ่งแวดล้อมและการตัดไม้ทำลายป่ารัฐมาเดรเดดิโอส (Madre de Dios) เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งของลุ่มแม่น้ำอเมซอน มีขนาดเท่ากับ เซาท์แคโรไลนา มีนกมาคอว์ ลิง เสือจากัวร์ ผีเสื้อ butterflies thrive อาศัยอยู่ โดยมีเขตอนุรักษ์ Tambopata ซึ่งรอดพ้นจากการขุดแร่ทองคำ รวมทั้งผืนป่าอีกหลายร้อยตารางไมล์ ซึ่งเต็มไปด้วยป่ารกทึบและต้นไม้ที่มีความอันตราย ราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เหล่านี้ถูกแย่งชิงจากคนนับหมื่นทั่วเปรูที่เข้ามายังอุตสาหกรรมดังกล่าวในเดือน ม.ค. 2019 การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า การตัดไม้ทำลายป่าจากเหมืองทองคำในเปรูได้ทำลายพื้นที่ป่าไปถึง 22,930 เอเคอร์ หรือเกือบ 60,000 ไร่ ของป่าอเมซอนในเปรู (1 เอเคอร์ เท่ากับ 2.5 ไร่) และ ในปี 2018 จากการสำรวจของโครงการ Andean Amazon หรือที่เรียกว่า MAAP บันทึกข้อมูลย้อนหลังไปถึงปี 1985 ซึ่งจัดทำโดยศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ Amazonian ของ Wake Forest University พบว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การขุดแร่ทองในในผืนป่าอเมซอนที่ประเทศเปรูเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล มากกว่า 34,000 แห่ง

Read More

01/06/2564

นโยบายภาครัฐ ปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย ก้าวสู่ผู้นำการส่งออก


นอกจากผู้ประกอบการอินเดียจะพัฒนาตนเองแล้ว ภาครัฐยังเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมี Gem and Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานเฉพาะที่รัฐบาลอินเดียจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เพิ่มขีดความสามารถในการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีช่วยพัฒนาทักษะแรงงานทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับมาตรการด้านภาษีรัฐบาลอีนเดียลดภาษีนำเข้าโลหะทองคำและเงินจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 7.5 ส่วนแพลทินัม และพาลาเดียม ลดภาษีนำเข้าจากร้อยละ 12.5 เหลือร้อยละ 10 และหันไปเพิ่มภาษีนำเข้าเพชรเทียม และอัญมณีสังเคราะห์จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 15 เพื่อป้องกันการเข้าไปแข่งขันของสินค้าจากจีน ส่วนภาษีนำเข้าเพชรแท้และเพชรสังเคราะห์ ยังคงมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 7.5 นอจากนี้ยังลดอัตราภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 22 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าและผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ และให้นักท่องเที่ยวต่างชาติขอคืนภาษีสินค้าและบริการจากการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในอินเดียได้ ซึ่งมีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0.25 – 3ได้มีการผ่อนปรนกฎระเบียบ โดยอนุญาตให้นักธุรกิจกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับสามารถนำสินค้าติดตัวออกไปร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติหรือเพื่อเดินทางไปทำกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดิมอนุญาตให้ไม่เกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนเป็นไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายแห่งสำหรับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะกระจายอยู่ในหลายเมืองสำคัญ อาทิ เมืองมุมไบ ไฮเดอราบัด และจัยปูร์ เป็นต้น เพื่อจูงใจบริษัทของทั้งชาวอินเดียและต่างชาติให้เข้าไปประกอบกิจการอัญมณีและเครื่องประดับในเขตพิเศษ โดยมอบสิทธิพิเศษทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี และให้สิทธิชาวต่างชาติถือหุ้นในกิจการอัญมณีและเครื่องประดับได้ร้อยละ 100 โดยดำเนินการผ่านช่องทางอัตโนมัติ ซึ่งทำให้การขออนุญาตทำได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นต้นนอกจากนี้ยังทีความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่นลงนามความร่วมมือ (MOU) กับประเทศคู่ค้าสำคัญเพื่อขยายการค้าและการลงทุนอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างกัน อาทิ รัสเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกทั้งนโยบาย Make In India ที่รัฐบาลประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2557ก็จะช่วยยกระดับเครื่องประดับอินเดียสู่มาตรฐานการส่งออกซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดการส่งออกได้มากขึ้น โดยอินเดียตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเป็น 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมอีก 2 ล้านตำแหน่งภายในปี 2565ความสำเร็จของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย มาจากปัจจัยที่หลากหลายจากทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดส่งผลให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งจนอย่างในปัจจุบันนี้ข้อมูล :GIT

Read More

01/06/2564

การพัฒนาในอุตสาหกรรมเครื่องประดับทองของอินเดีย


อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกด้วยประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 5,000 ปี โดยการผลิตเครื่องประดับ ทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเพชร เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งอาศัยการผลิตแบบดั้งเดิมและแรงงานฝีมือเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบศิลปะอินเดีย ซึ่งจะเป็นเครื่องประดับชิ้นใหญ่ น้ำหนักมาก เน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ต่อมามีการนำเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ทำให้ได้เครื่องประดับที่มีรูปแบบทันสมัย น้ำหนักเบา และสามารถผลิตได้ปริมาณมากขึ้น อินเดียจึงสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดโลกได้ จนกลายเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลกในปัจจุบันสำหรับแหล่งผลิตเครื่องประดับเงินสำคัญจะอยู่ในกรุงนิวเดลี (New Delhi) เมืองสุรัต (Surat) โกลกาตา (Kolkata) มุมไบ (Mumbai) และจัยปูร์ (Jaipur) ส่วนแหล่งผลิตเครื่องประดับทองสำคัญจะอยู่ในเมืองโกลกาตา ตฤศศูร (Thrissur) และมุมไบในปี 2555 อินเดียส่งออกเครื่องประดับทองเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วนส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 15.26 ในขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 มีสัดส่วนร้อยละ 23.94 และสัดส่วนการส่งออกของจีนยิ่งทิ้งห่างอินเดียมากขึ้นในปี 2556 เนื่องจากรัฐบาลอินเดียจำกัดการนำเข้าทองคำเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการเพิ่มภาษีนำเข้าทองคำจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 8 และในปี 2557 ก็ได้ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 10 จึงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอินเดียลดลงเพราะต้นทุนเครื่องประดับทองที่เพิ่มสูงจากการจำกัดการนำเข้าทองคำ ในขณะที่จีนมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำ และฝีมือการผลิตเครื่องประดับทองที่ตอบสนองต่อตลาดระดับล่างจนถึงบน จึงทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อสินค้าจากจีนเพิ่มสูงขึ้นมากอินเดียเริ่มกลับมาส่งออกเครื่องประดับทองเพิ่มขึ้นในปี 2559 เป็นต้นมา เนื่องจากรัฐบาลออกข้อบังคับให้นำทองคำร้อยละ 20 ของการนำเข้าทั้งหมดไปผลิตเป็นเครื่องประดับเพื่อส่งออก อีกทั้งผู้ประกอบการเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต มีการอบรมเพิ่มทักษะการออกแบบสินค้าให้กับช่างฝีมือเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าต่างชาติ นำเทคโนโลยี CAD และ CAM มาช่วยในการออกแบบเพื่อเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบเครื่องประดับทองมากขึ้น รวมถึงการเน้นสร้างแบรนด์ส่งออก และการประทับตรา Hallmark บนเครื่องประดับทองเพื่อรับรองค่าความบริสุทธิ์ของทองคำ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังทีแรงงานที่มีฝีมือและราคาไม่สูงมากทำให้ราคาต่อหน่วยของเครื่องประดับทองสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้จากสถิติ Global Trade Atlas พบว่าในปี 2563 อินเดียเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับทองเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่หากพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดหลักของโลกพบว่า อินเดียเป็นแหล่งนำเข้าเครื่องประดับทองเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งนำเข้าในอันดับที่ 4 ในกลุ่มสหภาพยุโรปด้วย ข้อมูล :GIT

Read More

01/06/2564

อินเดีย...ผู้นำอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อการส่งออก


ประเทศอินเดียส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากแร่เชื้อเพลิงและสารสกัดจากปิโตรเลียม คิดเป็นสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศโดยรวม มีผู้ประกอบการกว่า 500,000 ราย และมีการจ้างงานทั่วประเทศราว 5 ล้านคน ในธุรกิจการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก ธุรกิจเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง รวมถึงอัญมณีสังเคราะห์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา สะท้อนจากมูลค่าส่งออกที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551จากมูลค่า 19,186 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 34,000 ล้านเหรียญ-สหรัฐในปี 2553 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 ทั้งนี้ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินดียทำสถิติสูงสุดในปี 2554 ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 5หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2563 อินเดียเป็นผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในอันดับที่ 6 ของโลกการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมาจากหลากปัจจัย เช่น มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยอินเดียมีเหมืองแร่ทองคำ เพชร และอัญมณีหลากหลายชนิด กระจายอยู่ในหลายรัฐของประเทศ และทักษะฝีมือแรงงานของอินเดียที่มีความชำนาญสูงในการเจียระไนเพชร พลอยสี และการผลิตเครื่องประดับ รวมถึงการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะความชำนาญสูงในการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก และพลอยสีระดับราคาปานกลางลงมาจนถึงต่ำ ทำให้อินเดียเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าเพชรขนาดเล็กและพลอยสีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ศูนย์กลางการเจียระไนเพชรอยู่ที่เมืองสุรัต ซึ่งเป็นแหล่งเจียระไนเพชรราวร้อยละ 80 ของเพชรที่เจียระไนทั้งหมดในประเทศ ส่วนเมืองอื่นๆ ที่มีการเจียระไนเพชร ได้แก่ เมืองบาฟนาการ์ และเมืองอาห์เมดาบัด ในรัฐคุชราต สำหรับการเจียระไนพลอยสีส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองจัยปูร์ รัฐราชสถาน (Rajasthan) ถือเป็นศูนย์กลางการเจียระไนพลอยสีของประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2563 อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกเพชรสำคัญในอันดับที่ 1 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกพลอยสีในอันดับที่ 5 ของโลก พร้อมตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้เจียระไนเพชรขนาดใหญ่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วยข้อมูล :GIT

Read More

01/06/2564

ใครที่ใช้...ทองคำ และส่งผลต่อราคาทองคำอย่างไร


การระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจทั่วโลกพังครืน กำลังซื้อผู้บริโภคลดลงแต่ทำไมราคาทองคำทะยานขึ้นไม่หยุด ทั้งนี้เพราะทองคำถูกใช้ไปในหลายบทบาท โดยการใช้ทองคำ ประกอบไปด้วยความต้องการจาก 4 กลุ่มหลัก คือ ภาคเครื่องประดับ ภาคเทคโนโลยี ภาคธนาคารกลาง และภาคการลงทุน ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สวนทางกันอย่างชัดเจน นั่นคือความต้องการบริโภคทองคำจากจีนและอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ใช้ทองคำมากที่สุดในโลกลดลงในขณะที่ความต้องการเพื่อการลงทุนจากกองทุน ETF ทองคำเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกในปี 2020 ความต้องการทองคำในภาคเครื่องประดับจากจีนและอินเดียลดลงเหลือ 1,411.6 ตัน ลดลง 34% จากปี 2019 และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ WGC เริ่มจดบันทึกตัวเลขดังกล่าวแต่ความต้องการทองคำด้านการลงทุนกลับเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยการถือครองทองในกองทุน ETF ทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้น 877.1 ตันซึ่งถือเป็นการถือครองสูงสุดที่ 3,751.5 ตัน ขณะที่ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3% ไปอยู่ที่ระดับ 896.1 ตันจะเห็นได้ว่าความต้องการลงทุนในปี 2020 มีความโดดเด่นอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะช่วยชดเชยการลดลงของอุปสงค์ในภาคเครื่องประดับและภาคธนาคารกลาง ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนราคาทองคำในปีที่แล้วอีกด้วยอย่างไรก็ตามในปีนี้( 2021) ความต้องการลงทุนในภาค ETF ทองคำกลับมาชะลอตัวลง สวนทางกับความต้องการทองจากจีนและอินเดียซึ่งถือเป็นประเทศที่บริโภคทองคำมากที่สุดในโลก โดยบริโภคทองคำรวมกันเกือบ 2,000 ตันต่อปี มีแนวโน้มฟื้นตัวสะท้อนจากยอดนำเข้าทองคำของอินเดียจากต่างประเทศที่ปรับตัวขึ้นกว่า 7 เท่า แตะที่ระดับ 98.6 ตันในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับระดับของปีก่อนหน้าที่ 13 ตัน แตะระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 Reuters ยังมีการรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวว่า ทางการจีนได้กลับมาอนุญาตให้ธนาคารในประเทศและต่างประเทศนำเข้าทองคำจำนวนมากหลังจากไม่ได้โควตาการนำเข้ามาระยะหนึ่งปริมาณการนำเข้าของจีนและอินเดีย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการกลับมาของความต้องการทองคำ ซึ่งหากแรงซื้อจากจีนและอินเดียกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่อง ก็จะเป็นปัจจัยที่ช่วยชดเชยกระแสเงินทุนที่ไหลออกจากกองทุน ETF ทองคำได้

Read More

01/06/2564

ฤาดอลลาร์จะสิ้นมนต์ขลัง เมื่อธนาคารการทั่วโลกหันมาถือทองคำแทน


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานสัดส่วนการถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกพบว่าลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 59%ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 นับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี และธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต่างหันไปเพิ่มการถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของทองคำเพิ่มมากขึ้นข้อมูลนี้ปรากฏอยู่ในรายงาน Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserves (COFER)ซึ่งเป็นการสำรวจสกุลเงินต่างๆในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศของ IMF ระบุว่า สัดส่วนสินทรัพย์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่บรรดาแบงก์ชาติถือครองในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเฉลี่ย 12% นับตั้งแต่ที่สกุลเงินยูโรเปิดตัวใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 1999 โดยในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2020 สัดส่วนของสกุลเงินยูโร ในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ 20% ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์แคนาดา และเงินหยวนของจีน มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 9% นักวิเคราะห์มองว่า ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่าบทบาทของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกกำลังลดลง ท่ามกลางการแข่งขันของอีกหลายสกุลเงิน บวกกับได้แรงเสริมจากการที่ธนาคารกลางของหลายประเทศเทขายสกุลเงินดอลลาร์ออก เพื่อหันมาประคองสกุลเงินของประเทศตนเองในช่วงที่จำเป็นต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ระบาดขณะเดียวกันในมุมมองระยะยาว IMF ระบุว่า แม้ภาพรวมมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก แต่สัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดโลกที่ลดลง ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า ธนาคารกลางทั้งหลายเริ่มมองหาทางเลือกอื่นสำหรับการเก็บทุนสำรองระหว่างประเทศนอกเหนือจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) และชาติกำลังพัฒนา จะก้าวเข้ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก IMF ให้เหตุผลว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้กำลังมองหาทางเลือกในการเก็บทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยมีบางประเทศ เช่น รัสเซีย ประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่าต้องการลดสัดส่วนการถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ เพราะความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อและปริมาณหนี้ที่กำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นอกจากจัดสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศด้วยการไปถือครองสกุลเงินชาติอื่น ซึ่งหมายรวมถึงสกุลเงินของประเทศตนเองแล้ว ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต่างหันไปเพิ่มการถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของทองคำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกขยับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

Read More

01/06/2564

‘บิตคอยน์’ทองคำแห่งโลกดิจิทัล จริงหรือ?


ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาราคา“บิตคอยน์”คริปโตเคอร์เรนซีใหญ่ที่สุดในตลาดร่วงลงไม่หยุดคิดเป็นมูลค่าเกือบ 50% จากจุดสูงสุด แต่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา ก็ยังคงเชื่อมั่นว่า ‘บิตคอยน์’ยังเป็นทองคำแห่งโลกดิจิทัลและเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ดีอยู่ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตันให้ความเห็นว่า เขายังคงเชื่อมั่นว่าบิตคอยน์ยังคงมีสถานะที่เทียบได้เท่ากับทองคำดิจิทัล ถึงแม้ภาพรวมราคาของในช่วงที่ผ่านมาไม่สู้ดีนัก เนื่องจากความผันผวนของตลาดและกระแสข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลอว์เรนซ์ยอมรับว่าทองคำถือเป็นทรัพย์สินเป็นทางเลือกของการลงทุนที่มีความเสียงน้อยกว่าการเก็บเงินสด ซึ่งคริปโตฯ เองก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นทางเลือกของความปลอดภัยในการสะสมความมั่งคั่งเช่นเดียวกับทองคำ และก็เชื่อว่าคริปโตฯจะยังคงยั่งยืนอยู่ต่อไปจนสามารถมีสถานะเป็นทองคำแห่งโลกดิจิทัลด้วยก็ได้อย่างไรก็ดีมีหลายเสียงที่อาจไม่เห็นด้วยกับอดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เช่นนักวิเคราะห์คริปโตจากกองทุนแห่งหนึ่ง กล่าวไว้ว่า หากทองคำจะมีมูลค่ารวมทั้งตลาดที่ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐน่าสนใจว่าบิตคอยน์จะสามารถดันตัวเองขึ้นไปที่หลักดังกล่าวได้หรือไม่ในช่วงระยะเวลาอีก 5 ปีต่อจากนี้ โดยที่ปัจจุบันบิตคอยน์มีมูลค่ารวมทั้งตลาดที่ราว 6.97 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นหมายความว่ามูลค่าของมันจะต้องเพิ่มขึ้นกว่า 14 เท่าตัว เพื่อพาตัวเองทะยานขึ้นไปให้อยู่ในระดับเดียวกันกับทองคำ การร่วงลงของบิตคอยน์ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจนึกถึงทวีตของ อีลอน มัสก์ ที่ประกาศว่าเทสลาจะไม่รับชำระเงินเป็นบิตคอยน์ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานสูงมาก แต่ความจริงแล้ว ปัญหาใหญ่ของบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหลาย คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน การธนาคารของหลายประเทศพยายามเข้าควบคุมสกุลเงินดิจิตอลทั้งหลาย หนึ่งในนั้นคือนโยบายการเงินของประเทศจีน อีกทั้งยังปรากฏรายงานข่าวว่าสหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีสำหรับการซื้อขายหรือถ่ายโอนเงินคริปโตใดๆที่มีมูลค่ารวมตั้งแต่ 10,000 ดอลลาร์ขึ้นไปจึงทำให้มูลค่าบิตคอยน์ร่วงลงอย่างที่เห็น

Read More

01/06/2564

เมียนมาวิกฤติหนัก ลักลอบขนเงินและทองคำเข้ามาซ่อนฝั่งไทย


ทองคำ 5 กิโลกรัมและเงินสดอีกกว่า 10 ล้านบาทจากเมียนมาถูกลักลอบนำเข้าไทยด้านฝั่งชายแดนแม่สอด จังหวัดตากคาดว่ามีสาเหตุมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาที่มีคำสั่งห้ามทำธุรกรรมทางการเงินเกินันละ 2 แสนจ๊าดเท่านั้นเมื่อวันนี้ 25 พฤษภาคม 2564 เจ้าหน้าที่ทหารกองร้อยทหารราบที่ 431 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรแม่สอด พบรถยนต์กระบะต้องสงสัยคันหนึ่งขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่บริเวณท่าขนส่งสินค้าที่บ้านวังตะเคียน ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด ลักษณะเป็นรถยนต์กระบะ สีขาวยี่ห้ออีซูซุ ดีแม็กซ์ หมายเลขทะเบียน บร.1089 กำแพงเพชรมีคอกท้าย บรรทุกสินค้าที่มาจากฝั่งเมียนมา จังหวัดเมียวดี ตรงข้ามอำเภอแม่สอด จึงขอเข้าตรวจสอบภายในรถยนต์กระบันดังกล่าว พบว่ามีทองคำแท่งจำนวน 5 แท่ง แท่งละ 1 กิโลกรัม อยู่ในกล่องกระดาษ เงินสดเป็นเงินไทย จำนวน 4.1 ล้านบาท และธนบัตรดอลลาร์สหรัฐอีกจำนวน 1 แสนดอลลาร์ ภายในรถยนต์มีคนขับและผู้โดยสารเป็นชาย ทั้งหมด 3 คน จึงได้สอบถามที่มาและขอตรวจสอบ เนื่องจากไม่ได้ผ่านพิธีทางศุลกากร เบื้องต้นคาดว่าน่าจะทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของนักธุรกิจชาวเมียนมาในจังหวัดเมียวดีรายหนึ่งที่พยายามลักลอบขนเงินและทองคำเข้ามาเก็บไว้ในประเทศไทยเพราะขณะนี้ชาวเมียนมาไม่สามารถเก็บเงินและทรัพย์สินที่เป็นทองคำไว้ในบ้านได้ เนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกตรวจค้นและจับกุม และหากนำเงินไปฝากธนาคารก็จะถอนเงินสดได้เพียงครั้งละ 2 แสนจ๊าตเท่านั้น ตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร จึงทำให้แบงก์ชาติ นักธุรกิจ พ่อค้า และนักลงทุนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ในขณะนี้ระบบการเงินการคลังของประเทศเมียนมาถือได้ว่ากำลังอยู่ในภาวะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จึงมีการักลอบนำเงินและทองคำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งปลอดภัยกว่าและคาดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ที่ไม่สามารถจับกุมได้

Read More

12/05/2564

เซินเจิ้น…หัวใจอุสาหกรรมเครื่องประดับจีน


อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับจีนกระจุกตัวอยู่ในมณฑลกวางตุ้งเป็นหลัก โดยมีเมืองเซินเจิ้นและเขตปันหยูของเมืองกวางโจวซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเป็นศูนย์กลางการผลิต เฉพาะที่เมืองเซินเจิ้นเป็นที่ตั้งของธุรกิจเครื่องประดับกว่า 30,000 ราย โดย 8,900 รายตั้งอยู่ในพื้นที่ Shuibei ในเขต Luohu ซึ่งเครื่องประดับจากเซินเจิ้นกว่าร้อยละ 90 ผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ ดังนั้นแม้จะเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกเช่นปัจจุบัน เซินเจิ้นก็ยังช่วยให้จีนเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ปัจจุบันตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับในจีนมีหลายกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างกันไป เช่นผู้บริโภครุ่นใหม่มีความต้องการเครื่องประดับประเภทเพชรสีแฟนซี เพชรรูปทรงแฟนซี และพลอยสีมากกว่าเครื่องประดับทองรูปแบบเดิมๆในขณะที่วัสดุใหม่ๆอย่างเซรามิก ไทเทเนียม และแพลเลเดียม ก็ได้เข้ามามีบทบาทในงานออกแบบเครื่องประดับมากขึ้น ผู้ผลิตจึงพยายามนำเทคโนโลยีและนวตกรรมมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดเครื่องประดับรูปแบบใหม่ๆทันสมัยตรงตามความต้องการของตลาด เช่นการใช้ทองคำเนื้อแข็งแบบสามมิติ (3D hard gold) การนำเทคนิคการทำทองแบบจีนโบราณกลับมาใช้ในการผลิตยุคปัจจุบันเป็นต้นหลายปีที่ผ่านมาผู้ผลิตจีนลงทุนด้านนวัตกรรมและการออกแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับที่หลากหลาย โดยเฉพาะในเซินเจิ้นที่มีการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมรวมถึงการวิจัยและพัฒนาโดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี วัสดุ เทคนิค และรูปแบบใหม่ๆเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิต ค้นหาโอกาสใหม่ๆในตลาดรวมถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในแง่คุณภาพมากขึ้น ในเมืองเซินเจิ้น มีศูนย์กลางการค้าและตลาดขายส่งเครื่องประดับราว 30 แห่ง มีแรงงานกว่า 250,000 คน มูลค่าการผลิตและการค้าเครื่องประดับราว 150,000 ล้านหยวนต่อปี (ราว 21,400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) แต่ละปีมีการนำเข้าทองคำและแพลทินัมเข้ามาใช้ในการผลิตกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการซื้อขายทองคำและแพลทินัมในตลาดแลกเปลี่ยนทองคำเซี่ยงไฮ้ จำนวนเพชรร่วงที่ใช้ในเครื่องประดับคิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณการซื้อขายเพชรร่วงตามปกติในตลาดแลกเปลี่ยนเพชรเซี่ยงไฮ้กระบวนการผลิตของจีนก็กำลังผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้การประสานงานและการทำงานโปร่งใสมากขึ้นตลอดวงจรการผลิต นอกจากนี้ผู้บริโภคยังสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาใช้ได้ด้วย

Read More

12/05/2564

ปันหยู..ศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับครบวงจรของจีน


ตลอดช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เขตปันหยูของเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้งกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับแบบรวมศูนย์อย่างเต็มตัวของจีน โดยมีทั้งโรงงานและบริการด้านการผลิต การฝังอัญมณี การออกแบบ การตลาด รวมถึงเป็นศูนย์ฝึกอบรม ห้องปฏิบัติการ และผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ โดยมี Da Luo Tang และ Shawan เป็นเมืองศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับสองเมืองในเขตนี้เขตอุตสาหกรรมเครื่องประดับ Shawan เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเครื่องประดับ 25 แห่ง อาคารสำนักงาน 2 แห่ง สำนักงานศุลกากร คลังสินค้าทัณฑ์บน ศูนย์ตรวจสอบอัญมณีแห่งชาติ (National Gemstone Testing Center) ตลาดแลกเปลี่ยนเพชรกวางโจว (Guangzhou Diamond Exchange) และตลาดแลกเปลี่ยนหยกและอัญมณีกวางตุ้ง (Guangdong Jade & Gems Exchange) บริษัทเครื่องประดับในฮ่องกงหลายบริษัทเช่น Chow Tai Fook Jewellery Group, Chow Sang Sang Group, ล้วนมีฐานการผลิตอยู่ในปันหยูตามข้อมูลจากสมาคม Guangzhou Panyu Jewellery Manufacturers Association การส่งออกเป็นแกนสำคัญของธุรกิจเครื่องประดับในปันหยู การค้าเครื่องประดับโดยใช้ฮ่องกงเป็นแหล่งส่งสินค้าออกไปยังประเทศอื่นอีกต่อหนึ่งนั้นร้อยละ 70 เป็นสินค้าที่มาจากเขตปันหยู ปันหยูส่งออกเครื่องประดับคิดเป็นราวร้อยละ 60 ของการส่งออกเครื่องประดับของจีนทั้งหมด โดยสินค้าจำนวนมากส่งไปยังสหภาพยุโรป ฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และรัสเซียอย่างไรก็ดี ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เขตปันหยูหันมาหาตลาดภายในประเทศมากขึ้นเพื่อรับมือกับการส่งออกที่ลดลงนับตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกเมื่อปี 2008 จนมาถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้การสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กิจการเครื่องประดับในปันหยูจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากที่เน้นการส่งออกมาเป็นกิจการที่สนองความต้องการของตลาดหลายแห่งเพื่อการขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ปันหยูยังปรับบทบาทไปเป็นฐานการจัดหาสินค้าให้แก่แบรนด์เครื่องประดับทั้งในและต่างประเทศ ด้วยเป้าหมายมูลค่าการผลิตกว่าหนึ่งแสนล้านหยวนต่อปี พร้อมๆกันกับการเปลี่ยนแนวทางอุตสาหกรรมเครื่องประดับจากการ“ผลิตในปันหยู” มาเป็นการ“สร้างสรรค์ในปันหยู”เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ปันหยูเป็นแหล่งสร้างสรรค์ชิ้นงานเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์แปลกใหม่ให้แก่ตลาดทั้งในและต่างประเทศปัจจุบันปันหยูเป็นที่ตั้งของบริษัทเครื่องประดับกว่า 400 แห่งจากภูมิภาคและประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศ กำลังการผลิตเครื่องประดับคิดเป็นรายผลิตภัณฑ์กว่า 700,000 ชิ้นต่อปี ในแต่ละปีมีการฝังพลอยสีกว่า 70 ตันลงในเครื่องประดับ มีโรงงานเจียระไนพลอยสีราว 1,000 แห่ง มีบริษัทในธุรกิจการขายกว่า 2,000 แห่ง มีพนักงานทั้งหมดราว 100,000 คน นักออกแบบเครื่องประดับกว่า 800 คนและแบบผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นใหม่กว่า 100,000 แบบ

Read More

12/05/2564

มัมมี่ลิ้นทองคำ สุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีแห่งปี 2020


ที่วิหาร "ทาโปไซริส แม็กนา" (Taposiris Magna) ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ มีการค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญที่ถือเป็นสุดยอดการค้นพบแห่งปี 2020 คือการขุดพบมัมมี่ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,000 ปี ที่มีลักษณะพิเศษต่างจากมัมมี่ทั่วไปที่เคยพบก่อนหน้านี้ เพราะมัมมี่ดังกล่าวมีลิ้นที่ทำจากแผ่นทองคำอยู่ในปาก นักโบราณคดีบางกลุ่มเชื่อกันว่า วิหารซึ่งเป็นสถานที่ฝังร่างมัมมี่แห่งนี้อาจเป็นสุสานเดียวกันกับที่ฝังร่างของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 อันโด่งดังด้วยมัมมี่ลิ้นทองคำร่างนี้ฝังอยู่ในช่องเก็บศพซึ่งเจาะเข้าไปในก้อนหินขนาดใหญ่ ร่วมกับมัมมี่อื่น ๆ อีก 15 ร่างที่มีสภาพไม่สมบูรณ์นัก ทีมนักโบราณคดีผู้ค้นพบคาดว่า มัมมี่เหล่านี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ทอเลมี (Ptolemy) ซึ่งวัฒนธรรมกรีก-โรมันได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงในอียิปต์ หรืออาจมาจากยุคที่จักรวรรดิโรมันเริ่มเข้ามาปกครองอียิปต์อย่างเต็มตัวยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การประดิษฐ์เครื่องรางขึ้นเป็นรูปลิ้นจากแผ่นทองคำ แล้วนำเข้าไปไว้แทนที่อวัยวะจริงในช่องปากนั้น ทำไปด้วยสาเหตุใดกันแน่ แต่อาจเป็นได้ว่าผู้ตายมีความพิการหรือความผิดปกติทางการพูด จึงจำเป็นต้องมีลิ้นใหม่เพื่อใช้พูดจากับเทพโอไซริส (Osiris) ผู้พิพากษาตัดสินวิญญาณของคนตายในปรโลกนอกจากมัมมี่ลิ้นทองคำแล้ว ยังพบมัมมี่เพศหญิงที่มีหน้ากากและกล่องบรรจุร่าง ที่ชั้นในของโลง โดยกล่องบรรจุร่างนี้ทำจากปูนปลาสเตอร์ ผ้าลินิน และกาว ปั้นเป็นรูปทรงใบหน้าและลำตัวที่พอดีกับร่างผู้ตาย แล้วประดับตกแต่งด้วยทองคำเปลวเป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งมงกุฎ เขาสัตว์ งูเห่า รวมทั้งสร้อยคอที่มีจี้รูปหัวนกเหยี่ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสก่อนหน้านี้มีการค้นพบเหรียญเงินจำนวนมากที่วิหารทาโปไซริส แม็กนา ซึ่งเหรียญเหล่านี้สลักชื่อและภาพใบหน้าของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอาณาจักรอียิปต์โบราณ อันนับเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า ยังมีการใช้งานวิหารแห่งนี้บูชาเทพโอไซริสและเทพีไอซิสในสมัยที่พระนางครองอำนาจอยู่ ทำให้น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นสถานที่ฝังพระศพซึ่งปัจจุบันก็ยังค้นหาไม่พบราชวงศ์ทอเลมีเป็นชาวกรีกที่ปกครองอียิปต์ระหว่างช่วง 304 - 30 ปีก่อนคริสตกาล โดยหลังจากพระนางคลีโอพัตราพ่ายแพ้ต่อกองทัพของจักรพรรดิออกัสตัส ทำให้อียิปต์ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอย่างสมบูรณ์ในที่สุดที่มา : เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก

Read More

12/05/2564

ขบวนเสด็จทองคำ


ขบวนราชรถที่ตกแต่งด้วยลวดลายสีทองเหลืองอร่ามงดงาม เคลื่อนไปอย่างช้าๆพร้อมรถม้าศึกจำลองแบบโบราณ บนถนนที่มีการปรับและปูพื้นใหม่ให้ราบเรียบเสมอกัน ขนาบด้วยขบวนรถของเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยเพื่อนำร่างฟาโรห์และราชินี 22 พระองค์ไปยังที่ประทับแห่งใหม่ผู้คนจำนวนมากออกมาที่รอที่สองข้างทางระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร บนถนนสายหลัก ใจกลางกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เพื่อคอยชม"ขบวนเสด็จทองคำของฟาโรห์" แห่ร่างมัมมี่ของฟาโรห์และราชินี 22 พระองค์ จากพิพิธภัณฑ์อียิปต์ (Egyptian Museum) ไปยังพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอารยธรรมอียิปต์ (NMEC) ซึ่งจะเป็นที่ประทับถาวรแห่งใหม่ในขบวนแห่ที่ตกแต่งอย่างหรูหราสมพระเกียรตินี้ ประกอบไปด้วยราชรถขนย้ายพระศพของฟาโรห์ 18 พระองค์ และราชินีอีก 4 พระองค์แห่งยุคราชอาณาจักรใหม่ เรียงตามลำดับช่วงเวลาการขึ้นครองราชย์ในประวัติศาสตร์ เริ่มจากฟาโรห์เซเคเนนเร ทาว ที่ 2 "นักรบผู้กล้า" จากราชวงศ์ที่ 17 ไปจนถึงฟาโรห์รามเสสที่ 9 ซึ่งปกครองอียิปต์ในช่วง 1,200 ปีก่อนคริสตกาลร่างมัมมี่ของฟาโรห์ที่โดดเด่นน่าสนใจในขบวนนี้ คือฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งครองราชย์ยาวนานถึง 67 ปี และได้ชื่อว่าเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกของโลก รวมทั้งพระนางฮัตเชปซุตซึ่งได้ขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นฟาโรห์หญิง ในยุคที่ธรรมเนียมโบราณไม่อนุญาตให้สตรีครองราชย์ได้ร่างมัมมี่ของกษัตริย์เหล่านี้เคยถูกขนย้ายมาแล้วหลายครั้ง นับแต่มีการขุดค้นพบเมื่อปี 1881 และ 1898 ที่เมืองลักซอร์ทางตอนเหนือของอียิปต์ โดยมีการขนส่งลงเรือมาทางแม่น้ำไนล์เพื่อนำมายังกรุงไคโร และในบางครั้งก็ขนย้ายโดยเก็บไว้ในตู้รถไฟชั้นหนึ่งอนึ่ง หอจัดแสดงร่างมัมมี่กษัตริย์ในพิพิธภัณฑ์ NMEC ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการขนย้ายที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีการจำลองสภาพภายในของสุสานที่ฝังพระศพแบบเหมือนจริงที่หุบเขากษัตริย์ รวมทั้งมีการนำหีบพระศพและสมบัติที่ขุดพบมาจัดแสดงไว้ในที่เดียวกันด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่มีการจัดแสดงมัมมี่ให้ดูสวยงามสมศักดิ์ศรีของผู้วายชนม์ โดยมุ่งรักษาเกียรติของอดีตกษัตริย์ และทำให้เหมือนจริงเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

Read More

12/05/2564

ของขวัญแห่งมิตรภาพไทย-สหรัฐ


“Great and Good Friend” ถูกใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายอย่างเป็นทางการที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเขียนกราบบังคมทูลพระกรุณาพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม นับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐ เป็นไปด้วยดีตลอดระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี และมีการแลกเปลี่ยนของขวัญแห่งมิตรภาพระหว่างกันมาเป็นระยะ ของขวัญระหว่างมิตรภาพชุดแรกเริ่มขึ้นเมื่อคราวที่มีการลงพระปรมาภิไธยในสนธิสัญญาแฮร์ริสเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ได้พระราชทานของขวัญหลายชิ้นให้แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ แห่งสหรับอเมริกา และประชาชนอเมริกัน ทั้งเครื่องถม ผ้า และศาสตราวุธ ซึ่งมีความหมายมิใช่เป็นแต่เพียงของขวัญเท่านั้น หากยังหมายถึงทรงเชื้อเชิญแขกเมืองให้มายังราชสำนักสยามอีกทางหนึ่งด้วยชุดของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ พ.ศ. ๒๓๙๙ • ผ้านุ่งสำหรับขุนนาง ขนาด ๙๖ x ๓๑๙ ซม. • ขันถมทอง ขนาด ๑๑.๒ x ๒๑.๕ ซม. • พานรองถมทอง ขนาด๑๐.๕ x ๒๑.๑ ซม • พานรองถมทอง ขนาด ๑๐.๕ x ๒๑.๑ ซม • กรรไกรเครื่องตัดผมถมทอง ความยาว ๓๕.๓ ซม. • ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักไม้แก้วกริชเหล็กไหลมลายู และฝักไม้แก้วของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก่ประธานาธิบดีเจมส์ บูแคนัน (ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นเป็นผู้รับ) ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักถมทองพ.ศ. ๒๔๐๔ ยาว ๘๖.๔ ซม.ในขณะที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ ทูลเกล้าฯถวายภาพเหมือนประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ และภาพเหมือนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๙ ด้วยเช่นกัน ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๑๙ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ ได้มีการพระราชทานของขวัญอีกหลายชิ้นให้แก่สถาบันสมิธโซเนียน ประกอบด้วย • ชุดเชี่ยนหมากถมตะทองและชุดเครื่องแป้งถมตะทอง กาน้ำ ซองพลู พานรอง ขัน โถปริก และกระโถนปากแตรใหญ่ • ดาบกับกริช สัญลักษณ์แห่งอำนาจที่บ่งบอกถึงฐานันดรศักดิ์ในราชสำนักสยาม อาวุธเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความเป็นพหุสังคมของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดรับวัฒนธรรมจากหลายประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงญี่ปุ่น และหมู่เกาะแถบคาบสมุทรมลายู • ดาบทำอย่างญี่ปุ่น ฝักไม้แก้วและฝักถมทอง • กริชเหล็กไหลมลายู และฝักไม้แก้ว ฉลองพระองค์ครุย เสื้อคลุมปักทองอันประณีต นอกจากเป็นฉลองพระองค์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าตามขัตติยราชประเพณีแล้ว ยังใช้เป็นของขวัญที่มอบให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญในต่างประเทศ เพื่อเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตอีกด้วย ในการนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทานแก่สถาบันสมิธโซเนียน เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๐

Read More

Loading...
More