บทความทั่วไป

08/04/2565

อะเมโซไนท์ ...หยกแห่งอะเมซอน


“อะเมโซไนท์” (Amazonite) เป็นนชื่อเรียกพลอยเนื้ออ่อนชนิดหนึ่งในตระกูลเฟลด์สปาร์ มีสีเขียวอมฟ้า เนื้อพลอยค่อนข้างทึบแสง มีความแข็งที่ระดับ 6.0 - 6.5 ตามโมห์สเกล และเนื่องจากมีสีโทนเขียวคล้ายกับสีของแม่น้ำและป่าอเมซอน จึงได้รับสมญานามว่า ‘หยกแห่งอะเมซอน’หรือ Amazon Jade อะเมโซไนท์ พบได้ที่ประเทศ อินเดีย บราซิล ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย มาดากัสการ์ และแทนซาเนีย เป็นต้น ชาวไอยคุปต์เป็นชนชาติแรกๆ ที่นำอัญมณีชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ในวงกว้างทั้งในชนชั้นกษัตริย์ และสามัญชน โดยมีการขุดพบข้าวของเครื่องใช้และสร้อยลูกปัดทำจากอะเมโซไนท์ในพีระมิดของฟาโรห์ตุตันคาเมน นอกจากนี้ พวกเขายังได้นำพลอยชนิดนี้มาแกะสลักเป็นรูปเคารพของเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งเป็นที่นับถือ ทั้งยังถูกไปทำเป็นเครื่องรางและเครื่องประดับอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์รู้จักแร่ชนิดนี้มาหลายพันปีมาแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับอะเมโซไนท์นั้นมีหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าสามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและฟัน ระบบประสาท ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ ทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยสมานแผล อีกทั้งยังเป็นอัญมณีที่ช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยทางใจช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ ลดทอนความกลัวและความกังวลในจิตใจ เสริมพลังงานด้านบวกและเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในสมัยโบราณชาวบราซิลโดยเฉพาะบรรดานักรบต่างๆ นิยมนำอะเมโซไนท์มาตกแต่งอาวุธ เช่น ทำด้ามดาบและโล่เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยเพิ่มความกล้าหาญ และป้องกันอันตรายในสนามรบได้ อีกทั้งยังนำพลอยชนิดนี้มาทำเป็นเครื่องรางเพื่อพกไว้ติดตัวไว้ด้วยปัจจุบันแบรด์เครื่องประดัชั้นนำของโลกนำอะเมโซไนท์มาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประดับ และได้รับความนิยมไม่แพ้อัญมณีชนิดอื่นๆ เช่นสร้อยข้อมือทองชมพู แตกแต่งด้วยอะเมโซไนท์กำไลข้อมือทำจากทอง 18 กะรัต ตกแต่งด้วยอะเมโซไนท์ จากTiffany & Co.เป็นต้น

Read More

06/04/2565

ดิจิทัลเจน พลังขับเคลื่อนตลาดเครื่องประดับในอนาคต


ข้อมูลจาก Alioze แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ สัญชาติอังกฤษ ระบุว่าชาวมิลเลนเนียลและชาวเจน Z จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในตลาดสินค้าหรูอย่างเครื่องประดับในอนาคตข้างหน้านี้ ปัจจุบันชาวมิลเลนเนียลมีสัดส่วนใน ตลาดสินค้าหรู 35% และจะขยายตัวเป็น 45% ในปี 2025 ส่วนชาวเจน Z มีสัดส่วนราว 4% ในปัจจุบันและจะขยายตัวเป็น 40% ภายใน 15 ปีจากนี้ โดยในปี 2025 ชาวมิลเลนเนียลและเจน Z จะมีสัดส่วนถึง 55% ในตลาดสินค้าหรู ซึ่งจะเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาสร้างความเติบโตให้ตลาดทดแทนกลุ่มช่วงอายุมากกว่านี้ซึ่งมีกำลังซื้อสินค้าหรูลดลง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อเครื่องประดับของคน 2 กลุ่มนี้ ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยชาวมิลเลนเนียล นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ พิถีพิถัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลิตจากแหล่งที่มีจริยธรรม และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขณะที่ชาวเจน Z ชอบอ่านรีวิว เปรียบเทียบสินค้า สนใจสินค้าที่ราคาไม่แพงนัก แต่มีนวัตกรรมใหม่ๆ และกำลังเป็นที่นิยม รวมทั้งการนำเสนอที่ตรงจุด ไม่ยืดเยื้อ ทั้งนี้ จากการเติบโตของผู้บริโภคหลักทั้งสองกลุ่มนี้ ทำให้มีแบรนด์ชั้นนำในอุตสาหกรรมเริ่มจับตลาดกลุ่มนี้ชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างแบรนด์เครื่องประดับหรูที่เริ่มปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับตลาดทั้งสองกลุ่มนี้เช่น Pandora บริษัทเครื่องประดับยักษ์ใหญ่ สัญชาติเดนมาร์ก ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ 6-8% ต่อปี ได้ขยายฐานไปยังลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลและเจน Z มากขึ้นโดยเน้นไปที่การใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นหลักในการผลิต ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มหลักให้ความสำคัญ Cartier แบรนด์เครื่องประดับหรูหรา จากฝรั่งเศส ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน (ก่อตั้งในปี 1847) เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่พลิกโฉมหน้าภาพลักษณ์เดิมๆ ด้วยการกล้าที่จะใช้กลยุทธ์การตลาด Digital First กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มชาวมิลเลนเนียลและเจน Z มากขึ้นโดยเฉพาะ ในประเทศจีนTiffany & Co อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำของโลก สัญชาติอเมริกันที่หันมาให้ความสำคัญกับตลาดคนวัยมิลเลนเนียลและ Gen Z ด้วยการขยายช่องทางสู่ออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องราวของแบรนด์ ทำให้กลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นเหล่านี้มีความคุ้นเคยกับแบรนด์เพิ่มขึ้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไม่สามารถใช้แนวทางการค้าในรูปแบบเดิมได้อีกต่อไป นอกจากการค้าออนไลน์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนามาตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่แล้ว รูปแบบของสินค้ากระบวนการผลิต วัตถุดิบ การให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาและอัตลักษณ์ของแบรนด์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

Read More

05/04/2565

UAE ถูกขึ้นบัญชีเฝ้าระวังประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือUAE ไม่เพียงเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกเท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างรายและลดการพึ่งพาน้ำมัน ทั้งการส่งเสริมการค้าการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับชาวต่างชาติ การส่งเสริมให้นครดูไบ เป็นศูนย์กลางการค้าทองคำที่สำคัญของโลก ทำให้UAEกลายเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค และด้วยกฎระเบียบการเปิดเสรีทางการค้านี้เองได้กลายเป็นช่องทางให้มีการใช้UAEเป็นแหล่งฟอกเงินและลักลอบค้าทองในต้นเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมาคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนด้านการเงินแก่การก่อการร้าย (Financial Action Task Force : FATF)ได้ประกาศบัญชีเฝ้าระวังประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน (Grey List) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศแอลเบเนีย บาร์เบโดส บูร์กินาฟาโซ กัมพูชา หมู่เกาะเคย์แมน เฮติ จาเมกา จอร์แดน มาลี มอลตา โมร็อกโก เมียนมา นิการากัว ปากีสถาน ปานามา ฟิลิปปินส์ เซเนกัล ซูดานใต้ ซีเรีย ตุรกี ยูกันดา และเยเมน และประเทศที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในครั้งนี้ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ การที่มีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรากฏในรายชื่อดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าในทันที แต่อาจเป็นอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในดูไบที่เป็นแหล่งเขตปลอดภาษีราว 75% ของทั้งประเทศ ซึ่งดูไบไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้าทองคำ แต่ยังเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรก้อนที่สำคัญไม่แพ้ Antwerp ในเบลเยียมอีกด้วย นอกจากนี้ Jewelers Vigilance Committee (JVC) ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความเห็นว่า ควรต้องมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในประเด็นการฟอกเงิน ถ้ากิจการมีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีรายชื่อในบัญชีเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นแผนกตรวจสอบของธนาคารจะต้องสอดส่องรายการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทในสหรัฐอเมริกากับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเข้มงวดด้วยทั้งนี้ ในปี 2564 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คิดเป็นมูลค่า 192.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ในสัดส่วน 59.05%, 33.74% และ 2.42% ตามลำดับ

Read More

04/04/2565

ธนาคารกลางทั่วโลกสำรองทองคำรวมกันสูงสุดในรอบ 3 ทศวรรษ


มีรายงานว่าธนาคารกลางทั่วโลกมียอดซื้อทองคำสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 ปี (2553-2564) โดยในปี 2564 มีปริมาณการซื้ออยู่ที่ 463 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 82 เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มียอดซื้อสุทธิต่ำสุดในรอบทศวรรษที่ 255 ตัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกมีทองคำสำรองรวมกันเกือบ 35,600 ตัน สูงสุดในรอบเกือบ 30 ปีมีธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่15 แห่ง ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษที่มีการซื้อทองคำจำนวนมากจากธนาคารกลางในตลาดพัฒนาแล้ว โดยในไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ซื้อทองคำเพิ่มกว่า 26 ตัน เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบอย่างน้อย 21 ปี ตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ส่งผลให้สิงคโปร์มีทองคำสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 154 ตัน หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของทุนสำรองทั้งหมดในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซื้อทองคำมากที่สุดราว 90 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่งผลให้ ธปท. ถือครองทองคำอยู่ที่ 244 ตัน คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 6 ของทุนสำรองทั้งหมด และกลายเป็นธนาคารกลางที่มีปริมาณการถือครองทองคำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รองลงมาเป็นธนาคารกลางอินเดียที่ซื้อทองคำในปีที่แล้ว 77 ตัน มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งซื้อทองคำ 200 ตัน จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และอันดับ 3 คือ ธนาคารกลางฮังการีที่ซื้อทองคำ 63 ตันในปีที่แล้ว เพิ่มปริมาณทองคำสำรอง 3 เท่าจากเดิม รายงานยังระบุด้วยว่า ราคาทองคำเฉลี่ยในปี 2564 เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สูงกว่าราคาเฉลี่ยในปี 2563 ราว ๆ ร้อยละ 2 และยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับนี้ ด้านการผลิตทองคำในปีที่แล้ว อยู่ที่ 4,666.1 ตัน ลดลงร้อยละ 1 จากปีก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน ถือเป็นครั้งแรกที่การผลิตทองคำลดลงติดกันในรอบกว่าทศวรรษ โดยการผลิตจากเหมืองทองคำมีปริมาณอยู่ที่ 3,561 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าปี 2562 เล็กน้อย เช่นเดียวกับการขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของผู้ผลิต ที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2557 และปริมาณการรีไซเคิลทองคำอยู่ที่ 1,150 ตัน ลดลงร้อยละ 11สำหรับการซื้อทองคำในปี 2564 ของไทยมีปริมาสูงสุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค รองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ปริมาณการซื้อทองคำต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสิงคโปร์ และยังสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างกลุ่มประเทศยุโรป อังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ส่วนใหญ่เป็นความต้องการซื้อของผู้ลงทุนรายย่อยในตลาดทองรูปพรรณ

Read More

03/04/2565

ETF ฉุดทองคำเพื่อการลงทุนลดลง ขณะที่ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพิ่มขึ้น


World Gold Council : WGC รายานตัวเลขการลงทุนทองคำเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแบ่งเป็นทองคำแท่งและเหรียญทองคำ กับกองทุนรวม (ETF)ที่อิงกับทองคำ ลดลงร้อยละ 43 อยู่ที่ 1,007 ตัน ในส่วนความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 แตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ 1,180 ตัน ซึ่งความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 318 ตัน มากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4 ของปี นับตั้งแต่ปี 2559 ปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำเพิ่มขึ้นมาจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และเยอรมนี ที่ความต้องการส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาก สำหรับการถือครอง ETF ที่อิงกับทองคำ ลดลง 173 ตัน ในปี 2564 ซึ่งแตกต่างจากในปี 2563 ที่อยู่ที่ 874 ตัน เนื่องจากนักลงทุนปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาวะของตลาด บางรายได้ลดการป้องกันความเสี่ยงในช่วงต้นปี เมื่อประชาชนทั่วไปเริ่มได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้การถือครองทองคำมีราคาแพงขึ้น แต่การไหลออกของทองคำมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับทองคำปริมาณถึง 2,200 ตัน ที่กองทุน ETF ได้สะสมไว้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สภาทองคำโลกยังจัดทำรายงานแนวโน้มทองคำปี 2565 แยกออกมา โดยประเมินว่า ในปีนี้ทองคำอาจเผชิญกับความเคลื่อนไหวที่คล้ายกับเมื่อปีที่แล้ว แต่จะเผชิญกับแนวโน้มที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งถือเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางทองคำ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ส่งสัญญาณที่จะใช้มาตรการเข้มงวดขึ้น โดยจากประมาณการการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (dot plot) คาดว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี)แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ แต่ประสบการณ์จากอดีตสะท้อนว่า ผลกระทบมีจำกัด และไม่ใช่ว่าธนาคารกลางทุกแห่งจะพร้อมใจกันขึ้นดอกเบี้ย เพราะต้องการประคองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไปก่อน เมื่อประกอบกับสถานการณ์เงินเฟ้อในระดับสูง ทำให้ยังมีความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง

Read More

03/04/2565

ความต้องการทองคำทั่วโลกพุ่ง แตะระดับสูสุดในรอบ 2 ปี


สภาทองคำโลก (World Gold Council) รายงานสถานการณ์ทองคำในปี2564 ที่ผ่านมาว่าความต้องการทองคำทั่วโลก ไม่นับรวมการซื้อขายแบบ over-the-counter (OTC) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4,021 ตัน โดยได้แรงหนุนจากความต้องการในไตรมาส 4 ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส หรือ 2 ปีครึ่ง ความต้องการทองคำฟื้นตัวขึ้นมากหลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในปี 2563 ทั้งความต้องการทองคำที่เป็นเครื่องประดับ และทองคำสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่ฟื้นตัวตลอดทั้งปีตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น ขณะที่ธนาคารกลางซื้อทองคำในปีที่แล้วมากกว่าปี 2563 รวมทั้งมีความต้องการลงทุนท่ามกลางปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อสูงแข่งกับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของทองคำที่ใช้ในภาคเทคโนโลยีเมื่อปี 2564 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 อยู่ที่ 330 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี แม้ความต้องการด้านเทคโนโลยียังน้อยกว่าภาคส่วนอื่น ๆ แต่ทองคำถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท อยู่ที่ 272 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปี 2563 ส่วนความต้องการทองคำที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ฟื้นตัวเช่นกัน อยู่ที่ 47 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ยกเว้นความต้องการด้านทันตกรรมที่ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 4 อยู่ที่ 11 ตัน สำหรับความต้องการเครื่องประดับทองคำในปี 2564 อยู่ที่ 2,123.6 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52 นับเป็นการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่ปี 2562 โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ที่ความต้องการอยู่ที่ 713 ตัน ถือเป็นความต้องการที่แข็งแกร่งสุดรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2556 ซึ่งอินเดียเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในไตรมาสที่ 4 แต่ความต้องการเครื่องประดับในตลาดทั่วโลกแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบปีต่อปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมาตรการจำกัดพื้นที่ หรือล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดลดลง

Read More

01/04/2565

วิกฤติปริมาณทองคำสำรองของเวเนซุเอลา


รายงานการเงินของธนาคารกลางเวเนซุเอลาระบุว่าปริมาณทองคำแท่งสำรองของประเทศลดลงแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี ซึ่งทองคำนี้เป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศสำหรับบริหารจัดการการเงินของชาติท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาสังคมที่ยืดเยื้อมานานหลายปี โดยมูลค่าของทองคำสำรองดังกล่าวนี้นับถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้วอยู่ที่4,560 ล้านดอลลาร์ ลดลง 493 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2563ในรายงานยังระบุว่า เมื่อปีที่แล้วธนาคารกลางเวเนซุเอลาซื้อทองคำมาสำรองไว้ 79 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลง 7 ตันจากปี 2563 (86 ตัน) และประเมินว่าราคาเฉลี่ยของทองคำสำรองในปี2564 อยุ่ที่ 1,799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่อยู่ที่ 1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ธนาคารกลางเวเนซุเอลาเคยถือครองทองคำมากกว่า 300 ตันมานานหลายทศวรรษ แต่ก็เกิดจุดเปลี่ยนขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่าปี 2558-2560 รัฐบาลจึงเริ่มใช้ทองคำเป็นหลักประกันกู้เงินกับธนาคารของต่างประเทศขณะที่การผลิตน้ำมันลดลง รวมไปถึงการคว่ำบาตรของสหรัฐที่ขัดขวางการส่งออกน้ำมันดิบทำให้รัฐบาลของประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร หันมาใช้ทองคำเป็นแหล่งเงินทุน ขณะที่เมื่อเดือนมีนาคมปีก่อนฝ่ายค้านได้กล่าวหารัฐบาลว่าส่งทองคำให้กับประเทศมาลีโดยเครื่องบินของรัสเซียแล้วนำไปขายต่อในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เพื่อแลกกับเงินยูโยและเงินดอลลาร์สหรัฐที่ผ่านมามีการกล่าวหาว่ารัฐบาลของมาดูโรมาโดยตลอดว่านำทองคำสำรองออกขายมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเมืองในเวเนซุเอลา โดยในปี2562 รัฐบาลของนายมาดูโรได้ขอถอนทองคำมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารแห่งอังกฤษ (บีโออี) แต่ถูกปฏิเสธและมีรายงานข่าวว่าเวเนซุเอลาขายทองคำจำนวน 15 ตันจากแบงก์ชาติให้กับสหรัฐอารับเอมิเรสต์เพื่อแลกกับเงินยูโร เช่นเดียวกับการถอนทองคำรวม 29 ตันจากธนาคารกลางในกรุงการากัส ให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ในปีเดียวกันแลกกับเงินสกุลยูโรเพื่อนำไปเพิ่มสภาพคล่องและซื้อสินค้าพื้นฐานย้อนกลับไปเมื่อปี 2561 เวเนซุเอลาก็เคยขายทองคำมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์ให้กับตุรกีมาแล้ว การนำทองคำออกมาขายนี้เป็นผลมาจากการผลิตน้ำมันตกต่ำ เศรษฐกิจล่มสลาย โดนสหรัฐคว่ำบาตรอย่างหนักส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ ในขณะที่การขอกู้ระหว่างประเทศเป็นไปได้ยาก

Read More

14/03/2565

ศก.ไทยส่งสัญญาณฟื้นตัว หลังตัวเลขความต้องการทองคำพุ่งในปี’64


สภาทองคำโลก (WCG) เปิดเผยตัวเลขความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 25664 เพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศไทยที่คัวเลขความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในไตรมาสที่4 ที่เพิ่มขึ้นถึง 44% สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเผชิญวิกฤติโควิดยานานสองปีความต้องการทองคำในประเทศไทยปี 2564 ที่ผ่านมาแนวโน้มความต้องการทองคำของผู้บริโภคแตะระดับ 12 ตัน ในไตรมาสที่ 4 หรือเพิ่มขึ้น 44% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า รวมถึงความต้องการเครื่องประดับทองรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 8 ตัน เพิ่มขึ้น 38% จาก 6 ตัน ในปี 2563 และความต้องการใช้เครื่องประดับเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันในการเติบโตแบบปีต่อปีเรียกได้ว่าเป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดตั้งแต่เกิดการระบาดโควิด-19 และสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยได้ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญยังเพิ่มขึ้นแตะ 29 ตัน เทียบกับปี 2563 ที่มีการขายสุทธิที่ 87 ตันนอกจากนี้สภาทองคำโลก ยังรายงานความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2564 ว่าฟื้นตัวขึ้นนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มาอยู่ที่ 4,021 ตัน โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ความต้องการทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้นเเตะ 1,147 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบ 50% เมื่อเทียบรายปีขณะที่ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญเพิ่มขึ้น 31% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ 1,180 ตัน เนื่องมาจากนักลงทุนรายย่อยมองหาสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยท่ามกลางสภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19

Read More

14/03/2565

พระศรีรัตนเจดีย์


ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์สีทองเหลืองอร่ามตั้งตระหง่านอยู่ในภายวัด พระเจดีย์นั้นมีชื่อว่า ‘พระศรีรัตนเจดีย์’ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2398 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ 3 องค์ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ทรงนำมาจากลังกา สถาปัตยกรรมของพระศรีรัตนเจดีย์นั้น องค์พระเจดีย์เป็นทรงกลมแบบลังกา มีลักษณะเหมือนระฆังคว่ำ มีความสูงประมาณ 40 เมตร เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนประดับกระเบื้องโมเสกสีทองทั้งองค์ ภายในกลวง ประกอบด้วยฐานเขียง มีมาลัยเถา 3 ชั้น สลับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย รองรับระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสาหานรองรับปล้องไฉนซึ่งทำเป็นบัวลูกแก้วจากใหญ่ขึ้นไปหาเล็กซ้อนกันจำนวน 20 ชั้น จากนั้นเป็นปลีและยอดเม็ดน้ำค้าง มีซุ้มประตูทางเข้า 4 ทิศ ภายนอกปิดด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองทั้งหมด ภายในบุด้วยหินอ่อน ลักษณะของทางเข้าเป็นรูปโค้งแหลม เหนือซุ้มเป็นลายปูนปั้นรูปช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ตอนบนของซุ้มตั้งพระเจดีย์องค์เล็กลักษณะเดียวกับพระศรีรัตนเจดีย์บนฐานสี่เหลี่ยม มีมุข 4 ด้านทำเป็นหน้าบันประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง บานประตูเป็นประตูหูช้างทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกลงยา เป็นลายช่อดอกไม้สีเขียวแก่แดงเข้มและเงิน เหนือประตูเป็นช่องลมระบายอากาศกรุลวดตาข่าย กรอบประตูตอนบนจำหลักเป็นรูปพญานาค 2 ตัวหางชนกันตรงกลางห้อยเศียรลงด้านข้างภายในองค์เจดีย์เป็นห้องโถงกลม ผนังโบกปูนทาสีขาวสอบไปตามความสูงของพระเจดีย์ ตรงกลางห้อยฉัตรสีขาวตรงกับพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ผนังตอนล่างประดับหินอ่อนสีเทา สูงจากพื้นประมาณ 60 เซนติเมตร พื้นปูหินอ่อนสีเทารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลายทแยงมุม ตรงกลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์องค์เล็กซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะเหมือนกับพระศรีรัตนเจดีย์ทุกประการ ยกเว้นแต่เป็นเจดีย์ลงรักสีดำทั้งองค์ ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ฐานล่างเป็นรูปแปดเหลี่ยม มีมุข 4 มุข ฐานบนเป็นฐานบัวหงายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2325 เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในพระราชวังหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ และไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ มีแต่ส่วนพุทธาวาส ไม่มีส่วนสังฆาวาส ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพระอุโบสถ กลุ่มอาคารประกอบ และกลุ่มฐานไพที โดยพระศรีรัตนเจดีย์ที่จะกล่าวถึงอยู่ในกลุ่มนี้ ที่มานุกรมเสรี / silpa-mag

Read More

11/03/2565

"ประตูกะอ์บะฮ์ " ฝีมือช่างไทยในซาอุฯ


เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีคณะราชวงศ์ของประเทศซาอุดีอาระเบีย เยือนประเทศไทย มีเจ้าชายอามีร มายิด ผู้ว่าการนครมักกะฮ์เป็นหัวหน้าคณะ ติดต่อไม้มะค่าโมงจากประเทศไทยเพื่อเอาไปทำประตูกะอ์บะห์พร้อมหาช่างไม้และช่างทองฝีมือดีของไทยไปร่วมสร้างประตูนี้ด้วย หลังการประสานงานจากผู้เกี่ยวข้องในที่สุดก็ได้ไม้มะค่าโมงซึ่งมีอายุถึง ๒๐๐ ปี มีความหนา ๓ นิ้ว กว้าง ๑.๖ เมตร ยาวกว่า ๒ เมตร จำนวน ๘ แผ่น ซึ่งไม้นี้เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้เพียงต้นเดียวกันใช้เวลาเลื่อยและอบที่ประเทศไทยนาน ๓ เดือน และได้ช่างไม้ 3 คนชื่ออีซา กาสุรงค์ ,ฮุเซ็น และอิ่ม และสุไลมาน ซันหวัง ส่วนช่างทอง ได้แก่ อาลี มูลทรัพย์,ฮุไซนี อารีพงษ์ และคุณกอเซ็ม ชนะชัยการทำประตูกะอ์บะฮ์นั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนสูงและความชื่นภายในกะบะห์อาจทำให้ไม้นั้นยืดและหดตัวได้ จึงต้องใช้วิธีตัดซอยไม้จากแผ่นใหญ่ออกให้เป็นส่วนที่เล็กลง เพื่อทำการเข้าลิ่ม เหมือนกับบ้านไทยโบราณโดยใช้กาว และตะปูเป็นตัวเชื่อม เพื่อให้รองรับการยืดหดตัวของไม้ส่วนในเรื่องของทองนั้นช่างทอง ต้องหลอมและรีดให้เป็นแผ่น ขนาด ๑ คูณ ๓ เมตร แล้วเขียนแบบตัวอักษรอาหรับแล้วจึงตอกเป็นตัวนูน ซึ่งผู้ที่เขียนภาษาก็คือ เช็คอับดุลรอฮีม อามีน ใช้เวลาในการเขียนนาน ๒ ปีกว่าเนื่องจากป่วยต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นระยะสำหรับขั้นตอนในการติดตั้งประตูกะอ์บะฮ์นั้น ผู้ที่คอยดูแลในขณะที่ติดตั้งเป็นประจำคือ เช็คตอฮา อัชชัยบี ผู้ถือกุญแจประตูกะอ์บะฮ์ในขณะนั้น ต้องใช้อุปกรณ์ติดตั้ง เช่น นั่งร้าน ตอนติดตั้งก็ต้องให้ทีมงานช่างไทยไปติดตั้งภายในกะอ์บะฮ์ก็มีประตูอีกบานหนึ่ง เป็นประตูสำหรับช่องที่มีมันไดขึ้นไปยังหลังคากะอ์บะฮ์ โดยจะขึ้นไปเวลาเปลี่ยนผ้าคลุมกะอ์บะฮ์ ใช้เวลาติดตั้งเป็นสัปดาห์ "ประตูกะอ์บะฮ์ ฝีมือช่างไทย"นี้ตั้งอยู่ใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย กะอ์บะฮ์เป็นจุดหมายในการหันหน้าไป ของมุสลิมทั่วโลกในเวลาละหมาด และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีแสวงบุญ คือ อุมเราะฮ์ และฮัจญ์ กะอ์บะฮ์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ ๔๐ ฟุต และสูงประมาณ ๕๐ ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของหินดำ แต่เนื่องจากผ้าคลุมกะอ์บะฮ์นี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ติดตั้งอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้นข้อมูลจาก อาจารย์เอาลา มูลทรัพย์

Read More

11/03/2565

Eileen Gu…Golden Girl In Beijing 2022


ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว หรือ Beijing 2022 Eileen Gu ไม่มีใครโดดเด่นไปกว่านักสกีสาววัย 18 ปี ลูกครึ่งอเมริกัน-จีน ที่สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันฟรีสกีบิ๊กแอร์ได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากความสามารถด้านสกี หน้าตาน่ารักสดใสแล้วเธอยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์หรูชื่อดังมากกว่า 20 แบรนด์ การขึ้นสแตนด์รับเหรียญทองของเธอจึงเป็นที่จับจ้องของแฟนกีฬาทั้งโลกEileen Gu ไม่เพียงเป็นตัวแทนนักกีฬาวัยเยาว์ที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางออนไลน์ด้านแฟชั่นและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยหนุ่มสาวอย่างมิลเลนเนียลและเจน Z การคว้าเหรียญทองของเธอในครั้งนี้นอกจากเป็นชัยชนะด้านกีฬาแล้ว ยังเป็นชัยชนะของแบรนด์ Tiffany & Co. ในการทำตลาดจีนได้เพิ่มขึ้นอีกด้วยทั้งนี้เพราะภายหลังจากการคว้าเหรียญทอง แฮชแท็ก “Gu Ailing won the Gold medal”ถูกรีวิวมากกว่า 300 ล้านวิว ผ่านสื่อออนไลน์อย่าง Weibo ทำให้แหวนและกำไล Tiffany & Co. ที่เธอใส่ระหว่างพิธีมอบรางวัลได้กลายเป็นแฟชั่นสุดฮิตทันที ก่อนหน้านี้ Eileen Gu สามารถคว้าแชมป์สกีระดับโลกมาแล้วหลายรายการนับตั้งแต่เธออายุเพียง 15 ปี และนอกจากแบรนด์Tiffany & Co. แล้วเธอยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับอีกหลายแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น Cadillac, Chanel, Estée Lauder, และLouis Vuitton อนึ่งในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว หรือ Beijing 2022 นี้เจ้าภาพจีนได้นำรูปแบบของอัญมณีและเครื่องประดับหยกในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสตศักราช-ค.ศ. 9) มาใช้ในการออกแบบเหรียญรางวัลครั้งนี้ โดยตัวเหรียญมีสัญลักษณ์ 5 ห่วงโอลิมปิกอยู่กึ่งกลาง และมีวงล้อมรอบเป็นชั้นๆ ซึ่งทำเป็นลวดลายก้อนเมฆ หิมะ และน้ำแข็ง โดยเหรียญนี้มีชื่อว่า Tong Xin หรือหมายถึง การรวมกันเป็นหนึ่ง

Read More

09/03/2565

ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี’64


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สรุปตัวเลขการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดัของไทยตลอดปี2564 ว่า สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบปีคือ ทองคำที่ยัง มิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปด้วยสัดส่วนร้อยละ 38.68 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม สินค้าส่งออกในอันดับ 2 คือเครื่องประดับแท้ ทั้งเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลทินัมในสัดส่วน ร้อยละ 33.62 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.73 รองลงมาคือเพชร พลอยสี และเครื่องประดับเทียมตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยใน รอบ 12 เดือนของปี2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 44.79 แต่หาก พิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า เติบโตได้ร้อยละ 26.94 และหากพิจารณาถึงมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออกทองคำฯ และมูลค่าสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.26 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของ ไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบปี 2564 ที่เติบโตได้นั้น เนื่องจาก การฟื้นตัวกลับมาของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจ ที่สำคัญซึ่งเป็นคู่ค้ากับไทย ส่วนใหญ่สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เป็นปกติจากการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลังของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการใช้มาตรการทางสาธารณสุขที่นำมาใช้ ควบคู่กับการเร่งกระจายวัคซีนทำให้ครอบคลุมทั่วถึงประชากร ส่วนใหญ่จึงสามารถลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตลง ได้อย่างมีนัยยะ อีกทั้งภาคการผลิตและการบริโภคทั่วโลก สามารถขยายตัวได้ มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมให้การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับให้เติบโตได้ดีนับตั้งแต่มีนาคม 2564 เป็นต้นมา โดยสินค้าที่มีความโดดเด่นของไทย คือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับเทียม รวมทั้งเพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและ เนื้ออ่อนเจียระไน

Read More

08/03/2565

ตะวันออกกลาง...รสนิยมเครื่องประดับที่เปลี่ยนไป


ที่ผ่านมาผู้บริโภคในภูมิภาคอาหรับมักนิยมอัญมณีและเครื่องประดับทอง แต่ปัจจุบันความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับเพชรและพลอยสีกำลังเพิ่มสูงขึ้น ด้วยผู้บริโภคหันกลับมาให้ความสนใจกับความสดใส สีสัน และความรื่นเริงหลังจากผ่านบรรยากาศที่ซบเซาในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้ค้าอัญมณีระบุว่า รสนิยมของผู้บริโภคในภูมิภาคอ่าวอาหนรับ(GCC) นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยผู้บริโภครุ่นใหม่หันมาสนใจอัญมณีและเครื่องประดับขนาดเล็กที่ดูทันสมัยกันมากขึ้น เพราะอ่าวอาหรับมีประชากรอายุน้อยเป็นจำนวนมาก ประชากรราวร้อยละ 65 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี หญิงสาวชาวอ่าวอาหรับเริ่มสนใจอัญมณีและเครื่องประดับขนาดเล็กที่ดูประณีตและทันสมัย พวกเธอหลีกเลี่ยงงานออกแบบขนาดใหญ่เทอะทะ สร้อยคอยาว และอัญมณีและเครื่องประดับน้ำหนักมาก แล้วหันมาสนใจอัญมณีและเครื่องประดับตามเทรนด์ใหม่ๆ แทน ผู้บริหารของ DGJG บริษัทผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับขนาดใหญ่ระบุว่าแม้รสนิยมดังกล่าวจะทำให้น้ำหนักอัญมณีและเครื่องประดับที่ขายได้นั้นลดลง แต่ผู้ขายก็ได้รับการชดเชยในแง่ปริมาณที่มากขึ้น เพราะผู้บริโภคซื้ออัญมณีและเครื่องประดับชิ้นเล็กลงแต่ก็ซื้อบ่อยขึ้นเพื่อให้ทันเทรนด์แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การออกคอลเล็คชันใหม่ปีละ4-5ครั้งเพื่อสนองความต้องการสินค้าใหม่ๆ ในตลาด ช่วยให้ขายอัญมณีเครื่องประดับได้มากขึ้น และการขายก็ง่ายขึ้น นอกจากตลาดในภูมิภาคอ่าวแล้วแอฟริกาเป็นตลาดอีกแห่งหนึ่งที่มีศักยภาพสำหรับกิจการอัญมณีและเครื่องประดับ ประเทศอย่างเช่นไนจีเรียและเซเนกัลซึ่งเป็นผู้ส่งทองคำมายังดูไบเพื่อผลิตเป็นอัญมณีและเครื่องประดับแล้วส่งออกไปยังตลาดในแอฟริกา ก็ต้องการอัญมณีและเครื่องประดับที่แวววาว และมีสีสัน เช่นกัน

Read More

07/03/2565

ดูไบ ศูนย์กลางธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับหลังวิกฤติโควิด-19


หลังวิกฤติโควิด-19 ผู้ปะกอบการอัญมณีและเครื่องประดับเริ่มสำรวจเทคโนโลยี แนวคิด และมองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อนำธุรกิจของตนให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ และตะวันออกกลางก็เป็นภูมิภาคที่มักได้รับการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะท่ดูไบ เมืองดูไบในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) เปรียบเสมือนโอเอซิสอันรุ่งโรจน์ที่มีทั้งความทันสมัย ความสร้างสรรค์ และนวัตกรรม กิจกรรมการตลาดของสินค้าเครื่องประดับและอัญมณี มีศูนย์กลางอยู่ที่นี่ โดย DMCC หรือ Dubai Multi Commodities Centre หน่วยงานที่ดูแลทางด้านการค้า วิสาหกิจ และสินค้าโภคภัณฑ์ของรัฐบาลดูไบ เขื่อว่าดูไบพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญ เพราะเชื่อมโยงประชากรโลกร้อยละ 60 ผ่านเส้นทางบิน สามารถสร้างการเติบโตในธุรกิจทองคำ อัญมณี เพชร และเครื่องประดับได้ QYResearch Group รายงานผลการศึกษาไว้ในเดือนมิถุนายน 2021 ว่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับทอง ทองคำแท่ง และโลหะเงินในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีมูลค่า 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 และคาดว่าน่าจะใกล้แตะระดับ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปลายปี 2030 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 3.66 ในช่วงปี 2021 ถึง 2030 นอกจากนี้ สภาทองคำโลก: World Gold Council (WGC) ยังได้ระบุว่าตะวันออกกลางเป็นหนึ่งในตลาดที่ผลักดันการเติบโตของอัญมณีและเครื่องประดับทองในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2021 ร่วมกับจีนและอินเดีย WGC ระบุว่า“ตลาดทุกแห่งในตะวันออกกลางมีการเติบโตในไตรมาสที่สามจากช่วงเดียวกันของปี 2020 เนื่องจากราคาทองต่ำลงและค่อนข้างมีเสถียรภาพในขณะที่มาตรการควบคุมโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง” ความต้องการเครื่องประดับทองในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เติบโตขึ้นร้อยละ 116 เป็น 8.2 ตันในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2021 จากเดิมที่ 3.8 ตันในไตรมาสที่สามของปี 2020 สภาทองคำโลกยังบอกว่าว่าการมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดียนั้นได้ช่วยกระตุ้นความต้องการเครื่องประดับทองเติบโตขึ้น.ปริมาณการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับรายปีของดูไบอยู่ในช่วงระหว่าง 200 ถึง 220 ตัน ตามข้อมูลจากองค์กรผู้ค้าส่งและค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดในดูไบที่มีสมาชิกเป็นบริษัทราว 600 แห่งให้ความเห็นว่าการผลิตเครื่องประดับทองภายในประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 60 ถึง 70 ตัน ในขณะที่ดูไบยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางหลักสำหรับการจัดส่งอัญมณีและเครื่องประดับไปยังประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) อันได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ บาห์เรน โอมาน และคูเวต ประเทศอื่นๆ ภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกาตอนเหนือ กลาง และใต้ เอเชียกลาง ยุโรปตอนใต้และรัสเซียอีกด้วย

Read More

06/03/2565

ลงทุนอัญมณีชนิดไหนดี มีมูลค่าสูง


เพชร ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต ได้ชื่อว่าเป็น Big4 แห่งอัญมณี ซึ่งมีประวัติการค้ามาหลายพันปี และยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพื่อสะสมเป็นมรดกตกทอด เป็นของขวัญ ของแต่งงาน และลงทุนเพื่อการเก็งกำไรในระยะยาว และในยามที่ตลาดค้าอัญมณีโลกชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่แนวโน้มตลาดอัญมณี Big 4 ก็ยังคงสดใสอยู่Future Market Insights คาดว่ายอดขายอัญมณี Big 4 ในตลาดโลกระหว่างปี 2021 – 2031 จะเติบโตเฉลี่ย 5.7% ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบราคาของอัญมณีทั้ง 4 ชนิดจะพบว่ามีทิศทางไปในทางบวก และน่าสนในสำหรับนักลงทุนเพชร อัญมณีเพชรแท้มีปริมาณน้อยและหายาก จึงทำให้มีราคาสูง จากข้อมูลของ DG Diamant Gems ระบุว่า เพชรคุณภาพสูงขนาด 1 กะรัต หรือ 0.2 กรัม จะมีมูลค่าเทียบเท่าทองคำแท่ง 1 กิโลกรัม และแนะนำว่าควรลงทุนอัญมณีเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไป ทรงกลม (Round Brilliant Cut) สี D ถึง F และความสะอาด IF ถึง VVS2 6 จากสถิติราคาอัญมณีเพชร พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปี 2019 ราคาอัญมณีเพชรต่อกะรัตเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ7 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัญมณีเพชรขนาด 3 กะรัต ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 123% นอกจากนี้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อัญมณีเพชรสีหายากยิ่งให้ผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอัญมณีเพชรสีชมพูมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 200% เลยทีเดียวทับทิม ทับทิมคุณภาพสูงไม่ปรับปรุงคุณภาพเป็นที่นิยมลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะอัญมณีทับทิมสีแดงเลือดนกของเมียนมา เป็นพลอยสีที่หายากมากและมีมูลค่าสูงที่สุด จากข้อมูลราคาของ Gemworld10 สำหรับทับทิมเมียนมา คุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 ราคาอยู่ที่ 36,000 ดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2021 ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 47,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2016 เกือบ 32% ซึ่งทับทิมที่มีคุณภาพดีที่สุดมีมูลค่าสูงสุดได้ถึงกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต11 ส่วนทับทิมคุณภาพดีจากแหล่งอื่น เช่น มาดากัสการ์ โมซัมบิก และแทนซาเนีย ก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาทับทิมปรับเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าแซปไฟร์แซปไฟร์ที่ได้รับความนิยมมากคือ แซปไฟร์สีน้ำเงิน โดยแซปไฟร์แคชเมียร์หรืออินเดีย ถือว่าเป็นอัญมณีหายากและมีค่ามากที่สุดเพราะไม่มีการขุดค้นแร่ใหม่มานานกว่าศตวรรษแล้ว รองลงมาคือแซปไฟร์จากเมียนมา ศรีลังกาหรือซีลอน และมาดากัสการ์ รวมถึงแซปไฟร์แฟนซี สีเหลือง ชมพู และพัดพารัดชาก็เป็นที่นิยมมากขึ้น ปกติแซปไฟร์คุณภาพดีขนาด 2 – 3 กะรัตจะมีราคาราว 1,600 – 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต จากข้อมูลราคาของ Gemworld สำหรับอัญมณีแซปไฟร์เมียนมาคุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 มีราคาราว 8,480 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 มีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 3.18% จากปี 2016 ทั้งนี้ แซปไฟร์คุณภาพสูงอาจมีราคาได้สูงกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต มรกต มรกตขนาดใหญ่ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพซึ่งหาได้ยากมากเป็นที่ต้องการอย่างสูงในหมู่นักลงทุน โดยอัญมณีมรกตจากโคลอมเบียจะมีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะมีสีเขียวสดค่อนข้างใส ถือเป็นสีที่สวยเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก รองลงมาคือมรกตบราซิล และแซมเบียปัจจุบันอัญมณีมรกตธรรมชาติมีราคาตั้งแต่ 200 ดอลลาร์สหรัฐไปจนถึง 18,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแหล่งกำเนิดของพลอยนั้น จากข้อมูลราคาของ Gemworld มรกตคุณภาพดีขนาดต่ำกว่า 8 กะรัตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อพิจารณามรกตขนาด 8 กะรัตในปี 2021 ราคาอยู่ที่ 9,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2016 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐจะเห็นว่าเพชรและพลอยสีทั้ง 3 ชนิดมีราคาสูงมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และมีแนวโน้มมูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต เพราะผลิตได้น้อยลง แต่มีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพลอยสีคุณภาพสูงไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ

Read More

05/03/2565

ทิศทางการค้าอัญมณี ในปี 2022


จากข้อมูลของ PR Newswire ในเครือ Cision ผู้ให้บริการเผยแพร่ข่าวสาร ระบุว่าในปี 2020 การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกจะมีมูลค่าราว 366,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 451,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.5% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การดำรงธุรกิจให้ยังคงอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ซื้อในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับประกอบด้วย หนึ่ง การซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับต่างหันมาให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะผู้ซื้อเกือบทั้งหมดหันมาซื้อสินค้าออนไลน์ ส่งผลให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้น จาากรายงานของ Bain & Company ระบุว่า ในปี 2020 ยอดขายปลีกเพชรออนไลน์เพิ่มขึ้น 20% หรือจากรายงานของ Mastercard ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2021 ตลาดสหรัฐฯ มียอดซื้อเครื่องประดับออนไลน์พุ่งสูงถึง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซและการโต้ตอบลูกค้าออนไลน์ กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้นสอง การค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ ปัจจุบันผู้ซื้อมักต้องการความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อ โดยเฉพาะอัญมณีราคาแพง จึงมักค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนการตัดสินใจซื้อ ฉะนั้นการสื่อสารข้อมูลให้กับลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยช่องทางที่นิยม ได้แก่ Instagram Facebook หรือ YouTube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์กระแสหลักที่นิยมใช้งานทั่วโลกสาม การเติบโตของการบริโภคอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่มีจริยธรรมและยั่งยืน นับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้ออัญมณีหรือเครื่องประดับของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคจำนวน 8,400 รายในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็น 7 ตลาดผู้บริโภคเพชรหลักของโลก พบว่า ผู้บริโภคราว 60% พิจารณาปัจจัยความยั่งยืนก่อนการตัดสินใจซื้อ และอีกกว่า 80% ได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้างที่เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังพบว่า เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยเป็นอันดับที่ 3 รองจากอาหารและเสื้อผ้า โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นหลัก สำหรับเครื่องประดับเพชร การพิจารณาความยั่งยืนถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคในทุกตลาด ดังนั้น ความต้องการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นกระแสหลักให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคตต้องปรับตัวในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สวยงาม ด้วยการใช้วัตถุดิบซึ่งมีแหล่งที่มาโปร่งใสและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Read More

04/03/2565

อัญมณีและเครื่องประดับมือสอง..โอกาสทางการตลาดในยุโควิด


ตลาดสินค้ามือสองโดยเฉพาะสินค้าหรูอย่างเครื่องประดับและอัญมณีมีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศจีนซึ่งเป็นขนาดตลาดใหญ่ โดยมี 4 เหตุผลที่ผู้ซื้อใช้ประกอบในการตัดสินใจซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมือสองคือ หนึ่ง มูลค่าของอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะนอกเหนือจากความต้องการและรูปแบบที่มีอยู่ในใจของผู้ซื้อแล้ว ราคาสินค้าก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อด้วยเช่นกัน สอง ความเก่า/ความหายาก/ความชอบส่วนบุคคล การซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมือสอง นอกจากความเก่า ความหายากเฉพาะตัวแล้ว การตัดสินใจซื้อยังขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล ความรู้สึกพิเศษหรือความไม่เหมือนใครด้วย สาม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมาก การเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมือสองก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการที่ผู้ขายให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมก็สามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับอัญมณีและเครื่องประดับมือสองได้ในอีกทางหนึ่ง สี่ คุณภาพของอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องประดับมักเป็นสิ่งของที่ถูกส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง นั่นหมายความว่า การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นก็จะมีการส่งต่อคุณภาพของอัญมณีและเครื่องประดับร่วมอยู่ด้วย อีกทั้งการส่งต่ออัญมณีและเครื่องประดับสู่มือผู้ขาย ก็จะทำให้มีการคัดกรองคุณภาพเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าผู้ที่เลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมือสองจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ดีกว่าไปโดยปริยาย หากประมวลเหตุผลในด้านต่างๆ รวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันเข้าด้วยกันแล้ว ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับมือสองจึงเป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างชัดเจน และมีความยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย

Read More

13/02/2565

นานเท่าไหร่แล้วที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองคำ


ทองคำเป็นแร่ธาตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงสี แตกต่างจากแร่ชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก ตะกั่ว เงิน และทองแดง ความมั่นคงและมูลค่าที่ไม่เคยตกของทองคำ ทำให้ความต้องการทองคำเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา และนักวิทยาศาสตร์ก็ได้เรียนรู้ว่า ไม่มีกรดชนิดใดสามารถทำลายทองได้ มนุษย์ จึงเรียนรู้ที่จะนำทองคำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตนอกเหนือจากการทำเครื่องประดับ และมีวิวัฒนาการเรื่อยมานับพันปี นับจากก่อนคริสตศักราช 700 ปี ชาว Etruscan ที่เคยตั้งรกรากอยู่ทางตอนกลางของประเทศอิตาลีปัจจุบัน เริ่มรู้จักการใช้ทองคำมาทำทันตกรรม ในค.ศ. 1803 ช่างโลหะชาวอิตาลีชื่อ Luigi Brugnatelli ได้ลองใช้ทองคำเคลือบเหรียญเงินเป็นครั้งแรกในปี 1848 ได้เกิดเหตุการณ์ตื่นทองในรัฐ California ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีการขุดพบแร่ทองคำจำนวนมาก ในปี 1887 นักเคมี McArthur Forest ได้ใช้สารประกอบ cyanide ในการสกัดทองคำออกจากแร่ดิบได้เป็นครั้งแรก ปี 1957 Jack Kilby ได้นำลวดทองคำมาใช้ในวงจรรวม (integrated circuit , IC) เป็นครั้งแรก สิ่งประดิษฐ์นี้ทำให้ Kilby ได้รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ประจำปี 2000ในปี 1985-87 Masatake Haruta นักเคมีชาวญี่ปุ่น กับ Graham Hutchings นักเคมีชาวอังกฤษ ได้พบว่าละอองนาโนทองคำ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) เคมีที่ดีในปี 1996 Chad Mirkin และ Paul Alivisatos สองนักเคมีชาวอเมริกันได้พบวิธีพัฒนาละอองนาโนทองคำ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ รวมถึงใช้ในการปฏิรูปเซลล์ไฟฟ้า และสร้างวัสดุ LED (Light Emitting Diode)ในปี 2000 บริษัท Boston Scientific ของอเมริกาได้พัฒนาวงลวดเทียม (stent) ที่เคลือบด้วยทองคำ เพื่อใช้ในการผ่าตัดหัวใจ เพราะทองคำไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นต้นทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการนำทองคำมาใช้ประโบชน์ของมนุษยชาติ

Read More

13/02/2565

ล้างมือในอ่างทองคำ และสำนวนทองคำจากทั่วโลก


ล้างมือในอ่างทองคำ เป็นสำนวนจีน อุปมา หมายถึงการ วางมือ เลิกยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวบุญคุณความแค้นต่างๆ ในยุทธภพ ปัจจุบันยังหมายถึง “ วางมือจาก กิจการ หรือ อำนาจ ” ใช้กับ ผู้มีอำนาจ ผู้มีบทบาท ผู้มีอิทธิพล สำนวนนี้ เดิมทีหมายถึง การวางมือจากกิจการอาชีพที่ไม่ดี เลิกทำในสิ่งที่ไม่ดี แต่ปัจจุบัน ยังใช้ในความหมาย “วางมือจากกิจการหรืออาชีพที่ทำมานาน” เช่น ประธานบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ประกาศวางมือจากการบริหารธุรกิจของบริษัททั้งหมด ให้รุ่นลูกรุ่นหลานหรือผู้อื่นบริหารแทน เป็นต้นนอกจากในสำนวนจีนแล้ว ทองคำยังเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสำนวนของคนทั่วโลก เช่นชาวกรีก บอกว่า ทองคำสามารถพิสูจน์นิสัยคนได้ฉันใด ไฟก็สามารถพิสูจน์คนไดฉันนั้นไม่มีป้อมปราการใดในโลก ที่ลาบรรทุกทองคำจะเดินผ่านไปไม่ได้ชาวเยอรมัน บอกว่า ทองคำคือกุญแจที่สามารถไขได้ทุกประตูชาวอังกฤษ บอกว่า ไม่มีฝุ่นละอองใด ที่ทำให้หูและตาคนมั่วได้ยิ่งกว่าทองคำ ชาวฝรั่งเศส บอกว่า สิ่งที่น่าเกลียด ถ้าถูกเคลือบด้วยทองคำก็จะกลายเป็นสิ่งสวยงามในทันทีทองคำคือเลือดที่หล่อเลี้ยงรัฐต่าง ๆของประเทศชาวลิทัวเนีย บอกว่า ทองคำเปล่งประกายแสงได้ดี แม้จะตกอยู่ในโคลนตมก็ตามชาวนอร์เวย์ บอกว่า ในบ้านทองคำของเศรษฐี วันเวลาจะล่วงไปอย่างยืดยาดชาวเช็ค บอกว่า ม้ากินข้าวโอ๊ต วีรบุรุษดื่มเบียร์ ศักดินาประดับประดาตัวเองด้วยทองคำ ส่วนของไทยก็มีสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับทองหลายคำเช่น ทองแผ่นเดียวกัน อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร เป็นต้น

Read More

10/02/2565

“อาลัวทองคำ” ไอเดียดี รับทรัพย์วันตรุษจัน


ณวรัณ เจียมเงิน เจ้าของร้าน R-LUE by เดอะซิ้ม ปิ๊งไอเดียทำอาลัวทองคำขายในเทศกาลตรุษจีน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ด้วยความแปลกไม่เหมือนใครเจ้าของไอเดียคุณเมย์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มทำอาลัวทองคำมาตั้งแต่เดือนธันวาคม และทำต่อเนื่องมาจนใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน โดยมีอาลัว 2 แบบ คือ อาลัวทองแท่ง และอาลัวกิมตุ้ง ซึ่งขั้นตอนการทำ เหมือนการทำอาลัวทั่วไป จะต่างกันเพียงขั้นตอนอัดพิมพ์และปัดผงทองคำเท่านั้นที่ต่างกัน คือ นำแป้งสาลีและน้ำตาลมาผสม คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นผสมกะทิลงไป คนให้เข้ากัน แล้วนำไปตั้งไฟกวนบนกระทะจนกว่าเนื้อจะไม่ติดกระทะและไม้พาย จากนั้นนำมาอัดพิมพ์ รูปทองคำแท่ง และกิมตุ้ง เสร็จแล้วปัดผงทองชนิดกินได้ ขัดให้ขึ้นเงา เมื่อนำไปอบแล้วจะได้เนื้อเนียนสวยเหมือนทองจริง การทำอาลัวทองคำนี้ใช้ความละเอียดมากกว่าอาลัวทั่วไป เพราะเป็นงานโชว์ผิว จึงต้องค่อยๆทำ จึงใช้เวลามากกว่าอาลัวทั่วไปเป็นเท่าตัว และจัดใส่กล่องอย่างดีเป็นรูปทองแท่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมรายได้ตลอดเดือนที่ผ่านมามากกว่าแสนบาท หลังจากเลยเทศกาลตรุษจีนไปแล้วลูกค้าก็ยังสามารถสั่งอาลัวทองคำได้อยู่ และเตรียมพบกับอาลัวแห่งความรักใน เทศกาลวาเลนไทน์ที่กำลังจะถึงนี้

Read More

08/02/2565

ทองคำ กับ ตรุษจีน เกี่ยวข้องกันอย่างไร


สภาทองคำโลก(World Gold council) ได้ทำการศึกษาปริมาณความต้องการทองคำในช่วงเทศกาลตรุษจีนในประเทศจีนเมื่อปี 2021 พบว่า ยอดขายทองคำในช่วงเทศกาลตรุษจีนจากร้านค้าปลีกในประเทศจีนสูงขึ้นกว่า 710% และเมื่อดูตัวเลขยอดขายย้อนไป 10 ปี ก็พบว่าเป็นแบบนี้มาตลอด จากสถิติและผลการศึกษานี้น่าจะช่วยยืนยันว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีอุปสงค์หรือแรงซื้อทองคำจากประชากรชาวจีนมากมายที่อาศัยอยู่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นจริง ๆ โดยเฉพาะในช่วง 7 วันและ 14 วันก่อนวันตรุษจีน ที่นอกจากตวามต้องการทองคำจะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ราคาทองคำก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นรับวันตรุษจีนด้วยสำหรับประเทศไทย ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ นายกสมาคมค้าทองคำ คาดว่าจะมีการซื้อขายทองคำคึกคักขึ้น โดยมีโอกาสที่การซื้อขายทองคำจะมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงตรุษจีนปีที่แล้ว เนื่องจากช่วงต้นปี 2564 การระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ยังคงหนัก ซึ่งส่งผลทำให้กำลังซื้อลดน้อยลง แต่ราคาทองคำในช่วงตรุษจีนนี้อาจจะไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก โดยทั้งทองคำรูปพรรณและทองคำแท่ง ณ ปัจจุบัน ราคาอยู่ที่ประมาณ 28,000-29,000 บาท วันตรุษจีนถือเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก ซึ่งนอกจากประเพณีการไหว้บรรพบุรุษแล้ว การมอบของขวัญหรืออั่งเปาให้กับลูกหลานหรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งนอกจากเงินที่ใส่ในซองแดงหรือ อั่งเปา แล้วก็คนจีนยังนิยมให้ทองเป็นของขวันในวันปีใหม่ของจีนอีกด้วย

Read More

07/02/2565

ต่อประทานบัตรเหมืองทอง "อัครา" อีก 10 ปี มีผลทนที


เหมืองทองอัตราได้รับการต่ออายุประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเงิน จำนวน 4 แปลง ออกไปอีก 10 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2574 และต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ออกไปอีก 5 ปี บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด (คิงส์เกต) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส ฯ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ในจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ได้รายงานถึงการที่บริษัทได้รับอนุญาตการต่ออายุประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำและเงิน โดยได้กล่าวขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรม และยืนยันว่ามีการใช้เทคโนโลยีซึ่งมีมาตรฐานระดับสากล และดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และให้ความสำคัญกับการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินงานของบริษัทไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัทฯได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการผลิตทองคำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน มุ่งเน้นส่งเสริมการปฏิบัติงานภายใต้มาตรฐานสากลด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า บริษัทปฏิบัติทุกอย่างตามกฎหมายและหลักธรรมภิบาลอย่างเคร่งครัด การดำเนินงานของบริษัทไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

Read More

06/02/2565

ความต้องการทองคำของจีน ปี’64 ขยายตัว 36.53%


สมาคมทองคำจีน เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้ทองคำในประเทศปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งในสามจากปีก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19รายงานระบุว่า ปริมาณการใช้ทองคำปี 2564 เพิ่มขึ้น 36.53% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 1,120.9 ตัน อีกทั้งยังเพิ่มขึ้น 11.78% เมื่อเทียบกับระดับของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ระบาด สมาคมทองคำจีน ระบุในแถลงการณ์ว่า "เนื่องจากผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของจีน ปริมาณการใช้ทองคำในประเทศตลอดปี 2564 จึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563"ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ทองรูปพรรณพุ่งขึ้น 44.99% แตะ 711.29 ตัน เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนปริมาณการใช้เหรียญทองคำและทองคำแท่งเพิ่มขึ้น 26.87% แตะ 312.86 ตันในส่วนของยอดการผลิตทองคำของจีนปี 2564 ลดลง 9.95% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 328.98 ตันผลผลิตที่ลดลงรายปีนี้เป็นผลมาจากการปิดเหมืองในมณฑลชานตงและมณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นมณฑลที่ผลิตทองคำรายใหญ่ของจีน หลังจากเกิดอุบัติเหตุในเหมืองทองคำบางแห่ง

Read More

05/02/2565

หลากหลายปัจจัยกำหนดราคาทองคำปี’65


นักวิเคราะห์มองปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ บวก-ลบ ต่อาคาทองคำปีเสือว่า น่าจะมาจาก 3 ปัจจับหลักคือการดำเนินนโยบายของเฟด การเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางและกองทุนทองคำและความต้องการทองคำในตลาดอินเดียและจีน1.การดำเนินนโยบายของเฟด นักวิเคราะห์มองว่าอาจจะกระทบต่อราคาทองคำในครึ่งปีหลังจากมาตรการการเร่งลดการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่เฟดได้ส่งสัญญาณในการลดวงเงินการทำ QE เพื่อเปิดทางในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งอาจกดดันให้ราคาทองคำปรับลง 2. การเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางและกองทุน SPDR ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ธนาคารประเทศต่างๆ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าซื้อ ทองคำ แท่งเพื่อใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกองทุนทอง SPDR ซึ่งเป็นกองทุนทองคำขนาดใหญ่ได้กลับมาซื้อทองคำ หลังจากที่ทำการขายมาตลอดทั้งปี แต่เริ่มกลับเข้าซื้อเมื่อเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดทองคำ3. ความต้องการทองคำกายภาพเริ่มกลับมา โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าทองคำรายใหญ่ของโลก เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งผลต่อความต้องการทองคำของทั้ง 2 ประเทศ เนื่องจาก ความนิยมทองคำในพิธีสำคัญต่างๆ อาทิ เทศกาลตรุษจีน งานแต่งงานนอกจากนี้ทองคำยังเป็นที่ต้องการของนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนส่วนใหญ่มีไว้ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดียังต้องมีการลงทุนในทองคำ 5-15% ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย อีกทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยหนุนให้คนหันมาซื้อทองคำเพื่อการลทุนมากขึ้นในรูปแบบออนไลน์ และสามารถซื้อทองคำเริ่มต้นด้วยเงินเพียงหลักสิบหลักร้อย ในรูปแบบของการออมทอง หรือการผ่อนทอง ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาทองคำทั้งสิ้น

Read More

04/02/2565

คาดการณ์ราคาทองคำตลอดปี’65


สมาคมค้าทองคำ ประมาณการราคาทองคำในตลาดโลกปี 2565 ว่าจะทรงตัวในระดับ 1,800 ถึง 1,825 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ โดยให้จับตามองช่วงไตรมาสที่สองของปีที่ทางธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงส่วนราคาทองคำในประเทศปีนี้เชื่อว่าช่วงต้นปีจะทรงตัวอยู่ที่ระดับบาทละ 28,150 ถึง 29,000 บาท และหากถึงช่วงที่ทางธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคา ทองคำในประเทศจะลดลงต่ำกว่าบาทละ 28,000 บาท โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ยังคงมีการกลายพันธุ์ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยซบเซาแต่ไม่มีผลกระทบต่อตลาดราคาทองคำมากนักในส่วนของนักวิเคราะห์มองว่า ภาพรวมตลอดทั้งปี 2565 ราคา ทองคำจะยังทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา โดยราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบบวกลบ 3,000 บาทจากปี 2564 หรือคาดว่าปรับขึ้นไปสูงสุดประมาณ 29,800 บาท โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่จะส่งผลต่อราคาทองคำในปีนี้เช่น การดำเนินนโยบายของเฟด การเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางและกองทุน SPDR ความต้องการทองคำของผู้บริโภครายใหญ่อย่างอินเดียและจีน เป็นต้น

Read More

03/02/2565

ส่งออกเครื่องประดับไทยฟื้นตัวตลอดปี’64 ตลาดใหญ่ยังเป็นอเมริกา


กรมศุลกากร รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยตลอดปี2564 ว่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด ตามมาด้วย อินเดีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เบลเยียม ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าหลักสำคัญที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา คือ เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทอง คิดเป็นสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 77 รองลงมาคือเพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับเทียม ซึ่งทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 25.88 ของมูลค่ากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปทั่วโลกฮ่องกง มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับ2 ที่ร้อยละ 12.97 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้านั้นอันเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน หดตัวลงร้อยละ 0.57, ร้อยละ 15.39 และร้อยละ 14.91 ตามลำดับ เช่นเดียวกับเยอรมนี ที่แม้จะมีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับ3 แต่ก็ปรับตัวลดลง เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียมมีปริมาณลดลง การส่งออกไป อินเดียตลาดใหญ่อันดับ4 มีมูลค่าสูงขึ้น โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญคือเพชรเจียระไน ที่ครองสัดส่วนสูงสุดราวร้อยละ 73 ส่วนโลหะเงิน พลอยก้อน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนการส่งออกหดตัวลง ส่วนการส่งออกไปยัง สหราชอาณาจักร ขยายตัวต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับ-เทียม พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม ขณะที่การส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ยังคงเติบโตได้จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง รวมทั้งสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกรวมตลอดปี 2564 อยู่ที่ 5,571.51ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Read More

02/02/2565

ตัวเลขส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เติบโตต่อเนื่องตลอดปี64


สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในปี2564 มีมูลค่า 5,571.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.69 โดยเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีนาคม สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด(ยังไม่รวมยอดเดือนธันวาคม) คือ ทองคำที่ยังไมได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.54 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย รองลงมาคือเครื่องประดับแท้ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 33.42 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยสินค้าส่งออกหลักคือ เครื่องประดับเงิน เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.42 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เครื่องประดับทอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.81 เครื่องประดับแพลทินัม มีมูลค่าเติบโต ร้อยละ 58.03 เพชร เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.05 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ขยายตัวได้ร้อยละ 32.57 โดยเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้ อันดับ4 คือพลอสี คิดเป็นร้อยละ 6.76 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม ของไทย โดยสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้เป็น พลอยเนื้อแข็งเจียระไน ได้แก ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต เครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.63 เติบโตร้อยละ 8.10 จากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมีปัจจัยบวกอื่นๆทั้งการเปิด

Read More

12/12/2564

เหรียญทองคำใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของแคนาดา


โรงกษาปณ์แคนาดา (Royal Canadian Mint) ออกเหรียญทองใหม่ 2 รุ่นสำหรับนักสะสมและนักลวงทุน เป็นเหรียญทองคำบริสุทธิ์ 99.999% รุ่น Klondike Gold Rush: Panning for Gold หนัก 1 ออนซ์ ราคาหน้าเหรียญ 200 ดอลลาร์เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 125 ปีของยุคตื่นทองคลอนไดค์ที่โด่งดัง ด้านหลังของเหรียญมีผลงานศิลปะของนักออกแบบเหรียญ Steve Hepburn เป็นภาพวาดมือคนเหมืองที่ถือจานร่อนทอง ที่มีกรวดและน้ำที่ส่องประกาย ขณะเอาน้ำล้างกรวดแล้วเผยให้เห็นเศษทองอยู่ภายใน มีน้ำที่ไหลออกจากจานร่อนทองเหนือเครื่องหมายความปลอดภัยบนเหรียญ เหรียญนี้มีเส้นรัศมีที่เป็นเอกลักษณ์ของเหรียญทองทั้งหมดจากทางโรงกษาปณ์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายรูปใบเมเปิ้ลที่สลักไว้แบบไมโครซึ่งแสดงเลข 21 เพื่อให้สอดคล้องกับปีที่ออก บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์รูปแบบบัตรเครดิตมีใบรับรองความบริสุทธิ์ของทอง ลงนามโดยหัวหน้าผู้ตรวจการโรงกษาปณ์ยุคตื่นทองคลอนไดค์ เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 1896 Keish (Skookum Jim Mason) และหลานชาย รวมถึง Kate Carmack และ George Carmack สามีของเธอ ได้ค้นพบก้อนทองคำในคลอง Rabbit (Bonanza) Creek ในเขตยูคอนของแคนาดา การค้นพบนี้ก่อให้เกิดกระแสตานทองที่ทำให้ผู้แสวงหาความร่ำรวยในถิ่นทุรกันดารทางตอนเหนือ แห่กันมาขุดทองเป็นจำนวนมาก ทำให้แคนาดากลายเป็นผู้ผลิตทองคำชั้นนำของโลก มีการสร้างโรงงาน และโรงกลั่นทองคำใหญ่ระดับโลกในเวลาต่อมาขณะเดียวกัน การตื่นทองก็ได้ส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นและต่อชุมชนชาวพื้นเมืองดั้งเดิมในภูมิภาคคลอนไดค์ พวกเขาต้องพลัดถิ่นฐานและถูกทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมไป เหรียญทองคำทั้งหมดผลิตโดยโรงกษาปณ์แคนาดาซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการผลิตเหรียญกษาปณ์และการจำหน่ายเหรียญหมุนเวียนของแคนาดา และให้บริการโลหะล้ำค่าครบวงจร โรงกษาปณ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโรงกษาปณ์ขนาดใหญ่และมีความหลากหลายมากที่สุดในโลก โดยให้บริการผลิตภัณฑ์เหรียญหลายประเภทที่มีความเฉพาะเจาะจงและมีคุณภาพสูง

Read More

11/12/2564

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาทองแดงในตลาดโลก


ทองแดงมักถูกมองว่าเป็นปรอทวัดสุขภาพเศรษฐกิจโลก เมื่อการระบาดของ COVID-19 เข้าสู่จีนและแพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ราคาซื้อขายแบบทันที(spot price) ของทองแดงลดลงจาก 2.86 ดอลลาร์/ปอนด์ในช่วงเดือนมกราคม 2020 เหลือ 2.12 ดอลลาร์/ปอนด์ในช่วงเดือนมีนาคม หรือลดลงถึง 26% อีกทั้งมาตรการกักตัวก็บังคับให้เหมืองทองแดงทั่วโลกต้องปิดการผลิตเป็นระยะเวลานาน แม้เศรษฐกิจบางประเทศจะเริ่มกลับมาเปิดใหม่ในช่วงกลางปี แต่ปริมาณการผลิตทองแดงยังคงตามหลังอยู่ ทำให้ราคาทองแดงเริ่มทะยานไปแตะที่ 3.52 ดอลลาร์/ปอนด์ ณ สิ้นปี2020 และภายในเดือนกุมภาพันธ์2021 ราคาทองแดงได้เพิ่มขึ้นเหนือ 4.00 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเทาของระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคมมุมมองด้านบวกของราคาทองแดงเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจในเอเชียโดยเฉพาะที่จีนที่กำลังดีขึ้นเรื่อยๆหรือใกล้เคียงกับระดับก่อนการระบาดใหญ่ ซึ่งการฟื้นตัวของจีนน่าจะแปลงเป็นความต้องการทองแดงมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งความต้อองการโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้การคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบหรือปรับลดภาษีในสหรัฐฯและตลาดที่พัฒนาแล้วอื่นๆยิ่งช่วยเร่งให้เกิดความต้องการมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โลหะพื้นฐานเช่นทองแดงมักถูกมองว่าเป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้วและยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ดีในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่นอกเหนือจากแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคในระยะใกล้แล้ว การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระยะยาวเช่นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และศักยภาพในการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น เป็นสองปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองแดง ขยับตัวสูขึ้นสรุปประเด็นสำคัญของแร่ทองแดงคือ : • ราคาทองแดงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราเงินเฟ้อ และในอดีตโลหะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในช่วงเงินเฟ้อ

Read More

08/12/2564

ชิลี...แหล่งแร่ทองแดงใหญ่ที่สุดในโลก


มนุษย์รู้จักนำแร่ทองแดงมาใช้งานเป็นเวลานานนับพันปีแล้ว แหล่งแร่ทองแดงขนาดใหญ่ที่มีการค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์คือเกาะไซปรัส (Cyprus) ซึ่งเป็นที่มาของสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu นั่นเอง โดยีการนำทองแดงมาทำเครื่องมือใช้สอยและอาวุธต่างๆ ปัจจุบันแหล่งแร่ทองแดงที่สำคัญของโลก ได้แก่ ชิลี เปรู สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นตัน โดย เหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ซูคุยคามาดา ประเทศชิลีข้อมูลจาก U.S. Geological Survey รายงานว่า ปริมาณสำรองแร่ทองแดงของโลกทั้งหมดมีประมาณ 690 ล้านตัน มากที่สุดอยู่ในประเทศชิลี มีปริมาณ 190 ล้านตันหรือเท่ากับร้อยละ 27.5 ของปริมาณสำรองแร่ทองแดงของโลก รองลงมาคือออสเตรเลีย เปรู และอเมริกา ตามลำดับ ส่วนประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่า มีเพียงประเทศอินโดนีเซียที่มีแหล่งสำรองแร่ทองแดง ที่ปริมาณ 28ล้านตัน มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบปริมาณสำรองขนาด 690 ล้านตัน กับอัตราการทำเหมืองในปัจจุบัน ปริมาณสำรองจะมีใช้งานได้อีก ประมาณ 40 ปีเศรษฐกิจของชิลี ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองแดงของประเทศเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลชิลีส่งเสริม และเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมถึงอุตสาหกรรมและบริการ อื่นๆ ได้อย่างเสรี อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวเมื่อเดือนตุลาคม 2021 KGHM บริษัทเหมืองแร่ของประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่อันดับที่ 2 ในทวีปยุโรป ได้ ประกาศลงทุนเพิ่มในโครงการเหมืองแร่ Sierra Gorda ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลีมูลค่า กว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงการเหมืองแร่ Sierra Gorda นี้ เป็นการลงทุนร่วมระหว่างบริษัท KGHM ของโปแลนด์และบริษัท Sumitomo Metal Mining Co., Ltd. ของญี่ปุ่น โดยถือสัดส่วนหุ้นที่ 55/45 และเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัท KGHM ได้ยื่นขออนุมัติลงทุนเพิ่ม ล่าสุดหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของชิลีได้ รายงานว่าคณะกรรมการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของชิลีได้อนุมัติให้บริษัทฯ สามารถขยายการขุดเจาะเหมืองแร่ ต่อไปได้อีก 21 ปี รวมถึงสามารถลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมได้ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น จาก 190,000 ตัน/วัน เป็น 230,000 ตัน/วัน

Read More

08/12/2564

‘ไทย’ ถือทองคำเพิ่มมากสุดในปี2021


สภาทองคำโลก หรือ World Gold Council (WGC) รายงานสถานการณ์การถือครองทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทยว่ายังคงครองตำแหน่งผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของปีนี้ โดยเพิ่มทองคำสำรองอีก 90.2 ตันในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ทำให้ปริมาณทองคำสำรองของไทยอยู่ที่ 244.2 ตันซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และคิดเป็น 6% ของทุนสำรองทั้งหมด ทำให้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่ถือครองทองคำสำรองมากที่สุดเป็นอันดับที่ 21 ของโลก สภาทองคำโลก ยังระบุสถานการณ์การถือครองทองคำประจำไตรมาส 3/2021 ว่าธนาคารกลางทั่วโลกยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิทองคำเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน โดยสำรองทองคำเพิ่มขึ้น 69 ตัน แม้ปริมาณการซื้อสุทธิจะชะลอตัวลง จากปริมาณ 191 ตันในไตรมาส 2 แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างมากจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 ที่ธนาคารกลางมีการขายสุทธิทองคำออกมาจำนวน 10.6 ตัน แต่หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้(2021)พบว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำแตะระดับ 393 ตัน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 แล้วนั้น ยังแซงหน้าการเข้าซื้อทองคำในปีที่แล้วทั้งปีจากธนาคารกลางซึ่งอยู่ที่ 255 ตันอีกด้วย อุปสงค์ทองคำในภาคธนาคารกลางถือว่ามีบทบาทสำคัญในตลาดทองคำ โดยคิดเป็นสัดส่วน 10% ของอุปสงค์ทองคำทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของทองคำในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางทั่วโลก ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 พบว่า สัดส่วนของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงจากระดับ 54% สู่ระดับ 51% ด้านทองคำมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากระดับ 13% สู่ระดับ 16% ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อทองคำในหมู่ธนาคารกลางทั่วโลกได้เป็นอย่างดี World Gold Council คาดการณ์ว่าธนาคารกลาง 21% จะเพิ่มการถือครองทองคำขึ้นอีกใน 12 เดือนข้างหน้า โดยไม่มีแผนที่จะลดทองคำสำรองลง และมีแนวโน้มที่ปีนี้จะเป็นปีที่ธนาคารกลางเข้าซื้อทองคำสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ 458 ตัน ซึ่งการเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลางอาจเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับทองคำในระยะยาวได้

Read More

06/12/2564

เครื่องประดับแพลทินัมมาแรงแซงทองในกลุ่มคนรุ่นใหม่


สถาบัน Platinum Guild International (PGI) ทำการสำรวจความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องประดับพบว่า เครื่องประดับแพลทินัมมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากคนรุ่นใหม่ แทนเครื่องประดับทองคำหรืออัญมณี ที่มีราคาแพง โดย PGI ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 2,000 ราย อายุระหว่าง 18 – 65 ปีจากตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าที่เป็นตลาดหลักของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และญี่ปุ่น พบว่ากลุ่มคนมิลเลนเนียลและเจน Z นิยมซื้อเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะแพลทินัมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อ เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องประดับเจ้าสาว และอีกส่วนหนึ่งซื้อเพื่อเป็นของขวัญให้กับตนเองซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันในตลาดเครื่องประดับโลหะมีค่าของโลกในอนาคตด้วย ทั้งนี้ในตลาดหลักทั้งได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และญี่ปุ่น พบว่าจีนใช้จ่ายเงินซื้อเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าเพิ่มขึ้น 78% อินเดียซื้อเพิ่มขึ้น 68% และสหรัฐอเมริกาซื้อเพิ่มขึ้น 63% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ปัจจุบันชาวมิลเลนเนียล หรือ Gen-Y มีจำนวนราว 1.7 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็น 22% ของประชากรทั้งหมด โดย U.S. Census Bureau คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 คนกลุ่ม Gen-Y จะมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลก ส่วน Gen-Z หรือเรียกว่ารุ่นเซนเทนเนียล (Centennials) มีจำนวนราว 2.5 พันล้านคน หรือ32% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งภายในปี 2030 กำลังแรงงานของโลกราว 30% จะเป็นกลุ่ม Gen-Z จะเห็นได้ว่าชาว Gen-Y และ Gen-Z จะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของโลก จึงมีบทบาทสำคัญต่ออุปสงค์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดโลกเป็นอย่างมาก ฉะนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องทำความเข้าใจความคิดและพฤติกรรมเพื่อจะได้พิชิตใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนโลกการตลาดในยุคปัจจุบันและกำลังจะกลายเป็นกำลังซื้อหลักของโลกในอนาคต ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

Read More

05/12/2564

เศรษฐกิจฟื้น ดันยอดซื้อทองคำในไทยขยายตัว


World Gold Council หรือสภาทองคำโลก ชี้ความต้องการทองคำในประเทศไทยมียอดซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นทั้งในรูปแบบของทองคำรูปพรรณ ทองคำแท่งและเหรียญ โดยในไตรมาส 3 ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน มียอดซื้อสุทธิ 9 ตัน เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มียอดขายสุทธิถึง 44 ตัน สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกสภาทองคำโลกวิเคราะห์ว่า ความต้องการทองคำโดยรวมของไทยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย ได้แก่ความต้องการซื้อเครื่องประดับทองของผู้บริโภคในประเทศซึ่งอยู่ที่ระดับ 2 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 39% นอกจากนี้ ทองคำแท่งและเหรียญทองคำซึ่งเป็นสินค้าประเภททองคำอีกรูปแบบหนึ่งยังได้แรงช้อนซื้อจากนักลงทุนรายย่อยอย่างท่วมท้นถึง 7 ตันเลยทีเดียวทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเผชิญกับความผันผวนอย่างมากจากการลดการลงทุนครั้งใหญ่ในปีที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนหันไปถือครองทองคำเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างความได้เปรียบจากราคาทองคำที่สูงขึ้น ต่างจากปีนี้ที่นักลงทุนไทยซื้อทองคำสุทธิ โดยได้แรงหนุนให้เข้าซื้อในช่วงที่ราคาทองคำอ่อนตัว รวมถึงความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่พิทักษ์ความมั่งคั่งและสินทรัพย์ปลอดภัย สภาทองคำโลก ยังประเมินว่าความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงที่เหลือของปีนี้ภาพรวมยังเป็นบวก และจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2565 เนื่องจากนักลงทุนสถาบันจะใช้ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่นักลงทุนรายย่อยจะเข้าซื้อทองคำมากขึ้นเนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว

Read More

04/12/2564

SPDR มีผลต่อราคาทองคำ?


ภาพรวมราคาทองคำช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 ปรับลดลงไปไม่ต่ำว่า 7% แต่ในช่วงครึ่งปีหลังนี้นักวิเคราะห์จากหลายสำนักยังมองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำจะฟื้นกลับมา โดยหนึ่งในดัชนีชี้วัดการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลกคือการเข้าซื้อ-ขายทองคำของกองทุนSPDR หรือ SPDR Gold Trust นั่นเองกองทุน SPDR ถือเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นกองทุนในกลุ่ม SPDR(Standard & Poor’s Depositary Receipt) ประเภทETF โดยได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง คือ นิวยอร์ก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง แต่ถือทองคำแท่งโดยถูกเก็บรักษาที่ HSBC Bank ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างจากกองทุนทองคำตัวอื่นๆที่ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการถือครองทองคำดังนั้น การที่กองทุนSPDR มีความเคลื่อนไหวเขื้อหรือขายทองคำจึงหระทบต่อปริมาณทองคำที่มีอยู่ในตลาดโดยตรง และยังอาจส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนทองคำซึ่งถือเป็นปัจจัที่สามารถสะท้องความเป็นไปของราคาทองคำได้เป็นอย่างดีเมื่อมาดูการเคลื่อนไหวของSPDR ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาจะพบว่าได้ลดการถือครองทองคำมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี2020 ต่อเนื่องมาถึงเดือนเมษายน 2021 รวม 7 เดือนติดต่อกันโดยถือครองทองคำลดลงรวม 251.85 โดยในไตรมาสสุดท้ายปี2020 ได้ถือครองทองคำลดลงรวมเกือบ 100 ตัน โดยในเดือนตุลาคม ลดลง 11.22 ตัน เดือนพฤศจิกายน ลดลง 62.89 ตัน และเดือนธันวาคมลดลง 24.92 ตัน ขณะที่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2021 ได้ถือครองทองคำลดลง 153.88 ตัน ก่อนจะมาฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายนที่SPDR ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 28.84 ตัน ทำให้ครึ่งปีแรกการถือครองทองคำของSPDR ติดลบ 125.14 ตัน และขณะนี้ถือครองทองคำประมาณ 1,030 ตันทั้งนี้เมื่อนำตัวเลขการถือครองทองคำของSPDRในแต่ละช่วงเวลามาเปรียบเทียบกับราคาทองคำ จะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนมกราคมที่ SPDR ได้ขายทองคำออกมาราคาทองคำได้ลดลงมาต่อเนื่องจากต้นเดือนมกราคมที่ระดับ 1,898 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จนมาแตะจุดต่ำสุดเมื่อช่วงเดือนมีนาคมท่ระดับ 1,676 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เมื่อไปดูปริมาณการซื้อขายทองคำจะเห็นได้ว่าเป็นช่วงที่ SPDR ขายทองคำออกมามากที่สุดจากนั้น SPDR ก็ค่อยๆลดปริมาณการขายทองคำลงมา ซึ่งเมื่อไปดูราคาทองคำในช่วงมีนาคมต่อเนื่องเดือนเมษายน จะเห็นด่าขยับสูงขึ้นเช่นกัน โดยราคาทองคำได้พุ่งมาแตะที่ระดับ 1,797 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากนั้นในเดือนพฤษภาคมราคาทองคำก็ได้ขยับเพิ่มสูงขึ้นทำจุดสูงสุดที่ 1,912 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปริมาณการซื้อทองคำของ SPDR ก็กลับมาเป็นบวก ก่อนที่ราคาทองคำจะมาปรับลดลงในช่วงกลางเดือนเมษายนหลังจากเฟดแสนอปรับลดวงเงินQE ทำให้ราคาทองคำร่วงลงมากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ และในสัปดาห์นั้น SPDR เทขายทองคำออกมามากถึง 125 ตันดังนั้นจะเห็นได้ว่าการซื้อขายทองคำของ SPDR เคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาทองคำ อย่างไรก็ดี ตัวเลขการซื้อขายทองคำของ SPDR เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งที่จะสะท้อนทิศทางและแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ แต่ยังต้องดูอีกหลายๆองค์ประกอบโดยเฉพาะนโยบายการเงินของเฟด ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ สถารการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 รวมถึงสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคต่าๆด้วย

Read More

03/12/2564

เครื่องประดับทองยังเป็นที่ต้องการในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง


สภาทองคำโลกหรือ World Gold Council (WGC) รายงานความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกว่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 อยู่ที่ 443 ตัน โดยระบุสาเหตุว่ามาจากความต้องการของผู้บริโภคเครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลางซึ่งเป็นตลาดใหญ่และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด-19คลี่คลาย ข้อมูลจากรายงาน Gold Demand Trends ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ของ WGC ระบุว่าความต้องการเครื่องประดับทองของตลาดตะวันออกกลางในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 46 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ราว 40 ตัน เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวลดลงและค่อนข้างมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากอินเดียทำให้ปริมาณความต้องการเครื่องประดับทองในตลาดตะวันออกกลางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนตลาดใหญ่อย่างจีนและอินเดียว ตัวเลขคว้าองการเครื่องประดับทองก็ขยับตัวสูงขึ้น โดยความต้องการเครื่องประดับทองของจีนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็น 157 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุมาจากราคาทองคำที่เสถียรขึ้นและรายได้สุทธิที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันความต้องการเครื่องประดับทองในอินเดียก็เพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 58 จากช่วงเดียวกันของปี2020 มาอยู่ที่กว่า 96 ตัน เนื่องจากราคาทองคำที่ลดต่ำลงและเศรษฐกิจอินเดียโดยรวมที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นประกอบกับมีความต้องการตกค้างมาจากช่วงวิกฤติโรคระบาดอีกจำนวนหนึ่งความต้องการเครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลางนี้เติบโตควบคู่กับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวร้อยละ 12 และตลาดเอเชียอย่างอินโดนีเซีย และไทยที่เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 56 และ 39 ตามลำดับ แต่ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ความต้องการยังลดลงร้อยละ 46, ร้อยละ 14 และร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไรก็ตามแม้จะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในจีน อินเดียและตะวันออกกลาง แต่ตัวเลขก็ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด19ในปี 2019 อยู่ร้อยละ 6 และตามหลังค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในรอบ 5 ปีอยู่ร้อยละ 12 ส่วนในแง่มูลค่านั้นความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เป็น 25,500 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นความต้องการช่วงไตรมาสที่ 3 ที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปีเลยทีเดียว

Read More

01/12/2564

สถานการณ์เครื่องประดับเพชรในตลาดจีน


แม้ว่าเครื่องประดับทองล้วนจะเป็นหมวดสินค้าขายดีในจีน แต่เครื่องประดับเพชรคือสินค้าที่ก้าวขึ้นมาท้าทายรสนิยมของคนรุ่นใหม่และมีฐานมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยอดค้าปลีกเครื่องประดับโดยรวมราว 610,000 ล้านหยวนหรือ88,440 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ มีมูลค่าของเครื่องประดับเพชรรวมอยู่ด้วยมากกว่า10%เลยทีเดียว รายงานของ Foundation of the Gems & Jewelry Trade Association of China หรือGAC ระบุว่า เครื่องประดับทองล้วนยึดครองตลาดจีนโดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของยอดขายโดยรวม ตามมาด้วยเครื่องประดับหยกซึ่งได้ส่วนแบ่งตลาดไปร้อยละ 14.8 และเครื่องประดับเพชรที่ร้อยละ 13.1 ทั้ง 3 หมวดนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ของยอดค้าปลีกเครื่องประดับในจีนในรายงานยังระบุว่าตลาดค้าปลีกเครื่องประดับจีนก็กำลังกระเตื้องขึ้นนี้ เครื่องประดับเพชรเข้ามามีบทบาทสำคัญไม่น้อย ดูได้จากยอดขายปลีกตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2021 ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 53 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 ) คิดเป็นมูลค่ารวม 173,000 ล้านหยวน (ราว 26,800 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติของจีน (China’s National Statistics Bureau) แม้ในปี 2020 ตลาดค้าปลีกเพชรของจีนจะมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 6 ก็ตาม ตลาดเครื่องประดับเพชรที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในจีนนี้ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับเพชรขนาดเล็กอย่างแหวนแต่งงานประดับเพชรซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเพชรขนาด 0.50 ถึง 1 กะรัตที่มีราคาขายราว 40,000 หยวน (5,800 เหรียญสหรัฐ) ถึง 50,000 หยวน (7,250 เหรียญสหรัฐ) เป็นราคานี้เหมาะกับงบประมาณของคู่แต่งงานใหม่ ในขณะที่เพชรขนาด 2 กะรัตขึ้นไปมักขายให้ผู้บริโภควัยกลางคนเป็นส่วนใหญ่ รูปแบบเพชรที่ผู้บริโภคนิยมซื้อนั้นมีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากเพชรทรงกลมตามปกติแล้ว ผู้บริโภคชาวจีนก็มองหาเพชรรูปทรงแฟนซีกันมากขึ้น อย่างเช่น เพชรทรงหมอน เพชรทรงพรินเซส เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของเพชรอยู่แล้วก็มักนิยมซื้อเครื่องประดับเพชรเป็นของขวัญให้ผู้เป็นที่รักเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การครบรอบแต่งงาน บางคนอาจสนใจที่จะให้ของขวัญเป็นเพชรสีแฟนซี ซึ่งเพชรสีเหลืองราคาปานกลางก็ได้รับความนิยมสูงสำหรับโอกาสเช่นนี้ ยอดขายเครื่องประดับเพชรนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในฤดูกาลชอปปิงและเทศกาลที่ต่างๆเช่นในช่วง Golden September และ Silver October ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้คนนิยมแต่งงานกันมากที่สุด ในขณะที่วัน Double 11 หรือวันคนโสดซึ่งตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน เทศกาลคริสต์มาส และเทศกาลปีใหม่นั้นก็น่าจะเพิ่มยอดขายเพชรได้เช่นเดียวกัน

Read More

16/11/2564

เหมืองทองแดงในอาฟกานิสถาน ใต้อุ้มมือพญามังกร


ปัจจุบัน ความต้องการทองแดงของจีนเพิ่มขึ้นอย่างสูงขึ้นอย่างมาก จนทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีการบริโภคทองแดงสูงที่สุดในโลกปีละกว่า 4 ล้านตัน หรือคิดเป็นราว 22% ของการใช้ทองแดงทั่วโลกแต่ ทองแดงที่มีในจีนนั้นมีปริมาณไม่เพียงพอในระยะยาว 2 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมดยังต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ จีนจึงต้องเข้าไปลงทุนทำเหมืองทองแดงในหลายประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศอาฟกานิสถาน จากการสำรวจของนักธรณีวิทยาสหรัฐฯ ที่ได้ออกรายงานมาเมื่อปี2550 ว่า ประเทศอาฟกานิสถานมีทรัพยากรแร่ทองแดงราว 60 ล้านตัน และมีแร่เหล็กกับแร่อื่นๆรวมกันราว 22,260 ล้านตัน โดยคาดว่าเหมืองทองแดง Aynak ในอาฟกานิสถานนั้นมีปริมาณแร่ทองแดงอยู่ราว 11.33 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณแร่ที่ค้นพบในประเทศจีนในปัจจุบัน ซึ่งนักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อว่าเหมือง Aynak น่าจะเป็นเหมืองทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อความมั่นคงในด้านสินแร่ จีนจึงทุ่มทุนเข้าทำสัมปทานสำรวจแร่ทองแดงในเหมือง Aynak ซึ่งเป็นเหมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอาฟกานิสถานห่างจากเมืองกรุงคาบูลเมืองหลวง ราว 30กิโลเมตร ด้วยตัวเลขราว 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้แร่ทองแดงของจีนที่ การประมูลโครงการยักษ์จากบริษัทจีนครั้งนี้ มี MCC ซึ่งเป็นวิสาหกิจรัฐบาลจีนร่วมกับอีก 2 บริษัทเข้ามาร่วมหุ้นเพื่อทำการสำรวจบุกเบิกในช่วงอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ทางบริษัทจะสามารถมีหลักประกันด้านซัปพลายวัตถุดิบไปได้อีกหลายสิบปีทีเดียวการลงทุนของจีนในครั้งนี้ครั้งนี้จัดว่าเป็นการลงทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของอาฟกานิสถาน และจะเป็นโปรเจกต์ที่ทำให้เกิดการจ้างงานถึงราว 10,000 คน ในปัจจุบันเหมืองแห่งนี้มีปริมาณแร่ทองแดงกว่า 10 ล้านตัน และอาจจะมีมากถึง 20 ล้านตันในอนาคต ซึ่งหากคำนวณตามราคาและปริมาณในปัจจุบัน ทองแดงเหล่านี้มีมูลค่าถึง 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ราคาของทองแดงในตลาดโลกได้ถีบตัวขึ้นกว่า 2 เท่า ผลประโยชน์อันมหาศาลนี้ได้ดึงดูดให้บรรดาอุตสาหกรรมแร่จากทั่วโลกแห่เข้ามาเพื่อที่จะ“ขุดทองแดง” ที่อาฟกานิสถาน อย่างเช่นในการประมูลที่เหมือง Aynak นี้ มีหลายบริษัทจากประเทศแคนาดา รัสเซีย สหรัฐฯ อินเดีย และจีนที่เข้ามาสู่สนามแห่งการช่วงชิงแหล่งแร่ทองแดงแห่งนี้

Read More

15/11/2564

ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า” มาตรการป้องกันการฟอกเงินจากอัญมณีและทองคำ


ปัจจุบันหลายประเทศประกาศใช้ “ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า” ในการส่งออกอัญมณีและทองคำที่ผลิตในประเทศตามแนวทางของ Kimberley Process Certification Scheme ซึ่งเป็นการส่งเสริมการค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้วยความโปร่งใส เพื่อป้องกันการจัดหาเงินทุนสำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน และการก่อการร้ายเป็นต้น รัฐบาลโมซัมบิกเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศของผู้ส่งออกอัญมณีและทองคำที่ประกาศใช้มาตรการนี้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา การนำใบรับรองแหล่งกำเนิดและบรรจุภัณฑ์มาใช้นี้เป็นไปตามข้อบังคับสำหรับการจำหน่ายเพชร โลหะมีค่า และอัญมณี เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อว่าสินค้าเหล่านี้ผลิตโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ใส่ใจในสิทธิมนุษยชน และเป็นการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย เนื่องจากเอกสารต่างๆ ล้วนได้รับการรับรองจากรัฐบาลโมซัมบิก ทั้งนี้ ในอดีตหลายบริษัทในโมซัมบิกต้องประสบปัญหาในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหมืองแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดต่างประเทศที่ต้องใช้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า จนเป็นเหตุให้ต้องหันไปจำหน่ายสินค้าผ่านผู้ค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแทนที่จะค้าขายกับผู้ซื้อได้โดยตรง ทั้งนี้ การที่รัฐบาลโมซัมบิกบังคับให้การส่งออกอัญมณีและทองคำจะต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า น่าจะเป็นโมเดลที่ทำให้ประเทศผู้ผลิตโลหะมีค่าและอัญมณีรายอื่นๆ ในแถบทวีปแอฟริกาต้องปฏิบัติตาม เนื่องจากปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องถึงการแสดงที่มาของอัญมณี การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มาก จึงทำให้หลายประเทศผู้ผลิตจะต้องปรับตัวให้ทันกระแสดังกล่าวมาตรการของรัฐบาลโมซัมบิกข้างต้นนั้น เป็นไปตามกระแสการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนหรือ SDGs ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม มีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและทองคำ

Read More

12/11/2564

ทำไม? เครื่องประดับทองโบราณจึงเติบโตในจีน


ในปีนี้ความน่าสนใจของทองคำไม่ใช่การเก็งกำไร แต่เป็นการซื้อเครื่องประดับทองในราคาที่ไม่ผันผวนมากเหมือนในปีที่ผ่านมา(2020) โดยเฉพาะกระแสการตื่นเครื่องประดับทองสไตล์จีนโบราณที่เกิดขึ้นในจีนขณะนี้เครื่องประดับทองสไตล์จีนโบราณไม่ว่าจะเป็นสร้อยข้อมือ กำไล จี้ หรือสร้อยคอ ที่มีลวดลายมังกร หงส์ ดอกโบตั๋น หรือลวดลายโบราณที่นิยมในแต่ละยุคสมัยของราชวงศ์จีน กลายเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะชาวจีนที่มีอายุในช่วง 20-39 ปี เป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่ช่วยผลักดันให้ ความต้องการทองคำในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยกระแสความนิยมนี้เริ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2020 ทำให้ตลาดเครื่องประดับทองรายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ขยายตัวมากกว่า 2 เท่าในครึ่งปีแรกของปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การหันมาสนใจเครื่องประดับทองโบราณของคนจีนรุ่นใหม่ที่ทำให้ตลาดเครื่องประดับทองคึกคักอยู่ในขณะนี้น่าจะมาจาก “กระแสชาตินิยม” ที่ขยายวงกว้างขึ้นทำให้ชาวจีนหันมานิยมสินค้าที่มีสไตล์สะท้อนถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมประเพณีจีนมากขึ้นนอกจากความสวยงามประณีตบรรจงที่เครื่องประดับทองสไตล์จีนโบราณพึงมีแล้ว การผลิตยังต้องอาศัยช่างฝีมือที่มีทักษะสูงในการผลิต จึงทำให้ราคาของเครื่องประดับประเภทนี้สูงกว่าเครื่องประดับทองทั่วไปอย่างน้อย 20% โดบบริษัทเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของจีน เปิดเผยว่า ยอดขายเครื่องประดับทองสไตล์จีนโบราณตั้งแต่ตุลาคม 2020 - มีนาคม 2021 คิดเป็น 40% ของยอดขายเครื่องประดับทองในจีน ขยายตัวถึง 29% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าเครื่องประดับประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในระยะยาวพบว่า ผู้ผลิตเครื่องประดับทองหลายรายมีการขยายการลงทุน มีการวิจัยและพัฒนาด้านดีไซน์ของเครื่องประดับทองสไตล์จีนโบราณมากขึ้นเพื่อตอบสนองกระแสความนิยมดังกล่าว และคาดว่าภายในปี 2024 ตลาดของเครื่องประดับชนิดนี้จะมีมูลค่าถึง 1 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 15.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว กระแสความชื่นชอบเครื่องประดับทองแบบโบราณในจีน นอกจากสร้างความคึกคักให้ตลาดเครื่องประดับทองในประเทศแล้ว ยังทำให้ตลาดในประเทศเข้มแข็งสามารถเติบโตได้ในท่ามกลางวิกฤตในขณะที่หลายประเทศยังคงประสบปัญหาอยู่

Read More

12/11/2564

เทรนด์การออกแบบเครื่องประดับหลังวิกฤติโรคระบาด


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทเครื่องประดับอัญมณีใหญ่มองว่า ปัจจัยเรื่องความรักและความหวังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณีในช่วงปี 2022 โดยอัญมณีและเครื่องประดับโทนสีเหลืองซึ่งเป็นสีแห่งความหวังทั้งเพชร พลอยสี และโลหะมีค่าหลายประเภทอย่าง แซปไฟร์สีเหลือง ซิทริน และทองคำ จะมาแรงต่อเนื่องในปีหน้า บทเรียนบทหนึ่งที่ทุกคนน่าจะได้เรียนรู้จากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาคือ ความยืดหยุ่นในการรับสถานการณ์ เมื่อนำมาใช้กับการออกแบบเครื่องประดับอัญมณี จึงสามารถนำเสนอผ่านแพลทินัม ซึ่งเป็นวัสดุที่คงความแข็งแกร่งและประกายส่องสว่างแม้เวลาผ่านไปเช่นเดียวกับไข่มุกอัญมณีที่มีกระแสมาแรงต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา รวมถึงทองคำซึ่งเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปีนี้และเป็นเทรนด์สำคัญในปี 2022 ด้วยเช่นกันทุกวันนี้เป็นเรื่องง่ายที่ผู้คนจะหลงใหลหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยแรงสนับสนุนจากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นกระแสแฟชั่นล่าสุดที่ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง รายการทีวีใหม่ยอดนิยมที่ทุกคนต่างพูดถึง ไปจนถึงวิดีโอบน TikTok สำหรับการออกแบบเครื่องประดับอัญมณีตามกระแสนี้ ความหลงใหลได้รับการนำเสนอผ่านเพชรสีน้ำตาลที่เรียกว่า“เพชรสีช็อกโกแลต” ซึ่งนำมาประดับบนตัวเรือนเครื่องประดับอัญมณีหลังจากคนส่วนใหญ่ต้องอยู่แต่ในบ้านโดยการใช้เทคโนโลยีสื่อสารผ่านวิดีโออย่างเช่น Zoom กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สามารถมองเห็นคนอื่นๆ แค่ช่วงไหล่ขึ้นไปมานานนับปี จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนนี้ทุกคนต้องการแสดงแนวทางที่โดดเด่นของตัวเองด้วยเครื่องประดับอัญมณีชิ้นงานขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นแหวนวงใหญ่ จี้ กำไลข้อมือ หรือต่างหูห่วง ที่แฝงด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งได้รับความนิยมเป็นพิเศษในช่วงปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2022 โดยการกลับมาของยุค “Roaring ‘20s” หรือแนวคิดที่ว่าผู้คนล้วนอยากแต่งตัวและออกนอกบ้านหลังช่วงล็อคดาวน์ ถือเป็นกระแสที่มีการคาดการณ์กันไว้สำหรับการออกแบบเครื่องประดับในปีที่จะถึงนี้

Read More

10/11/2564

ตลาดเครื่องประดับเพชรและทองยังเติบโตต่อเนื่องในจีน


ผลจากการปิดเมืองเพราะโรคระบาดและการจำกัดการเดินทางในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ชาวจีนต้องหยุดใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศ แต่หันมาซื้อสินค้าหรูหราอย่างอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2020 มียอดค้าปลีกเครื่องประดับทั้งเพชรและทองมากถึง 88.43 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียวเมืองระดับ 1 หรือเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 อันดับแรกในจีนแผ่นดินใหญ่ได้แก่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้น มียอดขายเครื่องประดับเพชรเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 20-30 ต่อปี แซงหน้ายอดขายเครื่องประดับทองแบบดั้งเดิม เนื่องจากผู้บริโภคในเมืองระดับ 1 ต่างหันมานิยมเครื่องประดับทองตกแต่งเพชรมากขึ้น ขณะที่เมืองขนาดรองซึ่งหมายรวมถึงเมืองขนาดใหญ่อีกราว 30 เมืองและเมืองอื่นๆที่กำลังเติบโต ยังคงนิยมเครื่องประดับทองแบบดั้งเดิมการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการดำเนินกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2020 คือการเน้นกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ที่เรียกว่ากลยุทธ์ “Dual Circulation Strategy คือเน้นการส่งเสริมให้ชาวจีนซื้อสินค้าจากที่บ้านผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ จากข้อมูลทางการตลาดล่าสุดของบริษัทเครื่องประดับยักใหญ่คาดว่ายอดขายจากตลาดผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่น่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีต่อจากนี้เป็นต้นไป ในแผนเศรษฐกิจ 5 ปีฉบับล่าสุดของจีนซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2021 - 2025 เป้าหมายทางเศรษฐกิจคือ การกระตุ้นการบริโภคในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยขับเคลื่อนด้วยการเติบโตของชนชั้นกลาง แผนดังกล่าวประกอบด้วยโครงการขั้นต้นที่จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวของจีนให้มีมูลค่าเทียบเท่า 30,000 เหรียญสหรัฐภายในปี 2035 หรือเกือบ 3 เท่าของระดับ GDP ต่อหัวในปี 2020 ที่ 10,500 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดผู้บริโภครายใหญ่อันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมเพชรโลกและทองคำ ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย ตามข้อมูลจากธนาคารโลก GDP ต่อหัวในปี 2020 ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย อยู่ที่ราว 63,543 เหรียญสหรัฐ, 40,113 เหรียญสหรัฐ และ 1,900 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยจีนมีประชากรประมาณ 1,400 ล้านคน ขณะที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย มีประชากรประมาณ 329.48 ล้านคน, 125.84 ล้านคน และ 1,380 ล้านคน ตามลำดับ Chow Tai Fook ผู้ขายเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของจีน ระบุว่าในไตรมาสที่สองของปีนี้ ยอดขายทั้งบริษัทพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มสูงขึ้น และมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดฮ่องกงและมาเก๊า

Read More

09/11/2564

เบสชิ…จากเหมืองทองแดงสู่แหล่งท่องเที่ยวของญี่ปุ่น


ในช่วงยุคเอโดะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ของโลก โดยการดำเนินงานของ บริษัทซูมิโตโม ภายใต้ชื่อทางการค้า Izumiya โดยเริ่มจากการค้าทองแดงก่อนขยายการค้าไปยังธุรกิจเส้นด้าย น้ำตาล และยา และเจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่กล่าวขานว่า "ไม่มีใครในเมืองโอซาก้าสามารถแข่งขันกับ Izumiya ได้" อิสุมิยะ (zumiya))ก็ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเหมืองทองแดงและเปิดเหมืองทองแดง Besshi หลังจากได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโชกุนโทคุกาวะ (Tokugawa) ในปี 1691 เหมืองทองแดง Besshi ได้ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลา 283 ปี และกลายเป็นหัวใจหลักของธุรกิจของบริษัทซูมิโตโม ในช่วงของการเปิดเหมืองทองแดง Besshi ได้รับผลกระทบจากราคาทองแดงตก ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงความวุ่นวายของการฟื้นฟูในยุคสมัยเมจิ ทำให้เหมืองต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงิน เพื่อเอาชนะปัญหานี้ ไซเฮ ฮิโรเสะ (Saihei Hirose ปี 1828-1914) ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของเหมืองได้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของเหมืองให้เป็นแบบสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีจากตะวันตกมาใช้ และประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตเป็นอย่างมากหลังปิดตัวลงเหมืองทองแดง Besshi ถูกทิ้งร้างไปช่วงหนึ่งจนซูมิโตโม กรุ๊ป (Sumitomo Group) ได้ร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์แห่งนี้ เพื่อสืบสานความสำเร็จของเหมืองแร่ทองแดงเบสชิ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เหมืองแร่ทองแดงที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นหลังการออกแบบของพิพิธภัณฑ์ใช้ประโยชน์จากความชันของภูเขาและบางส่วนของพิพิธภัณฑ์อยู่ใต้พื้นดิน พิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยพื้นที่ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของซูมิโตโมกรุ๊ป ณ เหมืองแร่ทองแดงเบสชิ เทคนิคและการใช้ชีวิตของพนักงาน ผู้เยี่ยมชมยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตในขณะนั้นอีกด้วย บนหลังคาของพิพิธภัณฑ์มีการปลูกต้นอาซาเลีย ซัตสึกินับหมื่นต้นเพื่อระลึกถึงการเปิดเหมืองแร่ทองแดงเบสชิ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ดอกไม้เหล่านี้จะบานสะพรั่ง ทำให้ผู้มาเยือนได้เพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์อีกแบบหนึ่ง

Read More

09/11/2564

เหมืองแร่ใต้พิภพ ความหวังใหม่ของมนุษย์ด้านสินแร่


นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่กำลังท้าทายกับธรรมชาติ โดยคิดหาวิธีนำแร่ธาตุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดินหลายกิโลเมตรขึ้นมาใช้แทนแร่ธาตุที่ทำกลังจะหมดลงไม่ว่าจะเป็นแร่ทองแดง ลิเทียม สังกะสี เงิน และทองคำศาสตราจอห์น John Blundy แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เสนอทฤษฎีที่เป็นทางเลือกใหม่ในการนำแร่ใต้พิภพมาใช้ โดยระบุว่าแร่ธาตุอโลหะต่าง ๆ ที่เราใช้กันในโลกนั้นล้วนมาจากการประทุของภูเขาไฟในอดีตที่อาจจะเวลาเป็นหมื่นหรือล้านปีก่อน แล้วกระจัดกระจาย และถูกทับถมอยู่ใต้ดิน เพื่อให้เราไปเปิดเหมือง และขุดออกมาใช้ ศาสตราจอห์น John และทีมงาน ได้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นว่าบริเวณที่มีน้ำพุร้อนหรือภูเขาไฟเราจะได้กลิ่นของกำมะถันหรือซัลเฟอร์อยู่เสมอ ซึ่งก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิด จะมีก๊าซกำมะถันที่มีความเข้มข้นสูงพ่นออกมาก่อน และระหว่างที่ก๊าซดังกล่าววิ่งผ่านปล่องภูเขาไฟด้วยแรงดันสูงนั้น ก็จะทะลุทะลวงผ่านร่องหินร่องดินทั้งเล็กใหญ่ ที่อาจจะมีน้ำเกลือหรือ brine กักตัวอยู่ ในน้ำเกลือดังกล่าวจะมีแร่ธาตุหลายประเภทที่สะสมอยู่ ก๊าซกำมะถันเข้มข้นก็จะทำปฏิกิริยาเคมีกับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ฝังตัวอยู่ในน้ำเกลือแล้วฟอร์มตัวเป็นสินแร่ ซึ่งในกรณีนี้เราก็จะได้ สินแร่ทองแดงในรูปของ copper-sulfide ore นั่นเองนั่นหมายความว่าเรามีสินแร่ต่าง ๆ ในรูปของของเหลวหรือ brineกระจัดกระจายอยู่ใต้พื้นโลกที่ใกล้ ๆ ภูเขาไฟอยู่เป็นจำนวนมาก ทางอาจารย์จอนและทีมจึงได้ทำการพิสูจน์โดยเข้าสำรวจภูเขาไฟทั้งที่ยังคุกรุนอยู่และที่มอดไปแล้วกว่า 40 แห่ง เช่น ฟูจิ ในญี่ปุ่น เซนต์ เฮเลนส์ ในสหรัฐอเมริกา ในฟิลิปปินส์ ในนิวซีแลนด์ ในโบลิเวียและประเทศอื่น ๆ ปรากฏว่า มีพื้นที่ที่มีคุณสมบัติในการนำกระแสไฟ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 กิโลเมตรใต้พื้นโลก และพบว่ามีสถานะเป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง และเมื่อนำหินที่ความลึกดังกล่าวมาวิเคราะห์เพิ่มเติม ก็พบว่าก้อนหินนั้นมีทั้งธาตุทองแดง ลิเทียม สังกะสี เงิน และทอง ในสัดส่วนที่สูงจึงมีความคิดว่าแทนที่จะรออีกหมื่นปีหรือล้านปีกว่า ให้ภูเขาไฟระเบิด เพื่อนำพาแร่ต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นมา ทำไมเราไม่ทำการสูบมันขึ้นมาเหมือนที่เราขุดเจาะน้ำมัน จากทฤษฎีนี้ หมายความว่า จะต้องทำการเจาะพื้นผิวโลกลึกลงไปกว่าการขุดเจาะน้ำมัน( 2 กิโลเมตร) และเครื่องมือต้องทนต่อความร้อนที่ 400 องศาเซลเซียส ความร้อนที่ลาวาและทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในสภาพเป็นของเหลว และยังต้องดึงของเหลวหรือ super salty brine ที่มีความเข้มข้นกว่าน้ำทะเลเป็น 10 เท่าซึ่งหมายถึงความหนืดและการกัดกร่อนต่ออุปกรณ์ต่างๆ มีความเป็นไปได้ว่า นอกจากที่เราจะเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันในมหาสมุทรแปลงสภาพเป็นแท่นของกังหันลมขนาดใหญ่แล้ว เรายังอาจจะเห็นเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันกลายเป็นการขุดเจาะน้ำเกลือเค็มพิเศษ (super salty brine) ที่นำแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย

Read More

07/11/2564

จะทำอย่างไรเมื่อแร่ทองแดงกำลังจะหมดลง


มนุษย์เรารู้จักและใช้แร่ทองแดงมาเป็นเครื่องประดับตั้งแต่ 11,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันโลกเราบริโภคทองแดงประมาณ 20 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้ในอาคาร สำนักงาน โรงงานหรือโรงไฟฟ้าต่างๆ ปัจจุบัน การบริโภคทองแดงสูงขึ้นกว่าในอดีตหลายเท่าตัว เนื่องจากโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากการใช้น้ำมันไปหาแหล่งพลังงานธรรมชาติมากขึ้น ปริมาณความต้องการทองแดงจึงมากขึ้นไปด้วยทั้งในแบตเตอรี่ โซลาร์ฟาร์ม พลังงานลม หรือแม้กระทั่ง EV ที่ต้องใช้ทองแดงมากกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันถึงสี่เท่า ด้วยเหตุนี้การทำเหมืองทองแดงเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง และล่าสุดราคาทองแดงในตลาด London Metal Exchange (LME)หรือตลาดซื้อขายโลหะล่วงหน้าซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน มีราคาสูงถึง 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 60 ปี หรือสูงสุดตั้งแต่มีการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าเลยทีเดียว และคาดว่าความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นนี้อาจทำให้ขาดแคลนทองแดงในระยะยาวได้ เหมืองทองแดงใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ชิลี ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 25% ของความต้องการทองแงของโลก ตามมาด้วยเปรูและประเทศจีน ซึ่งทุกเหมืองเป็นลักษณะเหมืองเปิด โดยเฉลี่ยแล้ว ในดิน 100 กิโลกรัมจะมีแร่ประมาณ 1 กิโลกรัม ทำให้เหมืองเปิดดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากและแร่ที่สะสมก็ทยอยหมดไป ถ้าต้องตอบโจทย์การบริโภคเพิ่มขึ้นที่เป็นเท่าตัว นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามอย่างมากที่จะขุดแร่ทองแดงที่อยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตรจากพื้นผิวโลกขึ้นมาใช้ โดยไม่ต้องรอเวลาให้ปะทุขึ้นมากับภูเขาไฟ ซึ่งนั่นอาจต้องใช้เวลานับหมื่นปี โดยศาสตราจารย์ Jon Blundy แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ทำการพิสูจน์โดยเข้าสำรวจภูเขาไฟทั้งที่ยังคุกรุนอยู่และที่มอดไปแล้วกว่า 40 แห่ง และนำหินที่ความลึก 2 กิโลเมตร มาวิเคราะห์ พบว่าก้อนหินนั้นมีทั้งธาตุทองแดง ลิเทียม สังกะสี เงิน และทอง ผสมอยู่ จึงเป็นไปได้ที่จะมีการทดลอง วิจัย เพื่อนำแร่ธาตุจากใต้พิภพขึ้นมาใช้ก่อนเวลา เพื่อหาทางรอดให้กับความต้องการแร่ทองแดงที่อาจหมดลงในเวลาอันใกล้นี้

Read More

06/11/2564

อัฟกานิสถาน...ขุมทองของตาลีบัน


อัฟกานิสถาน ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีฐานะยากจนที่สุดในโลก แต่ในปี 2553 เจ้าหน้าที่ในกองทัพของสหรัฐและบรรดานักธรณีวิทยาเปิดเผยว่าอัฟกานิสถาน มีแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งทองแดง ทองคำ และแร่หายากที่อาจจะช่วยเปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจของประเทศนี้แบบพลิกฝ่ามือเลยก็เป็นได้อัฟกานิสถานตั้งอยู่บนเส้นตัดผ่านของเอเชียกลางและเอเชียใต้ นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานว่า อัฟกานิสถานเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมไปด้วยโลหะมีค่าที่เป็นที่ต้องการสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในศตวรรษที่21 ซึ่งแร่ที่พบนั้นมีทั้งแร่ เหล็ก แร่ทองแดง และทองคำกระจัดกระจายทั่วไปในจังหวัดต่างๆ และยังมีแร่หายากที่ถือว่าเป็นแร่ที่กำลังเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมในขณะนี้เพื่อนำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรีลิเธียม แบตเตอรีในรถยนต์ไฟฟ้า ในยุคที่ทั่วโลกกำลังลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินด้วยการหันมาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัฟกานิสถานจะมีแร่และแร่หายากจำนวนมาก แต่ความไม่มั่นคงทางการเมืองตลอดช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้แร่จำนวนมากในประเทศยังไม่ได้ถูกนำมาใช้สำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐ(ยูเอสจีเอส)เคยทำการสำรวจแร่ในอัฟกานิสถาน พบว่า มีแร่เหล็กปริมาณมากถึง 2,000 ล้านตัน มีแร่ทองแดงไม่น้อยกว่า 60 ล้านตัน และมีแร่หายากไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านตันนอกจากแร่ทั่วไปแล้ว แร่หายากในอัฟกานิสถานก็มีมากเช่นกันและแร่ชนิดนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิป ผลิตคอมพิวเตอร์ และผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีไฮเทคจำนวนมากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งแร่หายากในอัฟกานิสถาน ทำให้สหรัฐเรียกขานอัฟกานิสถานว่าเป็น“ซาอุดีอาระเบียแห่งลิเธียม”มานานกว่า10ปี ส่วนอัฟกานิสถานเองก็ตั้งกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม ขึ้นมากำกับดูแลเหมืองแร่โดยเฉพาะความท้าทายด้านความมั่นคง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานและภัยแล้งรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนานทำให้การขุดเหมืองแร่มีค่าที่สุดในอัฟกานิสถานชะงักงันไปในช่วงที่ผ่านมาและมีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปในทันทีที่กลุ่มตาลีบันเข้ามาปกครองอัฟกานิสถาน ทั้งยังมีประเทศต่างๆยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งรัฐบาล รวมถึงจีน ปากีสถาน และอินเดีย

Read More

05/11/2564

เหมืองทองแดง Berkeley Pit สวยซ่อนพิษ


ที่เมืองบัตต์ รัฐมอนทานา ( Butte ,Montana) สหรัฐอเมริกา มีเหมืองทองแดงที่ถูกทิ้งร้างชื่อ Berkeley Pit ที่กลายสภาพจากเหมืองทองแดงขนาดใหญ่เป็นแหล่งมลพิษที่อุดมไปด้วย สารหนู แคดเมียม สังกะสี กรดกำมะถัน แม้ภายนอกจะดูสวยงามจนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมได้ก็ตามเหมืองทองแดง Berkeley Pit เปิดดำเนินการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยบริษัท Anaconda Copper Mining Company นี้มีความยาวถึง 1 ไมล์ (1,600 ม.) กว้าง0.5 ไมล์ (800 ม.) และความลึกโดยประมาณ 1,780 ฟุต (540 ม.) มีน้ำที่มีความเป็นกรด มากที่ระดับ pH 2.5 ที่ปริมาณมากกว่า 13 ล้านแกลลอภายในปีแรกของการดำเนินการ สามารถขุดเจาะแร่ทองแดงได้ถึง 17,000 ตันต่อวัน และยังสามารถสกัดแร่มีค่าอื่นๆได้อีกไม่ว่าจะเป็น เงิน และ ทองคำ เหมืองทองแดง Berkeley Pit ปิดดำเนินการนาน 27 ปี จึงได้ปิดตัวลง ในปี พ.ศ.2525 หลังปิดตัวเหมืองทองแดง Berkeley Pit ได้กลายเป็นแอ่งยาพิษขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามองที่ผิวน้ำ จะเห็นเป็นสีแดงคล้ายเลือด เมื่อสะท้อนแสงจะดูสวยงามมาก จนมีนักท่องเที่ยวหลายคนยอมสละเงินในกระเป๋าเพื่อเข้ามาสัมผัสความสวยซ่อนพิษของเหมืองทองแดงแห่งนี้อย่างไรก็ดีเหมือง Berkeley Pit ยังอุดมไปด้วยทองแดง ที่สามารถหลอมรวมและแปรสภาพเป็นโลหะได้ในเวลาอันรวดเร็วเมื่อรวมตัวกับน้ำ โดยสามารถผลิตทองแดงได้ถึง 4 แสนปอนด์ แต่เมื่อเห็นปริมาณสารหนู แคดเมียม สังกะสี และกรดกำมะถันที่ปะปนอยู่ในน้ำ ซึ่งสามารถทำลายระบบย่อยของสิ่งมีชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ก็ทำให้ความคิดที่จะกลับมาทำเหมืองแห่งนี้อีกครั้งก็หมดลงไปทันที มีบันทึกไว้ว่าในปี ค.ศ. 1995 เคยมีฝูงห่านอพยพมาอาศัยอยู่ที่ Berkeley Pit แต่สุดท้ายก็ไม่มีชีวิตรอดแม้แต่ตัวเดียว เพราะทนรับสารพิษที่ซึมเข้าร่างกายไม่ไหว เหลือแต่ซากทิ้งไว้ถึง 342ตัวปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พยายามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการนำแบคทีเรียชนิดใหม่ที่ค้นพบ มาปรับสภาพยาพิษใน Berkeley Pit ให้น้ำเกิดความกระด้าง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสารพิษบางตัวสามารถนำมาปรับเป็นยารักษาและต่อต้านมะเร็งได้ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

Read More

16/10/2564

การผลิตเหรียญกษาปณ์ทองคำ ในประเทศไทย


เหรียญกษาปณ์ คือเงินตราที่ทำด้วยโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน นิกเกิล ทองแดง ฯลฯ สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยระบุชนิดราคาไว้ที่หน้าเหรียญ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้ ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ซึ่งผลิตออกใช้เนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ ส่วนเหรียญที่ระลึกเป็นเหรียญซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญโดยไม่มีราคาหน้าเหรียญและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เหรียญกษาปณ์ทองคำและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ มีการผลิตมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการผลิตน้อยครั้งและแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากนัก ได้แก่ พ.ศ. 2399 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ-พระเต้า ชนิดราคา กึ่งเฟื้อง พ.ศ. 2399 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ตราพระมหามงกุฎ-กรุงเทพ ชนิดราคา เฟื้อง และสลึง พ.ศ. 2400 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร (เหรียญบรรณาการ) ชนิดราคา พัดดึงส์ พ.ศ. 2406 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร ชนิดราคา กึ่งเฟื้อง เฟื้อง สลึง กึ่งบาท บาท และกึ่งตำลึง พ.ศ. 2406 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ทศ พิศ พัดดึงส์ พ.ศ. 2407 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร ชนิดราคา ตำลึง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "เหรียญแต้เม้งทองคำ" ซึ่งเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสเฉลิมพระชนม์ 60 พรรษา และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ทองคำ ได้แก่ พ.ศ. 2419 เหรียญกษาปณ์ทองคำ พระบรมรูป-ตราแผ่นดิน ชนิดราคาเฟื้อง ต่อมามีการผลิตขึ้นอีกจำนวนน้อยมากใน พ.ศ. 2447 และ พ.ศ. 2451-2453 พ.ศ. 2437 เหรียญกษาปณ์ทองคำ ทศ พิศ พัดดึงส์ ทั้งนี้ เหรียญกษาปณ์ทองคำและเหรียญกษาปณ์ทองคำที่ระลึกที่ผลิตขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 นั้น แม้มีจำนวนน้อย แต่ปัจจุบันก็ยังพบได้มากกว่าชนิดละ 1 เหรียญ ในขณะที่ เหรียญทองคำ พระบรมรูปรัชกาลที่ 6–ไอราพต พบเพียงชุดเดียวเท่านั้น เดิมอยู่ในความดูแลของกรมเงินตรา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ปัจจุบันเหรียญทองคำชุดนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล : ธนาคารแหงประเทศไทย

Read More

15/10/2564

แต่งตัวอย่างไรให้อินเทรนด์หลังโควิค-19


หลังสถานการณ์ โควิดคลี่คลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเดินหน้า หลายธุรกิจเริ่มคึกคักอีกครั้ง รวมถึงแวดวงแฟชั่นและเครื่องประดับ ที่มีคอลเลกชั่นใหม่ๆออกมาต้อนรับเทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงหลังโควิดคลี่คลาย และความแวววาวแบบเมทัลลิก คือคำตอบของแฟชั่นเครื่องประดับในช่วงต่อจากนี้ไป ความงามของสีเมทัลลิก ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนๆ แต่ในปีนี้จะเปลี่ยนจากประกายสว่างโทนเย็น มาเป็นความเป็นเมทัลลิกที่กลมกลืนและละเอียดอ่อนมากขึ้น ความเงางามเปล่งประกายในสีสันของสีทอง เงิน และทองแดง จะเข้ามาแทนเพราะได้ทั้งความหรูและแวววาว และเป็นธรรมชาติ ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับผู้สวมใส่นอกจากวัสดุที่เป็นเมทัลลิกแล้ว การออกแบบลวดลายเครื่องประดับจะเน้นไปที่ลวดลายของธรรมชาติ ดอกไม้ ใบไม้ที่ดูพลิ้วไหว เป็นชิ้นงานเล็กๆ น่ารัก สวมใส่เข้ากับชุดเครื่องแต่งกายที่ดูฟูฟ่อง ชุดเดรสคอร์เซ็ต เสื้อคลุมยาวและชุดเดรสยาวพิมพ์ลายธรรมชาติหรือลายดอกไม้ ที่สร้างความโรแมนติกและย้อนถึงยุคสมัยที่เรียบง่ายและมีความสุขโดยไร้ข้อจำกัด เพื่อรับกระแสวิถีชีวิตยุคใหม่ที่เน้นจิตสำนึก ความยั่งยืน และการขับเคลื่อนด้วยคุณค่า แฟชั่นการแต่งกายและเครื่องประดับในยุคหลังนี้จะเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก แต่ก็ออกแบบให้ดูมีรสนิยมในระดับที่พอเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งเครื่องประดับทุกรูปทรงและสีสันช่วยผสมผสานสไตล์เข้ากับการสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบลำลองดูสบายๆ ได้เป็นอย่างดี สร้อยคอยาวช่วยเสริมแต่งเสื้อผ้าทรงหลวมได้ด้วยการเพิ่มรูปทรง ขณะที่ต่างหูห่วงหรือต่างหูห้อยระย้าก็ช่วยเปลี่ยนลุคลำลองให้ดูเนี้ยบยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใส่คู่กับเสื้อเชิ้ตทรงบอยเฟรนด์ตัวหลวม ชุดกีฬาแบบลำลอง เดรสทรงเสื้อเชิ้ต เดรสทรงตรง เทรนช์โค้ต หรือเบลเซอร์ ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

Read More

14/10/2564

ไม้สักทอง..ของขวัญจากธรรมชาติ


สักทอง เป็นไม้ใหญ่เนื้อไม้จะมีสีเหลืองทอง ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก ไม้สักทองมีคุณสมบัติต้านทานการรบกวนจากปลวก และเชื้อเห็ดรา ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศได้ ดี เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรงทำให้เลื่อย ไสได้ง่าย และแม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็มีความแข็งแรงเท่าเทียมกับไม้เนื้อแข็ง นิยมนำมาใช้สร้างโบสถ์วิหาร ที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์และแกะสลักได้อย่างสวยงาม ไม้สักหรือสักทอง สามารถนำไปแปรรูปหรือใช้ประโยชน์ได้ตามอายุและขนาด ยิ่งไม้สักที่มีอายุมาก ก็จะยิ่งมีความแข็งแรงทนทานมากด้วยเช่นเดียวกัน ไม้สักที่มีอายุประมาณ 5 ปี นิยมนำเนื้อไม้ไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทำเป็นของตกแต่งบ้าน หรือของเล่นเด็ก โดยส่วนใหญ่ใช้ไม้สักจากสวนป่าที่ปลูกไว้เพื่อการค้า ไม้สักที่มีอายุประมาณ 10 ปี มีความสูงเฉลี่ยตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป นิยมนำเนื้อไม้ไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน หรือแปรรูปเป็นพื้นปาร์เก้ไม้สักไม้สักที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 15-20 ปี นิยมนำไปใช้ทำเป็นไม้บาง การปลูกไม้สักเพื่อใช้งานในลักษณะนี้ ต้องระมัดระวังในการดูแลหรือจัดสวนให้ดีเพราะเป็นงานที่ต้องการเนื้อไม้เรียบ ลายสวย ไม่มีตำหนิ ส่วนไม้สักที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป นิยมใช้ประโยชน์ในการปลูกบ้านเรือน ใช้ทำเป็นเสาบ้านหรือคาน เพื่อรองรับน้ำหนักเพราะยิ่งไม้สักที่มีอายุมาก ก็จะมีความแข็งแรงมากตามไปด้วยเช่นเดียวกันนอกจากเป็นไม้เศรษฐกิจแล้วสักทองยังเป็นไม้มงคล เชื่อว่าหากนำมาปลูกจะช่วยเสริมโชค เสริมดวงชะตา ทำให้ชีวิตมีความเป็นสิริมงคล คำว่า “สัก” ยังมีคำพ้องกับคำว่า “ศักดิ์” หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์หรือศักดิ์ศรี จึงนิยมนำไม้สักมาทำเป็นเสาเอกของบ้าน หรือเสาในพิธีวางศิลาฤกษ์ รวมทั้งใช้ในสถานที่สำคัญต่างๆ อีกทั้งคนสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าไม้สักจะช่วยเสริมสง่าราศี ส่งผลให้ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือเป็นที่น่ายกย่องเกรงขามอีกด้วย

Read More

13/10/2564

สักทอง... ราชินีแห่งไม้


สัก เป็นไม้เศรษฐกิจที่ปัจจุบันคนนิยมปลูกกันมากในลักษณะของสวนป่า เป็นการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต เหมือนการออมเงิน ไม้สักมีทั้งหมด 5 ชนิดได้แก่ไม้สักทอง ไม้สักหยวก ไม้สักไข ไม้สักขี้ควาย และไม้สักหินไม้สักทอง ได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งไม้(Queen of Timbers) เป็นไม้ที่มีชื่อเสียงรู้จักกัน ทั่วโลก เนื่องจากเนื้อไม้มีคุณภาพสูง สีสันและลวดลายสวยงาม คือมีสีเหลืองทองและมีลวด ลายสีดำ เนื้อค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง น้ำหนักเบาง่ายต่อการเลื่อย ไส และตบแต่ง แต่ก็มีความแข็งแรง ไม้สักทองเป็นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดในบรรดาไม้สักทั้งหมดไม้สักหยวก เนื้อไม้จะมีสีขาว พบในป่าโปร่งชื้้น และริมห้วย ต้นตรง เปลือกแตกเป็นร่องตื้น เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่น ถากหรือฟันได้ง่าย ไม้สักหยวก และไม้สักทอง จะอยุ่ในทำเลที่คล้ายกัน และมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่ก็สามารถสังเกตได้อีกเล็กน้อยก็คือ ร่องของเปลือกไม้สักหยวกจะกว้างกว่าไม้สักทอง แต่แตกเป็นร่องตรงเหมือน ๆ กันไม้สักไข เนื้อไม้จะมีสีอ่อนและลักษณะเป็นมัน พบในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก เจริญเติบโตช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้างระหว่างร่อง ลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกน ๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบาง แต่ก็มีใบเต็ม เนื้อไม้จะมีไขปน ยากแก่การขัด และทาแล็กเกอร์ สีของไม้สักไขจะมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลืองไม้สักขี้ควาย เนื้อไม้จะออกสีคล้ำ ไม้สักชนิดนี้พบได้ในป่าลัดใบต่าง ๆ และในที่แห้งแล้ง ลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ เปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอน ๆ และมีร่องลึก ลักษณะไม่สมบูรณ์ จะทราบแน่ว่าเป็นสักขี้ควายก็ต่อเมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู ก็จะเห็นได้ชัดว่า เนื้อไม้จะมีสีเขียวปนน้ำตาลแก่ หรือ น้ำตาลอ่อนไม้สักหิน พบในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึกและเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติ เนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สักทั่วไปและเปราะ สีของเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มในเนื้อไม้สักทอง พบว่ามีสารแร่ทองคำ ปนอยู่ประมาณ 0.5 ppm. คือ ไม้สักทองประมาณ 26 ต้น ถ้าสกัดจะได้ทองคำหนัก 1 บาท

Read More

Loading...
More